ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้าจากร้านเสริมสวยในจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ธนัทเมศร์ วัชราพิบูลวงศ์ อาจารย์ประจำ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ชัชชญา สุดสวาท นักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ประภาทิพย์ จันทร์มาก นักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • พัชราภา บุญประเสริฐ นักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • พิชญานิน กลิ่นนิรัน นักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • วรรณสิณี เอี่ยมสะอาด นักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • คณาเชษฐ์ ศรีพนมวัลย์ นักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, กระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้า , ร้านเสริมสวย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดบริการและกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้าจากร้านเสริมสวย และ 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้าจากร้านเสริมสวยในจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่ใช้บริการร้านเสริมสวยในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนประสมทางการตลาดบริการของลูกค้าโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านบุคคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการบริการ ด้านราคาและด้านผลิตภัณฑ์ ส่วนกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมาก และ 2) ส่วนประสมทางการตลาดบริการส่งผลทางบวกต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้าในจังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยส่งผลทางบวกทุกด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการบริการ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

References

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก.บริษัท โพรเจ็คท์ ไฟฟ์ จำกัด

ฐานเศรษฐกิจ. (2565). ครม.จัดงบ 1,249 ล้าน แจกชุมชนทำอาชีพเสริม ทำไม้กวาด ตัดผม สร้างแบรนด์. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2567. จาก www.thansettakij.com/economy/534958

ณฐวัฒน์ พระงาม และ จเร เถื่อนพวงแก้ว. (2563). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลและส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี, 2(5), 11-27.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

พิณัฎฐิณีย์ จิตคำ, อมรรัตน์ แสงนิล, อรยา นิลสุขุม และอรรัมภา เพชรรัตน์. (2564). ปัญหาสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมี ของพนักงานในร้านเสริมสวย ในเขตเทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 16(2), 107-107.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2561). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งนภา กิตติลาภ, ร่มสน นิลพงษ์ และอุมาวรรณ วาทกิจ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการคลินิกเสริมความงามในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. (บัณฑิตวิทยาลัย), มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ขอนแก่น.

รุ่งอรุณ สิเด็น, เกียรติ บุญยโพ, และ วิโรชน์ หมื่นเทพ. (2566). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านเสริมสวยในเขตอําเภอลําลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 5(3), 68-80.

วิรฉัตร ครุธวงษ์, ดาริน โพธิ์ตั้งธรรม และวิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านเสริมสวยขนาดเล็กและขนาดกลางในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 3(1), 45-57.

ศิขรินทร โพธิสิทธิ์ และ วัชระ ยี่สุนเทศ. (2566). ปัจจัยสวนประสมทางการตลาดที่มีผลตอการตัดสินใจใชบริการร้านอาหารเพื่อสุขภาพ. Journal of Administration and Social Science Review, 6(3), 231-240.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา, จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และอรทัย เลิศวรรณวิทย์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่ (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2566). สมอ.ลุยปั้นธุรกิจเสริมสวย MOU ปูพรมหมื่นรายเข็นใช้ 'มอก.เอส'. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2567. จาก https://iiu.oie.go.th/news/2863

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). รายงานสถิติรายปีประเทศไทย.กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุนทร สินทรัพย์. (2560). ส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวายในการใช้บริการคลินิกเสริมความงามในอำเภอเมืองเชียงใหม่. (หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลับราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อนุสรณ์ เค้าทอง, และพัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2567). พฤติกรรมการใช้บริการและส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า(7Cs) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านตัดผมชายในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. Journal of Digital Business and Social Sciences, 10(1), 1-15.

Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2007). Marketing (14th ed.). Boston: McGraw – Hill.

Haruna, I. M. (2015). 7Ps Marketing Mix and Retail Bank Customer Satisfaction in Northeast Nigeria. British Journal of Marketing Studies, 3(3), 71-88.

Kotler, P. & Keller, K.L. (2012). Marketing Management. 14th Edition, Pearson Education.

Kotler, P. (1997) Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control. 9th Edition, Prentice Hall, Upper Saddle River.

Lovelock, Ch., & Wright, L. (1999). Marketing and services principles. Translated by AboualfazlTajzadehNamin. (2003). Tehran: SAMT publication

MaGrath, A. J. (1986). When Marketing Services, 4Ps Are Not Enough. Business Horizons, 29, 45-50.

Maslow, A.H. (1987) Motivation and Personality. In: Frager, R., Fadiman, J., McReynolds, C. and Cox, R., Eds., 3rd Edition, Addison Wesley, Boston.

McCarthy, E.J. (1971). Basic marketing: A managerial approach (4th ed.). Homewood, IL: Irwin.

Payne, A. (1993). The Essence of Services Marketing. The Essence of Management Series. Hertfordshire: Prentice Hall.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L.L. (1994). Consumer behavior (5th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Woodruff, H. (1995). Service marketing. London: Person Education

Zeithaml, V. A. & Bitner, M. J. (2000). Services Marketing: Integrating Customer focus Across the Firm. 2th ed. Boston, Massachusetts: McGraw Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26