การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารงานวิชาการ, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ และแนวทางการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบ
ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันในการบริหารงานวิชาการ มีระดับปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าความต้องการจำเป็นในภาพรวมทั้งหมด มีค่า PNI Modified = 0.85 (2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้ แก่ ส่วนที่ 1 หลักการของรูปแบบ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 เนื้อและและกระบวนการดำเนินงานตามรูปแบบ และส่วนที่ 4 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (3) ผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนตามหลักสูตรมีค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนตามหลักสูตรของผู้เรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หลังใช้รูปแบบสูงขึ้น ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของผู้เรียนสูงกว่าระดับประเทศ ค่าร้อยละของจำนวนผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับดีขึ้นไปหลังใช้รูปแบบสูงขึ้น ผู้เรียนได้รับเกียรติบัตรหรือรางวัลด้านวิชาการเป็นผลงานเชิงประจักษ์ และ ครูผู้สอนมีความพึงพอต่อการใช้รูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : อักษรไทย.
คณน สิริโชคเจริญ. (2565). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการโดยใช้วงจรคุณภาพ สำหรับสถานศึกษา
สังกัดเทศบาลตำบลในจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จารุกิตต์ สิทธิยานนท์. (2559). แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนมาตรฐานสากลตามแนวคิด
พลเมืองโลกศึกษา. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูขวัญ รัตนพิทักษ์ธาดา. (2559). กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดการเรียนรู้บูรณาการเนื้อหากับภาษา
และสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษา. รายงานการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาสน์ .
บุญชอบ จันทาพูน. (2561). กลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูโรงเรียนเทศบาล 1
ต้นยาง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ
ปาริชาติ ชมชื่น. (2555). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.พนัส ด้วงเอก. (2555). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ระดับ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พิทักษ์ เอ็นดู. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทพศิรินทร์
ร่มเกล้า. โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร
เขต 2.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 ประจำปี พ.ศ.2560-2564. เชียงราย : กลุ่มนโยบายและแผน.