การบริหารแหล่งเรียนรู้กรุงเทพมหานครในยุคดิจิทัลตามแนวทางสังคหวัตถุ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านกีฬา นันทนาการ ดนตรี ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยมีสำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ ส่วนนันทนาการ ศูนย์นันทนาการ 34 แห่งทั่วกรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่กรุงเทพมหานครจัดให้เป็นสวัสดิการสำหรับประชากรในกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางเพื่อการเรียนรู้กิจกรรมนันทนาการและกีฬาที่ได้มาตรฐาน ทันสมัย กิจกรรมนันทนาการเป็นสื่อกลางให้สมาชิกในครอบครัว ทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างมีความสุข เด็กและเยาวชน มีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตและเรียนรู้นอกห้องเรียนอย่างมีระบบใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับบุคคลทุกเพศทุกวัย มีกิจกรรมที่หลากหลายให้เลือกตามความเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570) มิติที่ 1 การบริการสาธารณะ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 1.5 เมืองสุขภาพดี (Healthy City) เป้าประสงค์ที่ 1.6.6.3 พัฒนาบริการและจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายและตรงกับความต้องการของประชาชนและสอดคล้องกับนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่มีนโยบาย 9 ด้าน 9 ดี ด้านสุขภาพดี ประเด็นการพัฒนาที่ 1 สนับสนุนและพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพชุมชนทุกกลุ่มกิจกรรม กิจกรรมนันทนาการและกีฬา เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สมาชิกศูนย์นันทนาการให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ไม่ยุ่งยาก สามารถเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ ทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างมีความสุข สนุกสนาน ส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ