การพัฒนาทักษะการขับร้องเทคนิคการปรับเสียงช่วงเปลี่ยนระยะเสียง (passaggio) ในวัยรุ่น
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อพัฒนาวิธีการสอนและศึกษาผลการสอนทักษะการขับร้องเทคนิคการปรับเสียงช่วงเปลี่ยนระยะเสียงในวัยรุ่น โดยผู้วิจัยทำการศึกษาในนักเรียนวิชา ขับร้องของสถาบันดนตรี KPN Academy สาขาเซ็นทรัลพลาซ่าขอนแก่น จำนวน 7 คน ที่มีปัญหาการปรับเสียงช่วงเปลี่ยนระยะเสียงเมื่อต้องร้องโน้ตที่สูงขึ้น การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้ดำเนินการทั้งหมด 6 วงจร 6 แผนการสอน มีผลการวิจัยดังนี้ ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้พบว่านักเรียนมีพัฒนาการทางการเรียนสูงขึ้น ส่วนประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการขับร้องเทคนิคการปรับเสียงช่วงเปลี่ยนระยะเสียง (E1 / E2) เท่ากับ 87.10/88.29 หมายถึง ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ การขับร้องเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และมีประสิทธิภาพ ส่วนผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน พบว่าการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .05 และพบว่าค่าดัชนีประสิทธิผลของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน คือ 0.75 หรือเท่ากับร้อยละ 75 ซึ่งหมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 75
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: การศาสนา.
กฤตธัช พิสุทธิวงษ์ และวิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2561). การฝึกซ้อมและตีความบทเพลงอาเรียของฟิกาโรจากอุปรากรเรื่อง เลนอทเซดิฟิกาโร. วารสารดนตรีและการแสดง. 4(1), 24-35.
ชญานิศ โนมะยา ฟลอส์ซี. (2560). หลักการพื้นฐานสำหรับการขับร้อง. มหาสารคาม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ดวงใจ ทิวทอง. (2560). อรรถบทการขับร้อง กระบวนแบบและนวัตกรรมการขับร้อง. กรุงเทพฯ : วิสคอมเซ็นเตอร์.
ดาริกา แกล้วกล้า. (2549). การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของครูและนักเรียนด้วย กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา การวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น กลุ่มวิชาวิจัยและสถิติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่.
นัชนันท์ วิเชียรชม, มาลินี ประพิณวงศ์ และ อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์. (2561). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของพนักงานบริษัทโดยใช้แนวคิด การเรียนการสอนรายบุคคล. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(3), 100-117.
น้ำฝน ใจดี. (2553). การพัฒนาคุณภาพการสอนด้วยการวิจัยในชั้นเรียน. ชลบุรี : สาขาวิชาการจัดการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.
พงษ์ศักดิ์ ไชยดี. (2546). การพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านหนองแปน อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยุวนุช ปักษิณ. (2546). การปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน วิชา ตารางทำงาน
ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพานพิเศษพิทยา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและสถิติการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฤตินันท์ สมุทร์ทัย. (2558). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. เชียงใหม่: ครองช่าง พริ้นท์ติ้ง.
วรรณภา สายมาตย์. (2560). การปฏิบัติการพัฒนาการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาความคงทนในการเรียนรู้เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนาจะหลวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2555). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน = Classroom action research. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เหนือดวง เพิ่มพูน. (2560). การจัดการเรียนรู้วิชาดนตรี ตามแนวคิดของซูซูกิร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการขับร้องและความสามารถในการทำงานเป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Alderson, R. (1979). Complete handbook of voice training. West Nyack, NY: Parker Publishing Company, Inc.
Cooksey, J. (1977). The Development of a Contemporary, Eclectic Theory for The Training and Cultivation of The Junior High School Male Changing Voice: PART II, scientific and empirical findings: Some tentative solutions. The Choral Journal. 18(3), 5-16.
Miller, R. (1996). On the Art of singing. New York : Oxford University Press.
Thurman, L., & Klitzke, C. (2000). Highlights of physical growth and function of voices from prebirth to age 21. In L. Thurman, & W. Graham (Eds.), Bodymind and voice: Foundations of voice education. (Vol. 3). Minneapolis, Minnesota : Fairview Voice Centre.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.