การบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก้ไขปัญหาหนี้สินครู

Main Article Content

ธีรทัศน์ ปิติภาคย์พงษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งเน้นศึกษาการบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก้ไขปัญหาหนี้สินครู หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทางสายกลาง มีความพอประมาณ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาท มีเหตุผล และสร้างระบบภูมิคุ้มกัน มีความเพียร มีสติปัญญา พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงจากสภาพ แวดล้อม และวัฒนธรรมโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี การดำรงชีวิต และปฏิบัติตน การปฏิบัติหน้าที่ของครูแล้วมีปัญหาหนี้สิน ความรู้และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของครูย่อมลดลงตามด้วย และพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรม ประกอบการวางแผนการตัดสินใจ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักพิจารณาอยู่ 4 ส่วน ดังนี้ 1) ความพอประมาณ เป็นการนำหลักความพอดี การยึดความประหยัด ตัดทอน ค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง 2) ความมีเหตุผล ความมีเหตุผลนั้นเป็นการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม 3) การมีภูมิคุ้มกัน การเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ หรือ แข่งขันกันในทางการค้าขายการประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง 4) การมีความรู้ ใฝ่หาความรู้ ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ และด้านคุณธรรม ประกอบด้วยความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความ อดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป

Article Details

บท
Articles