ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1

ผู้แต่ง

  • พิมพฤทธิ์ เที่ยงภักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางอารมณ์, ประสิทธิผลของโรงเรียน, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู 2) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู และ 3) ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 กลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนในสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ปีการศึกษา 2566 แบ่งตามขนาดของโรงเรียน ได้หน่วยตัวอย่าง จำนวน 327 บุคคล เครื่องมือ คือ แบบสอบถามแบบ สถิติพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานวิเคราะห์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษามีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการตระหนักรู้ในอารมณ์ตนเองมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านความเข้าใจอารมณ์ของบุคคลอื่น และด้านการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการควบคุมอารมณ์ตนเอง และด้านการสร้างแรงจูงใจในตนเอง 2) ประสิทธิผลของโรงเรียนพบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านความสามารถพัฒนานักเรียนให้มีทัศนะทางบวก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านความสามารถผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และ 3) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมีความสอดคล้องกับสมมติฐาน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีสามด้านแรกที่มีผลในระดับสูงสุด ได้แก่ 1) ด้านการสร้างแรงจูงใจในตนเอง(X3) 2) ด้านการควบคุมอารมณ์ตนเอง (X2) 3) ด้านการตระหนักรู้ในอารมณ์ตนเอง (X1) มีผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กนกพร โพธิมณี. (2562). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีสืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2567.จาก https://etheses.rbru.ac.th/showthesis.php? theid=278&group=20

กร ศิริโชควัฒนา. (2560). Super E.Q. ความสุข & ความสำเร็จ สร้างได้ด้วยหัวใจ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพ: สำนักพิมพ์เก็ท ไอเดียกรองกราญจน์ เอกพิพัฒน์วงศ์.

จันทนา บรรณทอง. (2553). ผลการใช้ชุดฝึกอบรมทางการแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของพ่อและแม่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม จังหวัดชัยนาท.วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (การแนะแนว).

ชาปิยา สิมลา และนุชนรา รัตนศิระประภา. (2563). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 20(1),112-125.

ไชยา หานุภาพ. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ฐิติพร ศุภสิทธิ์ธำรง. (2566). EQ (Emotional quotient) ความฉลาดทางอารมณ์. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2567. จาก https://www.medparkhospital.com/lifestyles/eq-emotional-quotient.

ณัฏฐณิชา ภูดีสม. (2565). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัฏฐยา ลามุล. (2559). ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์กับประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนครพนม.

ดวงกมล ปถคามินทร์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาในเขตอำเภอสนามชัยเขต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทรงศิริ ยุทธวิสุทธิ. (2561). EQ กับความสําเร็จในชีวิต. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2567 จากhttp://www.natres.psu.ac.th/Journal/EQ_Successfull.

ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระบุรีแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ธันยพร จารุไพศาล. (2566). ความฉลาดทางอารมณ์. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2567. จากhttps://www.workwithpassiontraining.com

นันท์นภัส สุทธิการ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประจัญ เดชสุภา. (2562). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. (2566). ข้อมูลบุคลากร. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2567. จาก https://www.nb1.go.th/web/

Goleman, D. (1995). Emotional intelligence. New York: Bantam Books.

Goleman, D. (2000). Emotional intelligence: Why it can matter more than IQ. New York: Bantam Books.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Matt, R. M. (1972). Organizational Effectiveness. California: Good year.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-11