บทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในชุมชนเขตปกครองเขต อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ กรณี พระครูโสภณธรรมรังสี (พระมหาสุพรรณ สุวณฺโณ)

ผู้แต่ง

  • ยโสธารา ศิริภาประภากร นักวิชาการด้านศาสนาและสังคมกับวัฒนธรรมท้องถิ่น / รองผู้อำนวยการสำนักงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสุรินทร์ แห่งที่ 2 วัดป่าโยธาประสิทธิ์ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • สุริยา คลังฤทธิ์ นักวิชาการอิสระ บ้านศาลาสามัคคี ตำบลบ้านชบ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

บทบาทของพระสงฆ์, การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม, จังหวัดสุรินทร์

บทคัดย่อ

            บทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในชุมชนเขตปกครองเขต อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ กรณี พระครูโสภณธรรมรังสี  (พระมหาสุพรรณ สุวณฺโณ)  

            พบว่า บทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมจะมีส่วนสําคัญกับชุมชนและสังคม.  ทําหน้าที่ในการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา. แต่ยังได้ทําหน้าที่ในการช่วยเหลือสงเคราะห์ชุมชนและสังคมในด้านต่างๆ  ด้านการให้ความรู้และพัฒนาจิตวิญญาณ. การปลูกฝังการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อให้อยู่ร่วมกันเกื้อกูลกันในชุมชน. บทบาทด้านการช่วยพัฒนาชุมชนและสังคม. เพื่อให้ชุมชนและสังคมในเขตการปกครองสามารถพึ่งพาตนเองช่วยเหลือซึ่งกันและกัน. มีความสามัคคี เข้าใจความหมายของศีลธรรม และเป้าหมายของมนุษย์ด้านจิตวิญญาณ. บทบาทในด้านการช่วยบรรเทาปัญหาและมีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตวิญญาณของประชาชนในชุมชนท้องถิ่น ถือเป็นงานสังคมสงเคราะห์ที่พระสงฆ์ทําได้โดยตรง. บทบาทสําคัญในการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเน้นด้านการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในชุมชนและสังคม. เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นอยู่ร่วมกันอย่างสงบและสันติ พระครูโสภณธรรมรังสี (พระมหาสุพรรณ สุวณฺโณ) เป็นพระระดับสังฆาธิการที่มีบทบาทและหน้าที่จนเป็นที่ประจักษ์ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ (ฝ่ายธรรมยุติ) เป็นพระสงฆ์ที่มีศีลจารวัตอันงดงาม. และปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า และยังเป็นพระสงฆ์ที่ชุมชนและสังคมในเขตพื้นที่ให้ความเคารพ ทั้งนี้ท่านยังมีบทบาทในด้านอื่นๆอีกมากมาย ได้แก่ (1) งานปกครองคณะสงฆ์ (2) งานศาสนศึกษา (3) งานศึกษาสงเคราะห์ (4) งานเผยแผ่ศาสนธรรม (5) งานสาธารณูปการ และ (6) งานสาธารณสงเคราะห์ เป็นต้น 

References

พรชุลี อาชวะอํารุง และคณะ. (2549). การศึกษาทบทวนโครงการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน, กระทรวง

วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

พระมหากฤษฎา นันทเพชร. (2540). “ทัศนคติของพระสงฆ์ต่อบทบาทการพัฒนาสังคม”. วิทยานิพนธ์

มหาบัณฑิตคณะพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระมหาโยธิน ละมูล. (2545). “บทบาทพระสงฆ์ในฐานะทรัพยากรมนุษย์และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์”

วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิต

พัฒนบริหารศาสตร์.

วิโรจน์ ธาระพุฒิ. (2544). “ศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมด้านการพัฒนาจริยธรรมของพระธรรมวิทยากร

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะหศาสตรมหาบัณฑิต. คณะ

สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2520). พุทธศาสนาในเอเชีย, กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต),. (2528). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุธีวรญาณ (ณรงค์ จิตฺตโสณโณ). (2549). พุทธศาสนาปริทรรศน์, กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2544). พุทธธรรม ฉบับเดิม, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย.

พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย). (2544). ฐานิยปูชา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2535). ศีล สมาธิ ในพระพุทธศาสนา,

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

วิ.ม. (บาลี) 4/32/27, วิ.ม. (ไทย) 4/32/40.

องฺ. ปญฺจก. (ไทย) 22/ 125 /205.

วิ.ม. (ไทย) 4/ 32/ 40.

ขุ.สุ.(ไทย) 25/ 143-145 / 533.

ที.สี. (ไทย) 9/311/118-119 .

ขุ.อิติ. (ไทย) 25/92/465.

ที.มา. (ไทย) 10/178/126.

ม.มู. (ไทย) 12/95/67.

ขุ.ธ. (ไทย) 25/33/57.

ขุ.ม. (ไทย) 29/52/181.

ที.ปา. (ไทย) 11/228/230.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-01-2025

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ

หมวดหมู่