วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU <p> วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ เป็นวารสารที่รวบรวมผลงานทางวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรมในศาสตร์และศิลป์ทางดนตรี เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ เผยแพร่องค์ความรู้ ความคิด และทัศนะ รวมถึงความเคลื่อนไหวทางดนตรีในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ได้รับการกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการและผ่านการตรวจคุณภาพของบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer Reviewer) ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบันอย่างน้อย 3 คน ในรูปแบบที่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งบทความต้นฉบับ ไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blinded Review) โดยตีพิมพ์เผยแพร่เป็นราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม–ธันวาคม</p> <p><strong>วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ (</strong><strong>Bansomdej Music Journal)<br /></strong>ISSN 2985-0622 (Online)</p> <p><strong>กำหนดพิมพ์เผยแพร่ ปีละ </strong><strong>2</strong> <strong>ฉบับ <br /></strong> ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน<br /> ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่</strong><br /> 3,000 บาท ต่อ 1 บทความ</p> College of Music, Bansomdejchaopraya Rajabhat University th-TH วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ 2985-0622 ส่วนหน้าของวารสาร https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/886 <p>ส่วนหน้าของวารสาร</p> วิทยาลัยการดนตรี Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-23 2024-07-23 6 2 ทางปี่ชวาและกระบวนการบรรเลงเพลงบัวลอยยามสอง ของครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/706 <p>งานวิจัย เรื่องทางปี่ชวาและกระบวนการบรรเลงเพลงบัวลอยยามสอง ของครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทางปี่ชวาและกระบวนการบรรเลงเพลงบัวลอยยามสอง ของครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และศึกษาบทบาทและความสำคัญของเพลงบัวลอยยามสองของครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ในอดีตและปัจจุบัน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์บุคคลที่สืบทอดทางเพลงชุดบัวลอยยามสองของครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชูชาติ พิณพาทย์ นายสันติ นักดนตรี และนายบุญมา มานะสืบ เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ทางปี่ชวาเพลงบัวลอยยามสองของครูหลวงประดิษฐ-ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ประกอบด้วย 12 เพลง ดังนี้ 1. เพลงรัวสามลา 2. เพลงบัวลอย 3. เพลงนางหน่าย 4. เพลงชักฟืนสามดุ้น 5. เพลงรัวลาเดียว 6. เพลงไฟชุม 7. เพลงรัวลาเดียว 8. เพลงยะหรั่น 9. เพลงกระดีดี่ 10. เพลงบัดพลี 11. เพลงรัวลาเดียว 12. เพลงนางหงส์ (กาจับปากโลง) ทางปี่ชวามีลักษณะเฉพาะที่เป็นสำนวนกลอนทางปี่ชวา ทั้งหมด 12 สำนวน ดังนี้ 1. สำนวนกลอนตั้งหลักเริ่มต้นเพลง 2.<span style="font-size: 0.875rem;">สำนวนกลอนที่แสดงถึงความกระชับทำนอง 3. สำนวนกลอนที่ดำเนินทำนองช้าพยางค์ห่าง ๆ 4. สำนวนกลอนแสดงถึงการทอนทำนอง 5. สำนวนกลอนที่มีทำนองโลดโผน 6. สำนวนการสรุปประโยค 7. สำนวนกลอนที่ดำเนินทำนองเก็บพยางค์ถี่ ๆ 8. สำนวนกลอนที่มีความสัมพันธ์กันต่อเนื่อง 9. สำนวนกลอนที่เป็นการสะบัดรวบทำนอง 10. สำนวนกลอนที่เป็นลักษณะเพลงทยอย 11. สำนวนกลอนที่เป็นลักษณะการถามตอบในทิศทางเดียวกัน 12. สำนวนกลอนที่เป็นการลงจบ</span></p> <p>2) บทบาทและความสำคัญของเพลงบัวลอยยามสองของครูหลวงประดิษฐ-ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ในอดีตโบราณมีการแบ่งเวลากลางคืนออกเป็น 4 ยาม ได้แก่ ยามหนึ่ง ยามสอง ยามสาม ยามสี่ เพลงบัวลอยยามสอง มีบทบาทในการบรรเลงประกอบพิธีกรรมงานศพ ยามสอง และยามสี่ ปัจจุบันใช้บรรเลงตอนฌาปนกิจศพ มีความสำคัญต่อศิษย์สายสำนักครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลป-บรรเลง) และวงการดนตรีไทย</p> กิตติพันธ์ จิตตรง บำรุง พาทยกุล สาริศา ประทีปช่วง Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-23 2024-07-23 6 2 1 15 กลวิธีการบรรเลงฆ้องวงใหญ่เพลงเดี่ยวแขกมอญ สามชั้น กรณีศึกษาครูสุบิน จันทร์แก้ว https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/639 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างของเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแขกมอญ สามชั้น กรณีศึกษาครูสุบิน จันทร์แก้ว และศึกษากลวิธีการบรรเลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแขกมอญ สามชั้น กรณีศึกษาครูสุบิน จันทร์แก้ว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และทำการวิเคราะห์ตามหลักวิชาทางดุริยางคศิลป์ไทย ผลการวิจัยพบว่า เพลงเดี่ยวแขกมอญ สามชั้น ทางฆ้องวงใหญ่ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้เรียบเรียงเป็นเพลงสำหรับเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ตามศักยภาพของครูสุบิน จันทร์แก้ว มีทั้งหมด 6 เที่ยว โดยเฉพาะท่อนที่ 2 เที่ยวแรก บรรเลงเพียง 3 จังหวะต้น เนื่องจาก 3 จังหวะท้ายเป็นทำนองที่ซ้ำกันทั้ง 3 ท่อน โดยเขียนโครงสร้างได้ดังนี้ A(ab) A'(a’b’) B(c) B’(c’b’’) C(db’’’) C’(d’b’’’’)</p> <p>กลวิธีการบรรเลงฆ้องวงใหญ่เพลงเดี่ยวแขกมอญ สามชั้น พบทั้งหมด 12 ลักษณะ ได้แก่ 1) การตีสะบัดลงทำนองติดกัน 2) การตีลูกสะเดาะสองเสียง 3) การตีลูกสะเดาะเสียงเดียว 4) การตีลูกกวาดจากเสียงสูงลงมาหาเสียงต่าง ๆ 5) การตีลูกกวาดจากเสียงต่ำขึ้นมาหาเสียงต่าง ๆ 6) การตีลูกกวาดเสียงสูงลงมาหาเสียงต่าง ๆ โดยมีทำนองติดกัน 7) การตีลูกเฉี่ยวข้ามเสียง 8) การตีลูกเฉี่ยวทำนองติดกัน 9) การตีไล่เสียงสลับกับลูกขยี้ 10) การตีลูกถ่างคู่ต่าง ๆ 11) การตีทำนองสำเนียงมอญ 12) การตีทำนองสำเนียงแขก</p> ภาวัช หลวงสุนทร Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-23 2024-07-23 6 2 16 32 แนวคิดและการบรรเลงซอไทยในวงดนตรีเอเชียเซเว่น (ASIA7) https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/709 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและวิธีการบรรเลงซอไทยในบทเพลงของวงเอเชียเซเว่น (ASIA7) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม คือ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ผู้ปฏิบัติ และนักวิชาการด้านดนตรี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ อภิปรายและนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบการพรรณนาบรรยาย</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า วงเอเชียเซเว่น (ASIA7) มีความโดดเด่นด้วยการนำซอไทย และดนตรีพื้นบ้านเข้ามาสร้างสรรค์ในทุกบทเพลงและผสมผสานกับดนตรีสากลอย่างลงตัว สำหรับแนวคิดและวิธีการบรรเลงซอไทยในบทเพลง พบว่า การปรับระดับเสียงของซอไทย โดยส่วนใหญ่ในการบรรเลงจะตั้งสายเป็นคีย์ Bb A และ B เพื่อให้เกิดสำเนียงตามอารมณ์ของเพลง และเป็นโทนเสียงธรรมชาติของซอไทย ผู้บรรเลงเลือกใช้เทคนิคของซอทั้งแบบไทยและสากลเพื่อให้มีความเหมาะสม ทำนองเพลงที่สร้างสรรค์มีการสอดแทรกสำนวนกลอนที่เป็นลักษณะสำนวนของเพลงไทย และลักษณะของกลอนเพลงที่เป็นแบบสมัยนิยมสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ดังนี้ การบรรเลงแบบอิหลักอิเหลื่อ การบรรเลงเดี่ยวซอ Solo กลอนม้วนตะเข็บ สำนวนกลอนแบบเพลงเดี่ยว ทางเก็บ และการบรรเลงลูกล้อตามแบบของดนตรีไทย มีการปรับแต่งซอไทยให้มีความแข็งแรง ทนทาน เหมาะกับการใช้งานร่วมกับวงดนตรีร่วมสมัย ใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเอฟเฟคเสียงเพื่อเพิ่มมิติและสีสันให้กับเสียงร้องหรือเสียงดนตรี ทำให้การฟังดนตรีมีความไพเราะและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น</p> เบญจา กำจาย สาริศา ประทีปช่วง สาริศา ประทีปช่วง วัชรมณฑ์ อรัณยะนาค Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-23 2024-07-23 6 2 33 48 การถ่ายทอดการบรรเลงเดี่ยวซออู้ เพลงแขกมอญ สามชั้น ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) กรณีศึกษา ครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/714 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงเดี่ยวซออู้ เพลงแขกมอญ สามชั้น ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) กรณีศึกษา ครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ประวัติและองค์ความรู้ซออู้ของผู้สอน ครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ เริ่มเรียนดนตรีไทยจากบิดา และได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์กับครูหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ได้รับการถ่ายทอดเดี่ยวซออู้ เพลงสุดสงวน สามชั้น และเพลงแขกมอญ สามชั้น 2) วิธีการคัดเลือกลูกศิษย์ และคุณสมบัติของลูกศิษย์ ครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ จะคัดเลือกลูกศิษย์ที่มีความสนใจในเครื่องดนตรีแต่ละชนิด 3) องค์ความรู้เกี่ยวกับการบรรเลงเดี่ยวซออู้ เพลงแขกมอญ สามชั้น เดี่ยวซออู้ ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูริยะชีวิน) เป็นเพลงในอัตราจังหวะ สามชั้น หน้าทับปรบไก่ มีจำนวน 3 ท่อน ท่อนละ 6 จังหวะหน้าทับ แต่จะมีการใช้หน้าทับมอญและ หน้าทับแขกแทรกอยู่ 4) การถ่ายทอด มีการฝากตัวเป็นศิษย์ ถ่ายทอดเป็นแบบมุขปาฐะไปทีละวรรคทีละท่อน</p> สุรพงษ์ บ้านไกรทอง ชญานนท์ ศรีอนันต์ Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-23 2024-07-23 6 2 49 64 การศึกษากลวิธีการสอนทักษะทรอมโบนในระดับอุดมศึกษา https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/626 <p>การศึกษากลวิธีการสอนทักษะทรอมโบนในระดับอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติ และกลวิธีการสอนทักษะทรอมโบนของนายสมเจตน์ สุกอร่าม ในระดับอุดมศึกษา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า นายสมเจตน์ สุกอร่าม ปัจจุบันประกอบอาชีพรับราชการ ตำแหน่งดุริยางคศิลปินอาวุโส กลุ่มดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>กลวิธีการสอนทักษะทรอมโบนในระดับอุดมศึกษาของนายสมเจตน์ สุกอร่ามมีการเลือกใช้วิธีการสอนหรือขั้นตอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในแต่ละบุคคล การสอนแบบเดี่ยวผู้สอนต้องทราบถึงความรู้เบื้องต้นและทักษะการปฏิบัติทรอมโบนของผู้เรียนแต่ละบุคคล เพื่อเลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมเป็นรายบุคคล โดยผู้สอนจะต้องเตรียมศึกษาเนื้อหาสาระ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทเรียนที่สอน ผู้สอนควรมีการบูรณาการการสอนภาคทฤษฎีดนตรีและภาคปฏิบัติทรอมโบนเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถครอบคลุมการเรียนรู้ทักษะทรอมโบน ส่วนการสอนแบบกลุ่มจะอยู่ในรูปแบบของการสอนรวมกลุ่มเครื่องทรอมโบน การสอนในรูปแบบนี้จะใช้วิธีการดึงจุดสำคัญของทรอมโบนในเพลงนั้น ๆ ออกมาซ้อมเฉพาะกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหน้าที่ของทรอมโบนในทุกช่วงเพลง โดยผู้เรียนจะต้องมีทักษะทรอมโบนส่วนตัวที่ดีและพร้อมปรับวิธีการบรรเลงเพื่อให้เข้ากับการบรรเลงรูปแบบกลุ่มเครื่องทรอมโบนได้ ดังนั้นผู้สอนจะต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี เพื่ออธิบายสิ่งที่ต้องการสื่อสารกับผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น</p> ชาญฤทธิ์ เริงรณอาษา ศุภปรัช สันติธรรมารักษ์ เพชรหทัย ชนูดหอม ชนูดหอม คณัสนนท์ เกิดเขียว เกิดเขียว Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-23 2024-07-23 6 2 65 73 การสร้างแบบฝึกหัดฆ้องวงใหญ่ขั้นพื้นฐานทักษะด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) จากแนวคิดของอาจารย์อัษฎาวุธ สาคริก สำหรับนักเรียนชมรมดนตรีไทย โรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดเก่า https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/713 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกหัดทักษะฆ้องวงใหญ่ขั้นพื้นฐานด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) จากการศึกษาแนวคิดของอาจารย์อัษฎาวุธ สาคริก 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้แบบฝึกหัดทักษะฆ้องวงใหญ่ขั้นพื้นฐานด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) จากการศึกษาแนวคิดของอาจารย์อัษฎาวุธ สาคริก 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกหัดทักษะฆ้องวงใหญ่ขั้นพื้นฐานด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) จากการศึกษาแนวคิดของอาจารย์อัษฎาวุธ สาคริก ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) แบบฝึกหัดทักษะฆ้องวงใหญ่พื้นฐาน จากแนวคิดของอาจารย์อัษฎาวุธ สาคริก สำหรับนักเรียนชมรมดนตรีไทยโรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดเก่า เครื่องมือแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน เกี่ยวกับพื้นฐานฆ้องวงใหญ่พื้นฐานทั้งในด้านทฤษฎีและวัดประเมินทักษะทางด้านปฏิบัติ วัดประเมินระหว่างเรียนด้วยแบบฝึกหัดจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการใช้แบบฝึกหัดทักษะฆ้องวงใหญ่ขั้นพื้นฐานด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) จากการศึกษาแนวคิดของอาจารย์อัษฎาวุธ สาคริก มีค่าเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 7.2 และหลังเรียนเท่ากับ 18.5 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียน เท่ากับ 0.36 และหลังเรียน เท่ากับ 0.27 โดยมีนัยสำคัญสถิติ .05 จึงแสดงได้ว่าคะแนนหลังเรียนมากกว่าคะแนนก่อนเรียน การวิเคราะห์คะแนนระหว่างเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.2 โดยวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ได้เท่ากับ 91/92.5 จึงแสดงได้ว่า แบบฝึกหัดมีความน่าเชื่อถือสูง และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกหัดพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด</p> วงศ์วสันต์ วสันตสุรีย์ จิรายุ รังสิมันตุชาติ Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-23 2024-07-23 6 2 74 90 การศึกษาและสืบสานภูมิปัญญาช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/685 <p>งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ช่างศิลป์ท้องถิ่นประเภทงานช่างเครื่องดนตรีไทยโดยการสัมภาษณ์และสังเกตอย่างมีส่วนร่วม นำเสนอผลการสังเคราะห์และวิเคราะห์องค์ความรู้ของช่างผลิตเครื่องดนตรีไทย (ประเภทเครื่องตี) แล้วนำมาเรียบเรียงและเผยแพร่ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาสำรวจข้อมูลช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตีในพื้นที่ภาคกลางอย่างเป็นระบบ 2) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ การผลิตเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตีจากช่างภูมิปัญญาเครื่องดนตรีไทยภาคกลาง 3) เผยแพร่องค์ความรู้ช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยสู่สังคม เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เชิงเศรษฐกิจและสังคม ด้วยกระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการ</p> <p>ผลของการวิจัยพบว่า พื้นที่ภาคกลางมีช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี (ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพนไทย) กระจายอยู่ในหลายจังหวัด อาทิ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครปฐม พระนครศรีอยุธยา เพชรบูรณ์ นครนายก อ่างทอง และสมุทรสาคร เป็นต้น การดำเนินงานช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยส่วนใหญ่เป็นลักษณะธุรกิจครอบครัวที่มีการสืบทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตเครื่องดนตรีไทยและการบริหารงานจากรุ่นสู่รุ่น บางรายมีแนวโน้มในการดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต แต่บางรายมีแนวโน้มในทางตรงกันข้ามเนื่องจากสภาพความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจึงยึดอาชีพช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยเป็นเพียงอาชีพเสริมเท่านั้น ปัจจัยของความสำเร็จในอาชีพช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยของช่างแต่ละท่านในการวิจัยครั้งนี้คือ ความรู้ที่แตกฉาน มีความเชี่ยวชาญในกระบวนการผลิต โดยช่างจะให้ความสำคัญกับกระสวนซึ่งใช้เป็นแบบในการสร้างเครื่องดนตรีที่ได้รับการสืบทอดมา บางท่านมีการพัฒนากระสวนที่ใช้สร้างเครื่องดนตรีให้เป็นอัตลักษณ์ของตนเองจนเป็นที่ยอมรับของกลุ่มนักดนตรีไทย ความรู้ด้านการผลิตเครื่องดนตรีไทยของช่างแต่ละท่านจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าแก่การอนุรักษ์และสืบสาน จึงได้มีการขยายผลงานวิจัยสู่สังคมโดยการจัดโครงการให้นักศึกษาวิชาชีพดนตรีไทยและผู้สนใจทั่วไปได้ฝึกปฏิบัติการผลิตเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี เพื่อให้เกิดความตระหนักในความสำคัญของภูมิปัญญาการผลิตเครื่องดนตรีไทยและการประกอบวิชาชีพช่างผลิตเครื่องดนตรีไทยในอนาคต ทำให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญาการผลิตเครื่องดนตรีไทยต่อไป</p> พิณทิพย์ ขาวปลื้ม ณวัฒน์ หลาวทอง สายสุนีย์ หะหวัง สายสุนีย์ หะหวัง ประวิทย์ ขาวปลื้ม ประวิทย์ ขาวปลื้ม อัษฎางค์ เดชรอด อัษฎางค์ เดชรอด พันธกานต์ แสงอ่อน Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-23 2024-07-23 6 2 91 107 การสร้างเครื่องดนตรีเสมือนดนตรีพื้นบ้านล้านนาด้วยโปรแกรม HISE https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/707 <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกเสียงเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา โดยใช้ทักษะองค์ความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์ทางด้านดนตรีของผู้ศึกษาในการบันทึกเสียง เพื่อนำมาใช้ผลิตเครื่องดนตรีเสมือนด้วยโปรแกรม HISE</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า สามารถรวบรวมข้อมูลเสียงได้อย่างครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ เสียงจำลองที่เลียนเสียงได้ใกล้เคียงเครื่องดนตรีต้นแบบมากที่สุด คือ เครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา ประเภทเครื่องสี ได้แก่ สะล้อหลวง เครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา ประเภทเครื่องดีด ได้แก่ ซึงกลางและพิณเปี๊ยะ และเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา ประเภทเครื่องเป่า ได้แก่ ขลุ่ยเมือง โดยผลิตออกมาในรูปแบบของเครื่องดนตรีเสมือน</p> <p>เครื่องดนตรีเสมือนสามารถทดแทนการบันทึกเสียงด้วยนักดนตรีจริงได้ ทำให้กระบวนการบันทึกเสียงสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้ประหยัดงบประมาณ ในการจ้างนักดนตรี ลดความเสี่ยงจากคุณภาพการบรรเลงของนักดนตรี คุณภาพของเสียงเครื่องดนตรี สามารถทดลองผสมเสียงต่าง ๆ ได้ไม่จำกัดความคิดสร้างสรรค์ และสามารถผลิตเสียงซ้ำหรือแก้ไขเสียงได้อย่างอิสระ</p> พุทธวงศ์ เอกพจน์ ธเนศ วงศ์สิงห์ Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-23 2024-07-23 6 2 108 124 การประพันธ์เพลงชุดปลากัดป่ามหาชัย https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/711 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางด้านดุริยางคศิลป์ไทย เพลงชุดปลากัดป่ามหาชัย และกระบวนการในการประพันธ์เพลง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาข้อมูลเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านดุริยางค์ศิลป์ไทยและผู้ทรงคุณวุฒิด้านปลากัดป่ามหาชัย นำเสนอผลการวิจัยด้วยการสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ไทย</p> <p> การประพันธ์เพลงชุดปลากัดป่ามหาชัย เป็นการประพันธ์เพลงโดยนำแนวคิดจากประพันธ์เพลงและผลงานศิลปะแขนงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปลากัดมาเป็นแรงบันดาลและแนวคิดในการประพันธ์เพลงไทย นำข้อมูลเกี่ยวกับปลากัดป่ามหาชัย และพื้นที่ที่ปลากัดป่ามหาชัยอาศัยอยู่มาประพันธ์ขึ้นมาให้เป็นบทเพลงใหม่ โดยผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ขึ้นมาทั้งหมด 6 เพลง คือ 1) เพลงปลากัดป่า 2) เพลงถิ่นอาศัย 3) เพลงเร้นหลบภัย 4) มหาชัยมัสยา 5) เพลงลีลาชั้นเชิง และ 6) เพลงปลากัดสยาม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การประพันธ์เพลงชุดปลากัดป่ามหาชัย เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวของปลากัดป่ามหาชัยตั้งแต่ถิ่นที่อยู่อาศัยลักษณะที่โดดเด่นเฉพาะของปลาและเรื่องราวการต่อสู้ของปลากัดป่ามหาชัย ซึ่งท่วงทำนองของแต่ละเพลงจะมีทำนองที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปแบบการบรรเลงจะเป็นการบรรเลงโดยวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ผู้ประพันธ์ต้องการที่จะสื่อถึงสิ่งมีชีวิติที่อาศัยอยู่ในน้ำ ซึ่งวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบด้วยเครื่องดนตรีเสียงต่ำ มีสำนวนนุ่มนวล น่าฟัง เพิ่มอุปกรณ์พิเศษคือ โหลปลากัดที่ใช้เลียนเสียงการฮุบอากาศของปลาและเสียงที่ฟังแล้วให้ความรู้สึกถึงน้ำเพื่อเล่าเรื่องราวของปลากัดป่ามหาชัยได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น</p> ศุภรัสมิ์ ทองทา ฉัตรติยา เกียรตินาวี Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-23 2024-07-23 6 2 125 139 นิราศสุพรรณ : บทประพันธ์เพลงสำหรับวงเครื่องสายห้าชิ้น และเครื่องกระทบ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/631 <p>บทความวิจัยสร้างสรรค์เรื่อง นิราศสุพรรณ : บทประพันธ์เพลงสำหรับวงเครื่องสายห้าชิ้นและเครื่องกระทบ เป็นบทประพันธ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยนำบทจากโคลงนิราศสุพรรณของสุนทรภู่สมัยที่บวชเป็นพระ ได้เดินทางล่องเรือเพื่อไปเล่นแร่แปรธาตุที่สุพรรณบุรี ผู้ประพันธ์ได้นำมาสร้างสรรค์ทำนองขึ้นใหม่ บทประพันธ์เพลงมีการใช้แนวเสียงเครื่องสายตะวันตกห้าชิ้น ประกอบไปด้วย ไวโอลิน 2 แนวเสียง วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส มีการเพิ่มสีสันของเสียงด้วยแนวเสียงกลุ่มเครื่องกระทบที่มีระดับเสียง ได้แก่ กล็อกเคนชปีล ไวบราโฟน ไซโลโฟน และมาริมบา ผู้ประพันธ์ใช้โคลงนิราศสุพรรณจำนวน 15 บท เฉพาะช่วงที่สุนทรภู่เดินทางออกจากวัดเทพธิดาราม ล่องเรือไปตามแม่น้ำลำคลองไปจนถึงท่าช้าง</p> <p>บทประพันธ์เพลงดังกล่าวประกอบไปด้วย 3 ท่อน ได้แก่ ท่อนที่ 1 จุดหมายปลายทาง (บทที่ 1-5) ท่อนที่ 2 ระหว่างทาง (บทที่ 6-10) และท่อนที่ 3 ไม่สิ้นสุด (บทที่ 11-15) มีเทคนิคที่ใช้ในการประพันธ์เพลง ได้แก่ ส่วนโน้ตตามพยางค์ของคำ ขั้นคู่ การเอื้อน โพลิริธึม การซ้ำ และการเลียน</p> ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-23 2024-07-23 6 2 140 156