วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU <p> วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ เป็นวารสารที่รวบรวมผลงานทางวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรมในศาสตร์และศิลป์ทางดนตรี เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ เผยแพร่องค์ความรู้ ความคิด และทัศนะ รวมถึงความเคลื่อนไหวทางดนตรีในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ได้รับการกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการและผ่านการตรวจคุณภาพของบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer Reviewer) ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบันอย่างน้อย 3 คน ในรูปแบบที่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งบทความต้นฉบับ ไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blinded Review) โดยตีพิมพ์เผยแพร่เป็นราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม–ธันวาคม</p> <p><strong>วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ (</strong><strong>Bansomdej Music Journal)<br /></strong>ISSN 2985-2692 (Print) <br />ISSN 2985-0622 (Online)</p> th-TH [email protected] (วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) [email protected] (วรินธร สีเสียดงาม) Fri, 29 Mar 2024 16:08:29 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลของการใช้แบบฝึกขลุ่ยรีคอร์เดอร์เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/432 <p style="font-weight: 400;">การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research) รูปแบบ One Group Pretest Posttest Design มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการใช้แบบฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่มีต่อทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรี ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) จำนวน 45 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องขลุ่ยรีคอร์เดอร์ แบบประเมินทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแบบฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) ทักษะการปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์อยู่ในระดับมากที่สุด</p> กิติศักดิ์ เสียงดี, อัญชลี บุญจันทึก Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/432 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในกิจกรรมวงโยธวาทิต https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/476 <p style="font-weight: 400;">การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน วงโยธวาทิตในด้านลักษณะการตอบสนองต่อวิธีการสอนของผู้ควบคุมวง โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแนวทางการดำเนินการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนของผู้ควบคุมวง โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักเรียนวงโยธวาทิตจำนวน 40 คน และผู้ควบคุมวง 3 คน การวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ตรวจสอบข้อมูลสามเส้า และนำเสนอเป็นข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้ควบคุมวง ประกอบด้วยลักษณะการตอบสนองของนักเรียนชัดเจน 4 ระดับ ได้แก่ 1) ความตั้งใจ (Attention) 2) ความเพ่งพินิจ (Focus) 3) ความกังวล (Concern) และ 4) ความวิตกกังวล (Anxiety)</p> เพียวพันธ์ เทวงษ์รักษา, ดนีญา อุทัยสุข Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/476 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 วงมโหรีพื้นบ้านอีสาน: กรณีศึกษาวงบ้านเตย อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/434 <p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของวงมโหรีพื้นบ้านอีสาน 2) ศึกษาอัตลักษณ์ของวงมโหรีพื้นบ้านอีสาน 3) ศึกษาบทบาทต่อชุมชนของวงมโหรีพื้นบ้านอีสาน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างการวิจัยใช้แบบเจาะจง ได้แก่ ผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงมโหรีพื้นบ้านอีสาน มีขอบเขตพื้นที่การวิจัย คือ บ้านเตย ตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่วิจัยด้วยการสังเกตและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลต่าง ๆ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ อภิปรายและนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบการพรรณนาบรรยาย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า วงมโหรีพื้นบ้านอีสานบ้านเตยก่อตั้งโดยครูอ้วย พิศเพ็ง โดยในปี พ.ศ. 2500 ครูอ้วยได้เดินทางจากจังหวัดบุรีรัมย์ไปศึกษาปี่พาทย์จากสำนักนายลิ ศรีสังข์ ในจังหวัดนครราชสีมา และได้สนใจฝึกมโหรีพื้นบ้านโคราชเพิ่มเติมด้วย ถึงปี พ.ศ. 2505 ได้มาตั้งภูมิลำเนาที่บ้านเตยและก่อตั้งวงขึ้น ในด้านสภาพวงดนตรี มีการถ่ายทอดความรู้ตามกลุ่มอายุของนักดนตรีรวม 3 รุ่น แต่ในปัจจุบันการสืบทอดที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นลดลง เนื่องจากความสูงวัยของนักดนตรี และความนิยมการแสดงอื่น ๆ มาแทนที่ ด้านอัตลักษณ์เพลงวงมโหรีที่โดดเด่น เช่น เพลงเมียน้อย - เมียหลวง ซึ่งเป็นเพลงที่นิยมบรรเลงสลับกันไป มีปี่ขนาดใหญ่เรียกว่าปี่ฆ้อง และปี่ขนาดเล็กเรียกว่าปี่ตัด รวมถึงซอที่มีหลายขนาด ด้านบทบาทหน้าที่ของวงมโหรีพื้นบ้านอีสาน ซึ่งคนในชุมชนยังให้การสนับสนุนวงมโหรีพื้นบ้านในท้องถิ่นของตนในงานประเพณีพิธีกรรมท้องถิ่น โดยครูอ้วยนั้นยังเป็นผู้นำวัฒนธรรมของชุมชนที่ผู้คนให้ความเคารพ และให้การสนับสนุนวงมโหรีพื้นบ้านในท้องถิ่นของตนเองเป็นอย่างดี</p> ธนวัฒน์ บุตรทองทิม Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/434 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการบรรเลงดับเบิลเบส ยุคสมัยบีบ็อป โดย ออสการ์ เพตติฟอร์ดและพอล แชมเบอร์ส https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/474 <p>งานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการบรรเลงดับเบิลเบสในยุคสมัยบีบ็อป โดย ออสการ์ เพตติฟอร์ดและพอล แชมเบอร์สนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึง พัฒนาการของเทคนิคที่ใช้ในการบรรเลงดับเบิลเบสในยุคบีบ็อป และศึกษาเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการบรรเลงดับเบิลเบสเพื่อประกอบคีตปฏิภาณ และเทคนิคที่ส่งผลต่อการบรรเลงการแสดงคีตปฏิภาณในยุคสมัยบีบ็อป โดยผู้วิจัยได้ทำการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัย หนังสือ เอกสาร บทความ และแหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต จากนั้นได้ดำเนินการวิจัย โดยแบ่งขั้นตอนออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.การรวบรวมข้อมูล 2.การตรวจสอบแหล่งข้อมูล 3.แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ในยุคสมัยบีบ็อปบทบาทและหน้าที่หลักของนักดับเบิลเบส คือการบรรเลงเพื่อให้ผู้ที่แสดงคีตปฏิภาณและผู้ร่วมบรรเลงสามารถรับรู้ถึงทางเดินคอร์ดที่กำลังดำเนินอยู่ หรือบรรเลงเพื่อสนับสนุนผู้แสดงคีตปฏิภาณให้สามารถแสดงคีตปฏิภาณได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หรือการบรรเลงทางเดินคอร์ดที่แตกต่างออกไปจากทางเดินคอร์ดปกติ เพื่อให้ผู้แสดงคีตปฏิภาณสามารถได้รับรู้ทางเดินคอร์ดที่เปลี่ยนไป ซึ่งส่งผลให้ผู้แสดงคีตปฏิภาณสามารถมีตัวเลือกในการบรรเลงเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งหน้าที่อีกอย่างของนักดับเบิลเบสคือการควบคุมจังหวะของวงผ่านรูปแบบวิธีการบรรเลงต่าง ๆ เพื่อทำให้บทเพลงมีความสนใจและมีเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่านักดับเบิลเบสภายในวงดนตรีแจ๊สยุคบีบ็อปทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ที่แสดงคีตปฏิภาณ ผู้บรรเลงเครื่องคอร์ด และผู้บรรเลงเครื่องกำกับจังหวะ ซึ่งทำให้นักดับเบิลเบสภายในวงดนตรีแจ๊สยุคบีบ็อปจึงมีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญเป็นอย่างมากภายในวง</p> <p>ผลการศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการบรรเลงและรูปแบบแนวความคิดของ ออสการ์ เพตติฟอร์ดและพอล แชมเบอร์ส ซึ่งเป็นนักดับเบิลเบสที่มีเอกลักษณ์ในการบรรเลงและเป็นนักดับเบิลเบสที่เป็นอย่างและส่งผลต่อนักดับเบิลเบสท่านอื่น ๆ ในยุคสมัยบีบ็อป พบว่า นักดับเบิลเบสทั้ง 2 ท่านนี้มีรูปแบบในการเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการบรรเลงที่คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่นำมาบรรเลงในคอร์ด การเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่นำมาแสดงคีตปฏิภาณ หรือเทคนิค บางช่วงในบทเพลงที่ ออสการ์ เพตติฟอร์ด และ พอล แชมเบอร์ส ใช้ในการบรรเลงนั้นมีรูปแบบแนวทางที่คล้ายคลึงกัน แต่อาจจะมีการเลือกใช้เทคนิคแต่ละเทคนิคแตกต่างกันตามแต่ละบริบทและต่างสถานการณ์ รวมไปถึงรูปแบบแนวความคิดในการบรรเลงของ ออสการ์ เพตติฟอร์ด และ พอล แชมเบอร์ส ยังมีความใกล้เคียงกัน</p> กฤษณพงศ์ จุลกะนาค Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/474 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ส่วนหน้าของวารสาร https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/684 <p>ส่วนหน้าของวารสาร</p> วิทยาลัยการดนตรี Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/684 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การใช้สื่อเกมเพื่อการเรียนรู้ทฤษฎีดนตรีและโสตประสาทด้วยกระบวนการความคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักศึกษาดนตรีในระดับอุดมศึกษา https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/491 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการใช้สื่อเกมเพื่อการเรียนรู้ทฤษฎีดนตรีและโสตประสาท โดยการนำสื่อเกมมาใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ และการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อเกม ตามกระบวนการความคิดเชิงออกแบบ และนำไปใช้ในการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาดนตรีในระดับอุดมศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้เนื้อหาและทักษะด้านทฤษฎีดนตรีตะวันตก เช่น บันไดเสียง ขั้นคู่และโครงสร้างทรัยแอด รวมถึงการพัฒนาโสตประสาทจากการใช้สื่อเกมเพื่อกระตุ้นให้เกิดทักษะการฟังและร้องในด้านโสตประสาทสำหรับนักศึกษาดนตรี</p> <p> กระบวนการความคิดเชิงออกแบบมีทั้งหมด 5 กระบวนการ ได้แก่ 1) การเข้าใจปัญหา 2) การกำหนดปัญหาให้ชัดเจน 3) การระดมความคิด 4) การสร้างต้นแบบที่เลือกนำมาใช้ และ 5) การทดสอบสื่อเกม จากการผ่านกระบวนการความคิดเชิงออกแบบทั้ง 5 กระบวนการดังกล่าว จึงได้เกิดผลผลิตสื่อเกมที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความรู้และทักษะทางทฤษฎีดนตรีและโสตประสาทของนักศึกษาดนตรีในระดับอุดมศึกษาได้ ทั้งนำมาเป็นกิจกรรมในชั้นเรียน หรือกิจกรรมเสริมความรู้และทักษะนอกห้องเรียนได้</p> ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/491 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการเรียนการสอนเครื่องสายสากลในพื้นที่ภาคใต้ ผ่านกิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้น https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/482 <p style="font-weight: 400;">บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนเครื่องสายสากลผ่านกิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้น “แนวทางการรวมวงเครื่องสายสากล สำหรับครูประถมศึกษาและครูมัธยมศึกษา ครั้งที่ 2” เพื่อพัฒนา<br />การเรียนการสอนเครื่องสายสากลของโรงเรียนต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ ตามพันธกิจด้านการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จากการเปิดสอนเครื่องสายสากลมาอย่างยาวนาน รวมทั้งศักยภาพของอาจารย์ผู้สอนซึ่งเป็นที่ยอมรับ ดังนั้น การเผยแพร่ความรู้แก่ครูผู้สอนซึ่งมีบทบาทต่อการจัดการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากครูผู้สอนในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากการจัดกิจกรรมอบรมในลักษณะนี้ยังมีอยู่จำกัด ผลการประเมิน การจัดกิจกรรมอบรมในครั้งพบว่าครูผู้สอนเครื่องสายสากลมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p style="font-weight: 400;"> </p> วิชัย มีศรี, วรรณชัย สงเดช Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/482 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การเรียนรู้เสียงดนตรีสังเคราะห์ผ่านโอเพนซอร์ส เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/444 <p>บทความนี้นำเสนอการใช้โอเพนซอร์ส โปรแกรมวีซีวี แร็ค (VCV Rack) ในการเรียนรู้เสียงดนตรีสังเคราะห์ เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้เขียนอธิบายความสำคัญและการใช้งานของโปรแกรมนี้ โดยเน้นบทบาทของวีซีวี แร็ค เป็นตัวจำลองยูโรแร็ค โมดูลาร์ ซินธีไซเซอร์ (Eurorack modular synthesizer) ที่หลากหลาย ผลลัพธ์การใช้โปรแกรมวีซีวี แร็ค รวมถึงการเพิ่มความรู้ทางดนตรี ทักษะการสร้างดนตรี การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหา และการแบ่งปันเผยแพร่ผลงาน เพื่อเสริมความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างโมดูลและส่วนประกอบของเสียงดนตรี และเพื่อฝึกการสร้างเสียงดนตรีผ่านการเชื่อมโมดูลเข้าด้วยกัน เสริมความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสร้างเสียงดนตรีตามความต้องการของตนเองได้</p> ธนะรัชต์ อนุกูล Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/444 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 การประพันธ์ทางเดี่ยวขิม เพลงพญาครวญ สามชั้น https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/442 <p>บทความวิชาการนี้เป็นการประพันธ์ทางเดี่ยวขิม เพลงพญาครวญ สามชั้นโดยเรียบเรียงขึ้นในลักษณะเพลงเดี่ยว เพื่ออวดฝีมือของผู้บรรเลง ทั้งในเรื่องของความจำ ไหวพริบปฏิภาณ และเพื่อแสดงสำนวนกลอนในบทเพลง ทั้งนี้ผู้ประพันธ์ได้วางลำดับการประพันธ์โดยศึกษาจากทำนองหลัก พิจารณาอารมณ์เพลงจากท่วงทำนองและบทร้อง สำเนียงของเพลง ทำนองสารัตถะ ลักษณะพื้นฐาน การบรรเลงของเครื่องดนตรี การใช้หน้าทับ จังหวะฉิ่ง ลีลาที่เกี่ยวข้อง พิจารณากลอนเพลงที่ใช้โดยคัดเลือกทำนองให้เหมาะสมกับวิธีการบรรเลง ตลอดจนคัดลือกทำนองที่สลักสลวย ความกลมกลืนของท่วงทำนองในลักษณะสัมผัสใน และสัมผัสนอก พิจารณาลูกตกสำคัญ และลูกตกรองจากจังหวะฉิ่งในแต่ละช่วง โดยเพลงพญาครวญ สามชั้น มีทั้งสิ้น 3 บันไดเสียง ได้แก่ บันไดเสียงเพียงออล่าง บันไดเสียงเพียงออบน และบันไดเสียงทางนอก ใช้หน้าทับปรบไก่ สามชั้น มี 6 จังหวะหน้าทับ จัดได้ว่าเป็นเพลงที่กลุ่มเพลงเดี่ยวขั้นสูง เป็นเพลงที่มีอานุภาพในการสร้างความรู้สึกสะเทือนอารมณ์แก่ผู้ฟัง ผู้ประพันธ์เลือกวิธีการประพันธ์ทางเดี่ยวในรูปแบบขนบภักดิ์สบสมัย ยึดตามขนบธรรมเนียม การพิจารณาทำนองหลักและลูกตก รวมถึงอัตลักษณ์การบรรเลงขิมของครูมนตรี ตราโมท ทางขิมนี้เป็นทางที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น การใช้กลวิธีสะบัด สะเดาะ ขยี้ การตีสลับช่วงเสียง มุ่งหวังให้เป็นเพลงพญาครวญ ที่สร้างสุนทรียะและความสำเริงแก่ผู้รับฟังได้อย่างสมบูรณ์</p> สุวิวรรธ์น ลิมปชัย, ตั้งปณิธาน อารีย์ Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/442 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 เทคนิคการบรรเลงเดี่ยว เบสไฟฟ้า ในบทเพลงนอทติง เอลส์ แม็ทเทอร์ซ โดย สจ๊วต เคลย์ตัน https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/475 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์เทคนิค การเรียบเรียงแนวบรรเลงเดี่ยว เบสไฟฟ้าของ สจ๊วต เคลย์ตัน ในบทเพลงนอทติง เอลส์ แม็ทเทอร์ซ ผลงานประพันธ์ของคณะ เมทัลลิกา โดยเลือกใช้เบส 4 สาย 24 เฟร็ต ตั้งสายแบบปกติ บรรเลงเป็นคอร์ดด้วยเทคนิคการใช้นิ้ว แฮมเมอร์ออน พูลออฟ สไลด์ ฮาร์โมนิค ฮาร์โมนิคที่สร้างขึ้นมาใหม่ จิ้มสาย ตบสาย เกี่ยวสาย การตีคอร์ด การเล่นโกสต์โน้ต และการดันสาย ซึ่งทั้งเทคนิคและการเรียบเรียงของ สจ๊วต เคลย์ตัน ส่งผลให้เครื่องดนตรีเบสไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนบทบาท จากการควบคุมจังหวะเป็นการบรรเลงให้เป็นบทเพลงได้ครบทั้งทำนองแนวประสาน คอร์ด และเบส คล้ายการบรรเลงด้วยกีตาร์คลาสสิก ฟิงเกอร์สไตล์กีตาร์ หรือเปียโน จากผลการวิเคราะห์ บทเพลงแบ่งออกเป็น 14 ท่อน เป็นการเรียบเรียงโดยอิงทำนองจากต้นฉบับและประพันธ์ขึ้นมาใหม่ แต่ละท่อนมีเทคนิคหลักและเทคนิคประกอบ ที่แตกต่างกันซึ่งการเลือกใช้แต่ละเทคนิคมารวมกันต้องคำนึงถึงทำนอง แนวประสาน คอร์ด เบส และน้ำหนักการบรรเลงที่มีความกลมกลืนกัน</p> วีรุต วิรัชศิลป์, มนสิการ เหล่าวานิช Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/475 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700 ไทจู บทเพลงสำหรับวงทรอมโบนควอเท็ตโดยจุนนิชิ ฮิโรตะ: การตีความและแนวการฝึกซ้อมสำหรับการแสดง https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/511 <p>บทความสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาแนวคิดของผู้ประพันธ์และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับบทเพลงเพื่อนำไปพัฒนาเป็นแนวทางการฝึกซ้อม เพื่อเตรียมตัวก่อนการแสดงและนำไปปรับใช้ในการแสดงบทเพลงไทจู (Taiju) ผลงานการประพันธ์ของจุนนิชิ ฮิโรตะ ในการแสดง “SuperBrass Concert Workshop” ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2566 เวลา 13.00 น. ณ ห้องแสดงดนตรี CRK Recital Hall วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้แสดงได้ทำการศึกษาวิเคราะห์รายละเอียดของผู้ประพันธ์เพื่อพัฒนาแนวทางการฝึกซ้อมสำหรับเตรียมตัวก่อนการแสดงบทเพลง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรก การวิเคราะห์บทเพลง เทคนิคที่ใช้ในการบรรเลงซึ่งประกอบไปด้วย 2 เทคนิคคือ เลกาโตและโน้ตขั้นคู่ ส่วนที่ 2 การเตรียมความพร้อมก่อนแสดง</p> นรเศรษฐ์ อุดาการ Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/511 Fri, 29 Mar 2024 00:00:00 +0700