https://so13.tci-thaijo.org/index.php/LANNA/issue/feed Lanna Academic Journal of Social Science 2024-12-26T16:03:51+07:00 Lampang Inter-Tech College graduate.lit.lp@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>Lanna Academic Journal of Social Science :</strong> ของวิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง มีนโยบายในการส่งเสริมผลงานวิชาการ บทความ และงานวิจัยทางด้านสังคม กล่มเป้าหมาย นักวิจัย นักวิชาการ นักเขียนอิสระ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา การประเมินคุณภาพบทความ<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ และเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน จำนวน 3 ท่าน/บทความ</strong> โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลของกันและกัน (Double-blind peer review)</p> <p><strong>ISSN :</strong> <span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none">3056-9648 (Online)</span></p> <p><strong>ภาษาที่ตีพิมพ์: </strong>ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดตีพิมพ์: </strong>จำนวน 3 ฉบับต่อปี </p> <p>ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม</p> <p>ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน - ธันวาคม</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร: </strong>วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <ol> <li>เพื่อเป็นศูนย์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวิทยาการสมัยใหม่ในรูปแบบการนำเสนอบทความวิจัยหรือบทความวิชาการของนักศึกษา นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง</li> <li>เพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนาศักยภาพและทักษะการผลิตผลงานทางวิชาการ การค้นคว้าวิจัย รวมถึงการบริการวิชาการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชน</li> <li>เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักวิจัย นักวิชาการ นักเขียนอิสระ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา ได้เผยแพร่บทความวิชาการ และงานวิจัย</li> <li>เพื่อเป็นแหล่งการศึกษาค้นคว้าข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้และวิทยาการทางสังคมให้กับนิสิต นักศึกษา คณาจารย์ มหาวิทยาลัย ชุมชน ประชาชนผู้มีความสนใจ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน</li> </ol> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p><em>" ไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ"</em></p> https://so13.tci-thaijo.org/index.php/LANNA/article/view/1042 แนวคิดวิธีการเรียนรู้มานุษยสมัยเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองนิเวศศาสตร์ในระบบโรงเรียนไทย 2024-11-01T09:45:32+07:00 ณัฐภัทร จักรคำ nattapat25393@gmail.com ชรินทร์ มั่งคั่ง charin.mangkhang@cmu.ac.th วรินทร สิริพงษ์ณภัทร charin.mangkhang@cmu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทการเรียนการสอนที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองนิเวศศาสตร์ 3) เพื่อเสนอแนวคิดวิธีการมานุษยสมัยที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองนิเวศศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ครูประจำรายวิชาสังคมศึกษา จำนวน 3 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาจำนวน 29 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทครูผู้สอนที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองนิเวศศาสตร์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการในการสอน 2) กิจกรรมเสริมหลักสูตรในโรงเรียนยังส่งเสริมความเป็นพลเมืองนิเวศศาสตร์ค่อนข้างน้อย 3) แนวทางส่งเสริมพลเมืองนิเวศศาสตร์ โดยใช้แนวคิดพัฒนาคน เพราะการสอนให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติและสังคม ช่วยให้เอกบุคคลเห็นถึงความสำคัญของการรักษาสมดุลระหว่างการใช้ทรัพยากรธรรมชาติกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ส่วนสถานที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเป็นพลเมืองนิเวศศาสตร์ เพราะการสร้างสภาพแวดล้อมที่แสดงให้เห็นถึงการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน เช่น ชุมชนเกษตรอินทรีย์หรือกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ ดังนั้น การพัฒนาคนและสถานที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความเป็นพลเมืองนิเวศศาสตร์ เพราะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้และปฏิบัติจริงในเรื่องสิ่งแวดล้อม สร้างความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ และปลูกฝังพฤติกรรมที่ยั่งยืนซึ่งมีผลต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระยะยาว</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Lanna Academic Journal of Social Science https://so13.tci-thaijo.org/index.php/LANNA/article/view/1034 ภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 2024-11-01T10:19:27+07:00 อัศวิน สุขประเสริฐ asawin.su@edu.bangkok.go.th ฐิติพัฒน์ หิรัญนิธำรง Asawin2535@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตสายไหมกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตสายไหมกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร จำนวน 206 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติพรรณนาการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานทำการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตสายไหมกรุงเทพมหานคร โดยรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย โดยเรียงอันดับจากมากไปหาน้อย คือ ผู้นำแบบขายความคิด ผู้นำมอบหมายงานให้ทำ ผู้นำเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม และอันดับสุดท้าย คือ ผู้นำแบบบอกทุกอย่าง 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Lanna Academic Journal of Social Science https://so13.tci-thaijo.org/index.php/LANNA/article/view/1084 การศึกษารูปแบบของคู่มือปฏิบัติงานและประสิทธิภาพการทำงานของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยน่าน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2024-11-22T10:53:54+07:00 พลกฤต รักจุล ponkrit.ra@gmail.com สุดารัตน์ สุขเรือนทอง Ponkrit.ra@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นด้านรูปแบบของคู่มือฝึกปฏิบัติงานแบบเป็นเล่มและประสิทธิภาพการทำงานของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (2) ศึกษาความคิดเห็นด้านรูปแบบการใช้งานคู่มือการปฏิบัติงานแบบออนไลน์และประสิทธิภาพการทำงานของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (3) เปรียบเทียบรูปแบบการใช้งานคู่มือการปฏิบัติงานและประสิทธิภาพการทำงานของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยน่าน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ จำนวน 97 ราย เป็นการเก็บข้อมูลทั้งหมด เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนานาและอนุมาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านรูปแบบการใช้งานคู่มือการฝึกปฏิบัติงานแบบเป็นเล่มมีความคิดเห็นระดับมาก โดยเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านเนื้อหา รองลงมา ด้านทัศนคติและด้านการใช้งาน (2) ด้านรูปแบบการใช้งานคู่มือการปฏิบัติงานแบบออนไลน์มีความคิดเห็นระดับมาก โดยเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านเนื้อหา รองลงมา ด้านการใช้งานและด้านทัศนคติ (3) รูปแบบการใช้งานคู่มือการปฏิบัติงานที่ต่างกันกับประสิทธิภาพการทำงานของนักศึกษาที่แตกต่างกัน มีค่า Sig. (2-tailed) เท่ากับ 0.000* ซึ่งน้อยกว่า .05 ยอมรับสมมติฐานหลัก (H<sub>1</sub>) นักศึกษาที่ใช้รูปแบบคู่การปฏิบัติงานทั้งแบบเล่มและออนไลน์และประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกัน โดยเฉพาะประเด็นด้านคุณภาพของงานและต้นทุน</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Lanna Academic Journal of Social Science https://so13.tci-thaijo.org/index.php/LANNA/article/view/992 แนวทางการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนวัดยอดพระพิมลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2 2024-09-24T15:32:34+07:00 วราพร รอดแก้ว saiiza135531@gmail.com <p>การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการใช้อำนาจของผู้บริหาร 2) เปรียบเทียบการใช้อำนาจของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม และ 3) ศึกษาแนวทางการใช้อำนาจของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และคณะกรรมการผู้ปกครองเครือข่าย จำนวน 56 คน โดยมีการสุ่มผู้ให้ข้อมูลจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมี 2 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับนัยสำคัญ .05 และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ระดับการใช้อำนาจของผู้บริหารในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่าด้านอำนาจตามกฎหมาย ด้านอำนาจจากการบังคับ ด้านอำนาจจากการอ้างอิง ด้านอำนาจจากการให้รางวัล และด้านอำนาจจากความเชี่ยวชาญ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. การเปรียบเทียบการใช้อำนาจของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพในตำแหน่งผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าในภาพรวมมีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านที่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ได้แก่ ด้านอำนาจจากการให้รางวัล ด้านอำนาจตามกฎหมาย ด้านอำนาจจากการอ้างอิง และด้านอำนาจจากความเชี่ยวชาญ</span></p> <p>3. แนวทางการใช้อำนาจของผู้บริหาร สรุปได้ว่าควรมีการปรับปรุงโดยกำหนดปัจจัยวัดความสำเร็จของงาน วัตถุประสงค์ของงานที่ชัดเจน จากนั้นประชุมมอบหมายงาน โดยแบ่งงานให้มีปริมาณเท่ากันและเหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล ควรให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ รวมทั้งกำหนดมาตรฐานที่สามารถวัดและตรวจสอบได้ ส่งเสริมให้มีการจัดอบรมพัฒนาบุลากรในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเป็นแบบอย่างได้ และควรปรับปรุงโดยการส่งเสริม สนับสนุนการประกวดผลงานต่าง ๆ เพื่อให้โรงเรียนมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Lanna Academic Journal of Social Science https://so13.tci-thaijo.org/index.php/LANNA/article/view/1114 ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้าจากร้านเสริมสวยในจังหวัดเพชรบุรี 2024-12-12T16:42:10+07:00 ธนัทเมศร์ วัชราพิบูลวงศ์ kritchawong@yahoo.com ชัชชญา สุดสวาท kritchana.won@mail.pbru.ac.th ประภาทิพย์ จันทร์มาก kritchana.won@mail.pbru.ac.th พัชราภา บุญประเสริฐ kritchana.won@mail.pbru.ac.th พิชญานิน กลิ่นนิรัน kritchana.won@mail.pbru.ac.th วรรณสิณี เอี่ยมสะอาด kritchana.won@mail.pbru.ac.th คณาเชษฐ์ ศรีพนมวัลย์ kritchana.won@mail.pbru.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดบริการและกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้าจากร้านเสริมสวย และ 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้าจากร้านเสริมสวยในจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่ใช้บริการร้านเสริมสวยในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนประสมทางการตลาดบริการของลูกค้าโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านบุคคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการบริการ ด้านราคาและด้านผลิตภัณฑ์ ส่วนกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมาก และ 2) ส่วนประสมทางการตลาดบริการส่งผลทางบวกต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้าในจังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยส่งผลทางบวกทุกด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการบริการ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Lanna Academic Journal of Social Science https://so13.tci-thaijo.org/index.php/LANNA/article/view/1035 การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 2024-10-28T11:43:42+07:00 อัจฉราภรณ์ อุไรโชติ testhai4.0@gmail.com ฐิติพัฒน์ หิรัญนิธำรง testhai4.0@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นด้านการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก และ 2) ศึกษาเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยจำแนกตามสถานที่ตั้งของโรงเรียนและประสบการณ์ในการทำงาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 103 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการ โดยรวมมีความคิดเห็นระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัด ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน ด้านการวิจัยและพัฒนาคุณภาพการศึกษาและด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามลำดับ 2) ผลการศึกษาเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก จำแนกตามที่ตั้งของโรงเรียน พบว่าโดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลไม่แตกต่างกัน และผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กจากประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีประสบการณ์การทำงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 5-10 ปี รองลงมา คือ มีประสบการณ์การทำงาน 11 ปี ขึ้นไป และน้อยสุด คือ มีประสบการณ์ ต่ำกว่า 5 ปี ตามลำดับ จากการวิเคราะห์การแปรปรวน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีคะแนนเฉลี่ยจากประสบการณ์การทำงานต่างกันอย่างน้อย 1 กลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และผลการทดสอบรายคู่ โดยการทดสอบของ Scheffe พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีประสบการณ์ทำงาน 5-10 ปี ได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าผู้มีประสบการณ์ทำงานต่ำกว่า 5 ปี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Lanna Academic Journal of Social Science