ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหาร ของผู้บริโภคในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, การตัดสินใจ, แอปพลิเคชัน, ผู้บริโภคบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดบริการและการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชัน และ2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหารของผู้บริโภคในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่ใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหาร จำนวน 384 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยใช้สถิติพรรณนา เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติอนุมานวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยเทคนิค Enter Selection
ผลวิจัยพบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดบริการภาพรวมระดับมากทุกปัจจัย โดยให้ความสำคัญกับราคาเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ สินค้าและบริการ กระบวนการ ช่องทางการจัดจำหน่ายและลักษณะทางกายภาพมีสัดส่วนที่เท่ากัน การตัดสินใจ บุคลากรผู้ให้บริการและลำดับสุดท้าย คือ การส่งเสริมการตลาด โดยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้านสินค้าและบริการ มีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.200 ด้านราคา มีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.198 ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.119 ด้านการส่งเสริมการตลาดมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.111 ด้านบุคลากรให้บริการมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.212 และด้านกระบวนการมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.113 ซึ่งทั้ง 6 ปัจจัยมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นลักษณะทางกายภาพไม่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหาร
References
กรรณิการ์ ชัยอำนาจ และ กฤษฎา มูฮัมหมัด. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอพพลิเคชัน SHOPEE ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต.
กัญสพัฒน์ นับถือตรง. (2564) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 167-180.
กัลย์สุดา มีฉวี, บุญทอง เอื้อหิรัญญานนท์ และ พุฒิธร จิรายุส (2566). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านแอพพลิเคชั่น. Journal of Modern Learning Development, 8(4), 25-39.
งามตา นามแสง, อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน, บัณฑิต ผังนิรันดร์, ปราณี ตรีทศกุล, สิริอร จำปาทอง, ปลื้มใจ สินอากร และณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฏฐ์. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดบริการ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อที่มีผลต่อความตั้งใจกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้าที่ซื้อสินค้าในซุปเปอร์สโตร์ผ่านแอพพลิเคชั่น, วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(1), 11-20.
ณัฐพงค์ รัตนะพรม, ชีวพัฒน์ อาจการ, ศิริลักษณ์ เพียรการ, อัจฉรา เมฆสุวรรณ และขจรศักดิ์ วงศ์วิราช. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(1), 17-29.
ธรรมรัตน์ ธารีรักษ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 375-396.
พัชรวลัย ชัยวรรณเสถียร, (2563). การตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันฟู้ดแพนด้าของบุคลากรหน่วยงานราชการในอำเภอ เมืองเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(1),69-83
วลัย ซ่อนกลิ่น, ไชยรัตน์ กิมสวัสดิ์ และ นัทธ์หทัย อัครธนเตชสิทธิ์. (2566). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชัน ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 7(2), 70-84.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2566). ทิศทาง Food Delivery ปี 66? หลังผู้บริโภคกลับมาใช้ชีวิตปกติ. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/FoodDelivery-FB-05-01-2023.aspx
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2566). 1212 OCC เผยปัญหาสุดกวนใจจาก Food Delivery ส่งช้า-ของไม่ตรงตามสั่ง. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr/1212-OCC-Food-Delivery.aspx
สิรินยา ใจละออ, เบญจพร ปวนคำ, พิยดา ผุยชาคำ และ ขจรศักดิ์ วงศวิราช. (2564). แรงจูงใจในการเข้าสู่ตลาดออนไลน์ของผู้ประกอบการในจังหวัดลำปางผ่านแอพพลิเคชั่นฟู้ดแพนด้า. Journal of Arts Management, 13(3), 30-44.
อดิลักษณ์ พุ่มอิ่ม. (2564). พฤติกรรมการสั่งอาหารออนไลน์ที่มีความสัมพันธ์กับส่วนประสมทางการตลาดผ่านโมบายแอปพลิเคชันในจังหวัดปราจีนบุรี. วารสารการบัญชีและการจัดการ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(3), 188-209.
อธิวัฒน์ อาษากิจ, สุชาดา บุญเรือง, ภัทรารัช แก้วพลายงาม, วชิราภรณ์ พัดเกิด และธานัฐ ภัทรภาคร์. (2566). ส่วนประสมทางการตลาดและคุณภาพการบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันเบบี้บูมเมอร์ ในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 17(52), 588-599
อนาวิล ศักดิ์สูง, อัศนีย์ ณ น่าน และ ฑัตษภร ศรีสุข. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 162-174.
อรจิรา แก้วสว่าง, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล และ วราพร ดำรงค์กูลสมบัติ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชัน Shopee ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(2), 308-321.
อังควิภา แนวจำปา, อัจฉราพรรณ ตั้งจาตุรโสภณ, สมรัฐ วงษ์ชวลิตกุล, อมรรัตน์ คลองโนนสูง, และ Kenneth Miura Maddox. (2564). การจัดกลุ่มผู้บริโภคตามปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการรับส่งอาหาร ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระบาดรอบ 2. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 27(1), 128-141
อัศนีย์ ณ น่าน, ณัฐนันท์ ทองทรัพย์ และ พรเพ็ญ เพ็ชรสุขศิริ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-WOM) และพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 263-273.
Bamard, C. (1938). Me Functions of the Executive. Cambridge, Massachusetts.
Brennan, R. L. (1972). A generalized upper-lower item discrimination index. Educational and Psychological Measurement, 32(2), 289-303.
Choedjamras, R., Robkob, A., Pansuppawatt A., & Muenthaisong, K. (2023). The Affect of Service Marketing Mix on Customer’s Decision to Buy Clothes through Facebook of Consumers Generation Y in Thailand. Journal of Academic Management Science, Phetchabun Rajabhat University, 5(1), 39-56.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3d ed.) New York: John Wiley and Sons Inc.
Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2007). Marketing. (14th ed.). Boston: McGraw-Hill/ Irwin.
Ge, Y., & Mahamud, T. (2023). Marketing Mix Factors Affecting of Decision Food Through The Application in Bangkok. 39th PATTAYA Int'l Conference on “Social Sciences, Social Media, Education & Management” Pattaya (Thailand)
Hirattanapun, C. & Pattanarangsun, P. (2023). Factors affecting the decision making to purchase goods and services via TIKTOK Application. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(7), 35-35.
Johnston, E. (2013). 5 Steps to understanding your customer’s buying process. Retrieved from https://www.b2bmarketing.net/en-gb/resources/blogs
Kotler, P. (2000). Marketing Management: The Millennium Edition. Person Prentice Hall, Upper Saddle River.
Kotler, P. and Armstrong, G. (2009). Principles of Marketing. (13th ed.). Pearson, Englewood Cliffs.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing Management (14th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management. (15th ed.). New York: Pearson Education.
Lamb, C., Hair, J., & McDaniel, C. (2000). Marketing (Cincinnati, OH). South-Western College Publication.
Likert, R. (1970). A technique for the measurement of attitude In G.F. summer. New York: Rand McNally.
Lovelock, C. H., Patterson, P. G., & Walker, R. H. (2007). Services marketing: an Asia-Pacific and Australian perspective.
Lovelock, C. H., Wirtz, J., & Keh, H. T. (2002). Services Marketing in Asia: Managing People, Technology and Strategy. Singapore: Prentice Hall International.
Maslow, A., & Lewis, K. J. (1987). Maslow's hierarchy of needs. Salenger Incorporated, 14(17), 987-990.
McCarthy, E. J. (1971). Basic Marketing: A Managerial Approach. (4th ed.). Homewood, IL: Irwin.
Monroe, & Kent, B. (1990). Pricing Making Profitable Decisions. Singapore: McGraw Hill.
Payne, A. (1993). The Essence of Services Marketing (Essence of Management Series). Hertfordshire: Prentice Hall.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Vanichstian, S., & Toopkaew, P. (2023). Service selection behavior and marketing mix factors affecting the decision to order food through online applications of consumers in Bangkok. Journal of MCU Nakhondhat, 10(11), 209–221. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ JMND/article/ view/273302
Woodruff, H. (1995). Service Marketing. London: Person Education.
Yusuf, M., & Matiin, N. (2022). Analysis of the Effect of the Marketing Mix on Purchasing Decisions. International Journal of Economics and Management Research, 1(3), 177–182. https://doi.org/10.55606/ijemr.v1i3.56
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ลานนาวิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Lanna Academic journal of social science เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง