ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคูเมืองวิทยาคม อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ปัจจัย, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, วิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคูเมืองวิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 150 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย มีตัวแปรพยากรณ์จำนวน 5 ตัวแปร ได้แก่ การปรับตัวของผู้เรียน (X1) เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ (X2) เจตคติต่อครูผู้สอน (X3) บรรยากาศในการเรียนรู้ (X4) และการสนับสนุนจากผู้ปกครอง (X5) ตัวแปรเกณฑ์ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Y) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ รายด้านอยู่ในระดับมาก 2) สมการพยากรณ์แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ พบว่าเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์พหุคูณมีค่าเท่ากับ .257 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 50.40 และได้สมการพยากรณ์ ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y/ = .715 + .257X2 + .243X4 + .220X1 + .101X5
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z/Y = .254ZX2 + .239ZX4 + .228ZX1 + .140ZX5
References
กฤศวรรณ ประเสริฐสิทธิ์. (2555). การศึกษาความสัมพันธของตัวแปรที่สงผลตอแรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนวิชาคณิตศาสตรพื้นฐานของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 6(1) : 103.
กฤศวรรณ ประเสริฐสิทธิ์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของ
นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี,
(17) : 90-101.
นุชเนตร กาฬสมุทร์ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาสาขา
การโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. วารสารวิจัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 7(2) : 27-40.
ปราณี หลําเบ็ญสะ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 3 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี. (ออนไลน์). วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. กาวัดผลและ
วิจัยการศึกษา) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. จาก http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/20
/7275. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566.
ปิยะธิดา ปัญญา. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์บรรยากาศการเรียนการสอนและ
ลักษณะของอาจารย์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (ออนไลน์). วิจัยในชั้นเรียนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. จาก
http://research.rmu.ac.th/rdi-mis//upload/fullreport/1615215943.pdf. สืบค้นเมื่อ 20
กันยายน 2566.
ลําเพา สุภะ และ มนัส ไพฑูรย์เจริญลาภ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง.
วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 22(2) : 38-50
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อริยา คูหา และชนากานต์ เลิศพยัคฆรัตน์. (2545). ผลของการเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์และ
ชนิดของการเสริมแรงที่มีต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ออนไลน์). วิทยานิพนธ์ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต จิตวิทยา
การศึกษา). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. จาก http://kb.psu.ac.th/psukb/ha
ndle/2010/6616. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566.
ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล และเปรมฤดี บริบาล. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาพยาบาล
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(1) : 98-108.