การศึกษารูปแบบของคู่มือปฏิบัติงานและประสิทธิภาพการทำงานของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยน่าน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • พลกฤต รักจุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยน่าน มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
  • สุดารัตน์ สุขเรือนทอง นักศึกษา สาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยน่าน มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

รูปแบบของคู่มือปฏิบัติงาน , ประสิทธิภาพการทำงาน , นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต, คุณภาพงานและต้นทุน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นด้านรูปแบบของคู่มือฝึกปฏิบัติงานแบบเป็นเล่มและประสิทธิภาพการทำงานของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (2) ศึกษาความคิดเห็นด้านรูปแบบการใช้งานคู่มือการปฏิบัติงานแบบออนไลน์และประสิทธิภาพการทำงานของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (3) เปรียบเทียบรูปแบบการใช้งานคู่มือการปฏิบัติงานและประสิทธิภาพการทำงานของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยน่าน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ จำนวน 97 ราย เป็นการเก็บข้อมูลทั้งหมด เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนานาและอนุมาน

ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านรูปแบบการใช้งานคู่มือการฝึกปฏิบัติงานแบบเป็นเล่มมีความคิดเห็นระดับมาก โดยเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านเนื้อหา รองลงมา ด้านทัศนคติและด้านการใช้งาน (2) ด้านรูปแบบการใช้งานคู่มือการปฏิบัติงานแบบออนไลน์มีความคิดเห็นระดับมาก โดยเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านเนื้อหา รองลงมา ด้านการใช้งานและด้านทัศนคติ (3) รูปแบบการใช้งานคู่มือการปฏิบัติงานที่ต่างกันกับประสิทธิภาพการทำงานของนักศึกษาที่แตกต่างกัน มีค่า Sig. (2-tailed) เท่ากับ 0.000* ซึ่งน้อยกว่า .05 ยอมรับสมมติฐานหลัก (H1) นักศึกษาที่ใช้รูปแบบคู่การปฏิบัติงานทั้งแบบเล่มและออนไลน์และประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกัน โดยเฉพาะประเด็นด้านคุณภาพของงานและต้นทุน

References

กนกนวล นรินยา และ กริสน์ ชัยมูล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 11(2), 27-40.

ชุตินันท์ เทือกสุบรรณ. (2563). การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรวมของโรงเรียนสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 3. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(36), 203-214

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2537). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือ.

ณิชากร สร้อยสนธิ และ มัลลิกา ธรรมจริยาวัฒน์. (2566). การจัดการสำนักงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานปลัดกระทรวงการคลังแห่งประเทศไทย. วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ, 2(3), 28-39.

ทัตวรรณ ไชยพรม, วาโร เพ็งสวัสดิ์ และบุญมี ก่อบุญ. (2561). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานควบคุมภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(1), 104-114.

นฤมล ฤทธิกาญจน์. (2563). การพัฒนาคู่มือการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี). สุราษฎร์ธานี

นิจปัณฑ์นีร์ ชาวบ้านเกาะ สุภัททา ปิณฑะแพทย์ และชัยวิชิต เชียรชนะ. (2566). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมยานยนต์. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 12(2), 87-102.

นิดา ประพฤติธรรม. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปริณดา บรรดาศักดิ์, และภัทรนันท สุรชาตรี. (2567). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครสวรรค์. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 7(4), 336-347.

พิมพิไร สุพัตร. (2560). การพัฒนาการฝึกอบรมออนไลน์ด้วยระบบการจัดการเรียนรู้ระบบเปิดสำหรับ มหาชนเรื่อง การออกแบบสื่ออินโฟกราฟิก .(หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย), มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ราชัน คำบุญเรือง, มนต์นภัส มโนการณ์ และยงยุทธ ยะบุญธง. (2560). คู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุของโรงเรียนอนุบาลบ้านท่อเมืองลัง จังหวัดเชียงใหม่. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(3), 86-103.

ลัดดามาส วังคะอาต (2563). แนวทางการปฏิบัติงานของทนายความในคดีปลอมแปลงเอกสาร. Journal of Criminology and Forensic Science, 6(2), 153-166.

สวาสดิ์ กันธินาม (2561). การพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานจับตัวเลขในการจัดตั้งร้านสะดวกซื้อของธุรกิจ ค้าปลีก. Journal of Digital Business and Social Sciences, 4(2), 121-128.

Blamire, G. (1995). An Educational Framework for Training in Manual Handling. Physiotherapy, 81(3), 149-153.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Denis, D., Gonella, M., Comeau, M., & Lauzier, M. (2020). Questioning the value of manual material handling training: A scoping and critical literature review. Applied Ergonomics, 89, 103186.

Dowling, M. (1988). How to make manuals for health workers. World Health Forum, 9(3), 414-419.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Peterson, E., & Plowman, E. G. (1989). Business Organization and Management. Homewood, ILL: Irwin.

Shashovec, Y. (2022). Improving approaches to evaluation of efficiency of enterprise staff in modern conditions. Market Infrastructure. DOI:10.32843/infrastruct63-19

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26