วารสารระบบนิเวศการเรียนรู้และปัญญา https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom th-TH Fri, 15 Nov 2024 10:50:24 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางการเสริมสร้างทักษะของผู้นำในการจัดการองค์กร ยุค BANI World ตามหลักพละ 4 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1027 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้นำที่จำเป็นต่อการประสบความสำเร็จในยุค BANI World (Brittle, Anxious, Non-linear, Incomprehensible) ซึ่งเป็นยุคที่เต็มไปด้วยความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครือ บทความได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงศึกษาตัวอย่างของผู้นำที่ประสบความสำเร็จในการนำพาองค์กรฝ่าฟันอุปสรรคในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอแนวคิดของหลักพละ 4 มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณสมบัติของผู้นำในยุค BANI World ผลการศึกษาพบว่า ผู้นำในยุค BANI World จำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่หลากหลายและซับซ้อนกว่าในอดีต เช่น ความยืดหยุ่น ความสามารถในการปรับตัว การคิดเชิงวิพากษ์ และความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงกับหลักพละ 4 ได้อย่างชัดเจน โดยปัญญาพละเกี่ยวข้องกับการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา วิริยพละเกี่ยวข้องกับความมุ่งมั่นและความเพียรในการทำงาน อนวัชชพละเกี่ยวข้องกับความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ และสังคหพละเกี่ยวข้องกับความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น บทความนี้ยังได้นำเสนอตัวอย่างของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ คือ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อแสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้หลักพละ 4 ในชีวิตจริงของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ สรุปได้ว่า ในยุค BANI World การเป็นผู้นำที่ดีจำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับหลักพละ 4 (ปัญญาพละ, วิริยพละ, อนวัชชพละ, สังคหพละ) การศึกษาครั้งนี้มีประโยชน์ต่อทั้งผู้บริหาร นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผู้นำในยุคปัจจุบัน</p> พระมหาบันเจตร์ ถิรจิตฺโต (บรรเทาใจ) Copyright (c) 2024 วารสารระบบนิเวศการเรียนรู้และปัญญา https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1027 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700 การบริหารสถานศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1028 <p>บทความนี้มุ่งเน้นการนำเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสังคม การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญในการตอบสนองต่อความท้าทายเหล่านี้ บทความนี้จะพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษา และการประกันคุณภาพการศึกษา โดยการศึกษาจะเน้นที่การปรับปรุงกระบวนการบริหาร และการสร้างระบบการประกันคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบริบทของศตวรรษที่ 21 การบริหารสถานศึกษาในปัจจุบันต้องมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียนและชุมชน นอกจากนี้การประกันคุณภาพการศึกษาต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐาน และแนวทางที่กำหนด โดยยังเน้นถึงความสำคัญของการประเมินผล และการตรวจสอบภายในองค์กรการศึกษา โดยการใช้ข้อมูลและข้อเสนอแนะแบบเป็นระบบเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน และตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนอย่างเหมาะสม การศึกษาแสดงให้เห็นว่าการบริหารสถานศึกษา และการประกันคุณภาพการศึกษาต้องบูรณาการเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อผลักดันการศึกษาสู่มาตรฐานที่สูงขึ้นในยุคปัจจุบัน</p> อุดมศักดิ์ ผานัด Copyright (c) 2024 วารสารระบบนิเวศการเรียนรู้และปัญญา https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1028 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700 ผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของสถานศึกษากับการบริหารจัดการ ตามหลักสาราณียธรรมในศตวรรษที่ 21 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1029 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผู้นำเชิงสร้างสรรค์ตามหลักสาราณียธรรมในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ คือความสามารถในการจูงใจหรือนำบุคคลอื่นๆ อย่างมีมีวิสัยทัศน์ กระตุ้นและสนับสนุนให้เกิดการทดลองภายในองค์กรเพื่อที่จะทำให้บุคลากรในองค์กรสามารถคิดนอกกรอบ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ มีความคิดสร้างสรรค์ หาแนวทางใหม่ๆ ในการบริหารและการสื่อสารภายในองค์กร มีความสามารถในการปรับตัวและกระบวนการทำงานต่างๆ ในองค์กรมีความสามารถในการปรับตัวและกระบวนการทำงานต่างๆ ในองค์กรให้มีความง่าย คล่องตัวและยืดหยุ่นเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีมากขึ้น โดยใช้หลักสาราณียธรรม 6 ซึ่งประกอบด้วย 1) ด้านเมตตากายกรรม มีความเมตตาทางกาย 2) ด้านเมตตาวจีกรรม มีความเมตตาทางวาจา 3) ด้านเมตตามโนกรรม มีความเมตตาทางใจ 4) ด้านสาธารณโภคี เสียสละสิ่งของเพื่อส่วนรวม 5) ด้านสีลสามัญญตา มีศีลเสมอกัน และ 6) ด้านทิฏฐิสามัญญตา มีทิฏฐิเสมอกัน ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องเป็นผู้นำเชิงสร้างสรรค์และมีคุณลักษณะด้านความเข้าใจเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อนำมาประยุกต์และบูรณาการเข้ากันเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรอย่างยั่งยืน</p> พระมหาจตุรงค์ จิรฏฺฐิโต Copyright (c) 2024 วารสารระบบนิเวศการเรียนรู้และปัญญา https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1029 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700 การบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก้ไขปัญหาหนี้สินครู https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1063 <p>บทความนี้มุ่งเน้นศึกษาการบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก้ไขปัญหาหนี้สินครู หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทางสายกลาง มีความพอประมาณ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาท มีเหตุผล และสร้างระบบภูมิคุ้มกัน มีความเพียร มีสติปัญญา พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงจากสภาพ แวดล้อม และวัฒนธรรมโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี การดำรงชีวิต และปฏิบัติตน การปฏิบัติหน้าที่ของครูแล้วมีปัญหาหนี้สิน ความรู้และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของครูย่อมลดลงตามด้วย และพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรม ประกอบการวางแผนการตัดสินใจ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักพิจารณาอยู่ 4 ส่วน ดังนี้ 1) ความพอประมาณ เป็นการนำหลักความพอดี การยึดความประหยัด ตัดทอน ค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง 2) ความมีเหตุผล ความมีเหตุผลนั้นเป็นการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม 3) การมีภูมิคุ้มกัน การเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ หรือ แข่งขันกันในทางการค้าขายการประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง 4) การมีความรู้ ใฝ่หาความรู้ ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ และด้านคุณธรรม ประกอบด้วยความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความ อดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป</p> ธีรทัศน์ ปิติภาคย์พงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารระบบนิเวศการเรียนรู้และปัญญา https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1063 Wed, 06 Nov 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำที่ใส่ใจกับการสร้างวัฒนธรรมแห่งความเห็นอกเห็นใจและความผูกพันในสถานศึกษา https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1064 <p>บทความนี้มุ่งเน้นศึกษาบทบาทของผู้นำในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน ความเป็นเจ้าของ และความผูกพันในหมู่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ผู้นำที่ใส่ใจจะรับฟังอย่างตั้งใจ เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และแสดงความห่วงใยอย่างจริงใจ ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์เชิงบวก เช่น การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง แนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมสำหรับผู้นำในการสร้างวัฒนธรรมดังกล่าว เช่น การเป็นแบบอย่างที่ดี การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การส่งเสริมการสื่อสารแบบเปิด และการให้ความสำคัญกับสุขภาวะทางกายและใจของทุกคนในองค์กร ผู้นำที่ใส่ใจเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสถานศึกษาที่อบอุ่นและมีความสุข ซึ่งเอื้อต่อการเรียนรู้และเติบโตของทุกคนอย่างยั่งยืน</p> กิตติศักดิ์ บุญศรัทธา Copyright (c) 2024 วารสารระบบนิเวศการเรียนรู้และปัญญา https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1064 Fri, 15 Nov 2024 00:00:00 +0700 คุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการเปลี่ยนแปลงของโลก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1066 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและซับซ้อน ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์การศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม ผู้บริหารที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม จะเป็นผู้นำในการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ คุณธรรมและจริยธรรมเปรียบเสมือนเข็มทิศที่นำทางผู้บริหารในการตัดสินใจและปฏิบัติงานอย่างถูกต้องเหมาะสม คุณสมบัติสำคัญของผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และความเมตตา จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน ทั้งผู้ปกครอง ครู และนักเรียน ทำให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาสถานศึกษา นอกจากนี้ ผู้บริหารที่มีคุณธรรมยังเป็นแรงบันดาลใจให้บุคลากรและนักเรียนได้ปฏิบัติตาม ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นบวก และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น เมื่อผู้บริหารยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ทั้งต่อตัวผู้บริหารเอง สถานศึกษา และสังคมโดยรวม คุณธรรมจริยธรรมไม่เพียงแต่เป็นพื้นฐานของการเป็นผู้นำที่ดี แต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ผู้บริหารที่ใส่ใจในคุณธรรมจะส่งเสริมให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง มีจิตสำนึกในการทำดี และเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม</p> พจนา พจนา Copyright (c) 2024 วารสารระบบนิเวศการเรียนรู้และปัญญา https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1066 Fri, 15 Nov 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพุทธธรรม https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1072 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพุทธธรรม เป็นการใช้กระบวนการที่เป็นระบบในการพัฒนาคุณภาพของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนใหเกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การวางแผนทำความเข้าใจ ให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญ 2) การปฏิบัติตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียนด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการส่งต่อ ซึ่งการบูรณาการตามหลักพุทธธรรม คือ สังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย ทาน (การให้) ปิยวาจา (วาจาเป็นที่รัก) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) สมานัตตตา (ความมีตนเสมอ) &nbsp;3) การตรวจสอบ จัดนิเทศ ติดตาม และประเมินผล และ 4) การแก้ไขปรับปรุง ทบทวน กำหนดมาตรฐาน ซึ่งจะทำให้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องส่งผลดีแก่นักเรียน ครูที่ปรึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถเข้าช่วยเหลือ แนะนำ และพัฒนานักเรียน ได้ทันเวลาและมีประสิทธิภาพ</p> ไพโรจน์ ออระเอี่ยม Copyright (c) 2024 วารสารระบบนิเวศการเรียนรู้และปัญญา https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1072 Fri, 15 Nov 2024 00:00:00 +0700 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ในยุคดิจิตอล https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1074 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ในยุคดิจิตอล เป็นการใช้ทรัพยากรบุคคลเพื่อให้ปฏิบัติงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยผ่านกิจกรรมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ขององค์กร ผู้บริหารต้องมีความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงวางกลยุทธ์ในการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร พัฒนาความรู้ และนวัตกรรมตลอดเวลา มีองค์ประกอบด้านวิชาการ ด้านภาวะผู้นำ ด้านนวัตกรรม และด้านเทคโนโลยี ผู้บริหารต้องมีการขับเคลื่อนองค์กร ดังนี้ 1) การพัฒนาทักษะแห่งอนาคต 2) การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 3) การสร้างองค์กรแห่งความคล่องตัว และการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นหลักธรรมแห่งความสำเร็จมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา คือ 1) ฉันทะ รักงาน คือมีใจรัก พอใจจะทำสิ่งนั้นและทำด้วยใจรัก 2) วิริยะ สู้งาน คือพากเพียร กระทำสิ่งนั้นด้วยความพยายามเข็มแข็งอดทนจนกว่าจะสำเร็จ 3) จิตตะ ใส่ใจงาน คือเอาจิตฝักใฝ่ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ 4) วิมังสา ทำงานด้วยปัญญา โดยรู้จักทดลอง วางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไข ปรับปรุง เพื่อจัดการและดำเนินงานนั้นให้ได้ผลดียิ่งขึ้นไป</p> พระครูปราโมชสิทธานุยุต (วิมล สิทฺธินนฺโท) Copyright (c) 2024 วารสารระบบนิเวศการเรียนรู้และปัญญา https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1074 Fri, 15 Nov 2024 00:00:00 +0700 การใช้ประโยชน์ผลการประกันคุณภาพสถานศึกษา ในการยกระดับสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1075 <p>บทความนี้มุ่งวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ผลการประกันคุณภาพสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยอาศัยการบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะหลักอิทธิบาท 4 ซึ่งประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ชี้หนทางสู่ความสำเร็จ&nbsp; เปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางให้บุคคลก้าวไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างมั่นคง&nbsp; มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษาพบว่า การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยีและแนวโน้มในปัจจุบัน และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน เช่น การเพิ่มทักษะทางด้านการสื่อสารและการแก้ปัญหาในหลักสูตร ด้านบุคลากร การพัฒนาครูและบุคลากรให้มีทักษะและความสามารถในการจัดการศึกษา เช่น การจัดการอบรมพัฒนาทักษะด้านการสอน การวิจัย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือการพัฒนาในเชิงจิตวิทยาการศึกษา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การส่งเสริมให้ครูและผู้บริหารได้พัฒนาในด้านการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านการบริหารจัดการทรัพยากร การจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การจัดซื้อสื่อการสอนที่ทันสมัย การพัฒนาห้องเรียนอัจฉริยะ การเพิ่มห้องปฏิบัติการ และการจัดการทรัพยากรด้านบุคลากรอย่างเหมาะสม การนำหลักอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการยกระดับคุณภาพสถานศึกษา ส่งผลให้สถานศึกษามีมาตรฐานและคุณภาพสูงขึ้น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์&nbsp; และมีความพร้อมในการดำรงชีวิตในสังคม</p> กรณ์ภูพงษ์ ศิลปะเตชอังกูร Copyright (c) 2024 วารสารระบบนิเวศการเรียนรู้และปัญญา https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1075 Fri, 15 Nov 2024 00:00:00 +0700 การบริหารแหล่งเรียนรู้กรุงเทพมหานครในยุคดิจิทัลตามแนวทางสังคหวัตถุ 4 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1076 <p>บทความนี้มุ่งวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านกีฬา นันทนาการ ดนตรี ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยมีสำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ ส่วนนันทนาการ ศูนย์นันทนาการ 34 แห่งทั่วกรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่กรุงเทพมหานครจัดให้เป็นสวัสดิการสำหรับประชากรในกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางเพื่อการเรียนรู้กิจกรรมนันทนาการและกีฬาที่ได้มาตรฐาน ทันสมัย กิจกรรมนันทนาการเป็นสื่อกลางให้สมาชิกในครอบครัว ทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างมีความสุข เด็กและเยาวชน มีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตและเรียนรู้นอกห้องเรียนอย่างมีระบบใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับบุคคลทุกเพศทุกวัย มีกิจกรรมที่หลากหลายให้เลือกตามความเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 3&nbsp; (พ.ศ. 2566 - 2570) มิติที่ 1 การบริการสาธารณะ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 1.5 เมืองสุขภาพดี (Healthy City) เป้าประสงค์ที่ 1.6.6.3 พัฒนาบริการและจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายและตรงกับความต้องการของประชาชนและสอดคล้องกับนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่มีนโยบาย 9 ด้าน 9 ดี ด้านสุขภาพดี ประเด็นการพัฒนาที่ 1 สนับสนุนและพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพชุมชนทุกกลุ่มกิจกรรม กิจกรรมนันทนาการและกีฬา&nbsp; เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สมาชิกศูนย์นันทนาการให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ไม่ยุ่งยาก สามารถเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ ทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างมีความสุข สนุกสนาน ส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ</p> ณัฏฐาวีรกร ตาซื่อ Copyright (c) 2024 วารสารระบบนิเวศการเรียนรู้และปัญญา https://so13.tci-thaijo.org/index.php/j_ecosystem_wisdom/article/view/1076 Fri, 15 Nov 2024 00:00:00 +0700