https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/issue/feed วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ 2025-01-19T10:34:09+07:00 วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา musicjournal.bsru@gmail.com Open Journal Systems <p> วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ เป็นวารสารที่รวบรวมผลงานทางวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรมในศาสตร์และศิลป์ทางดนตรี เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ เผยแพร่องค์ความรู้ ความคิด และทัศนะ รวมถึงความเคลื่อนไหวทางดนตรีในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ได้รับการกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการและผ่านการตรวจคุณภาพของบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer Reviewer) ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบันอย่างน้อย 3 คน ในรูปแบบที่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งบทความต้นฉบับ ไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blinded Review) โดยตีพิมพ์เผยแพร่เป็นราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม–ธันวาคม</p> <p><strong>วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ (</strong><strong>Bansomdej Music Journal)<br /></strong>ISSN 2985-0622 (Online)</p> <p><strong>กำหนดพิมพ์เผยแพร่ ปีละ </strong><strong>2</strong> <strong>ฉบับ <br /></strong> ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน<br /> ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่</strong><br /> 3,000 บาท ต่อ 1 บทความ</p> https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/961 ดนตรีของ 5 กลุ่มชาติพันธุ์ ในพื้นที่เขตธนบุรี 2024-09-25T14:28:40+07:00 อัมรินทร์ แรงเพ็ชร ajamarin@hotmail.com <p>การศึกษาความเป็นมาและลักษณะทางดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 5 ได้แก่ จีน แขก มอญ ลาว ฝรั่ง ในพื้นที่เขตธนบุรี พบว่าการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในธนบุรีของชาติพันธุ์ทั้ง 5 กลุ่ม มีเหตุผลและช่วงเวลาที่ต่างกันไป ชาวจีนแต้จิ๋ว ชาวฝรั่งโปรตุเกสและมุสลิมนิกายชีอะห์หรือแขกเจ้าเซ็น อพยพเข้ามาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเพื่อค้าขายและรับราชการ เมื่อพระเจ้าตากสินได้สถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ทั้งสองกลุ่มนี้ก็ได้ย้ายตามมาตั้งชุมชนในธนบุรีอยู่ด้วย ชาวมอญอพยพเข้ามาเพราะหนีภัยสงครามกับพม่า ชาวลาวถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทน์ เมื่ออพยพเข้ามาแล้วทั้ง 5 กลุ่มต่างก็ได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทย มีการรับเอาวัฒนธรรมไทยไปปรับใช้ ขณะเดียวกันคนไทยก็ได้รับเอาวัฒนธรรมบางอย่างมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 5 ด้วย และการอพยพเข้ามาต่างได้นำเอาดนตรีของตนเองมาด้วย อันเป็นดนตรีที่มีความสำคัญและมีบทบาทต่อวิถีแห่งการดำเนินชีวิตของทุกกลุ่มในเรื่องศาสนาและอาชีพ อาทิ“หล่อโก้ว” ดนตรีพิธีกรรมของชาวจีนแต้จิ๋วในย่านวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร “เพลงส้มปิน” สำหรับใช้ร้องและรำในประเพณีสงกรานต์ของชาวมอญย่านวัดประดิษฐาราม การทำขลุ่ยอันเป็นอาชีพหลักของชาวลาวย่านวัดบางไส้ไก่ “วงปี่กลอง” ในพิธีแขกเจ้าเซ็น พิธีกรรมสำคัญของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ และ“ระฆังการิย็อง” กับเพลง “ลูกกุฎีจีน” เป็นเครื่องดนตรีและเพลงที่ลูกหลานชาวโปรตุเกสในย่านกุฎีจีนภาคภูมิใจ ดนตรีของทั้ง 5 กลุ่มเป็นดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน มีโครงสร้างตามหลักทฤษฎีทางดนตรีและมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้เข้าร่วมพิธี ปัจจุบันรูปแบบทางดนตรีของทั้ง 5 กลุ่มยังคงมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของทุกกลุ่ม และรักษาไว้ได้อย่างเข้มแข็ง สามารถส่งต่อวัฒนธรรมทางดนตรีนี้ให้ลูกหลานในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกับตน ได้เรียนรู้และสืบทอดกันต่อไป</p> 2025-01-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/904 สร้างสรรค์ดุริยางคศิลป์ : โหมโรงดนตรีเทพ สามชั้น 2024-09-26T07:57:08+07:00 ศุภณัฐ นุตมากุล supanut.n@lawasri.tru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ เพื่อสร้างสรรค์ดุริยางคศิลป์ไทยให้กับสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ด้วยระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ และวิเคราะห์ประเด็นทั้งหมดให้เห็นองค์รวมจากนั้นจึงสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพของแต่ละประเด็น ตีความจากสารัตถะที่ศึกษามา พร้อมทั้งอธิบายผลด้วยความเรียงเชิงพรรณนา และจัดกระทำการสร้างสรรค์ดุริยางคศิลป์ไทยเพื่อตอบวัตถุประสงค์วิจัยที่กำหนดไว้<br>ผลการวิจัยพบว่า มีการประพันธ์เพลงตามหลัก “9รู้” ของครูสืบศักดิ์<br>ดุริยประณีต อันเกิดจากการสังเคราะห์องค์ความรู้ในงานวิจัยเรื่ององค์ความรู้<br>ด้านการประพันธ์เพลงไทย กรณีศึกษาครูสืบศักดิ์ ดุริยประณีต ด้านของการจินตนาการผลงานสร้างสรรค์ดุริยางคศิลป์ : โหมโรงดนตรีเทพ สามชั้น ของผู้วิจัย คือ การเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านมาตลอด 43 ปี ของสาขาดนตรีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ให้ผู้ฟังนั้นเห็นภาพบรรยากาศ</p> 2025-01-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/909 การสร้างสรรค์บทเพลงจตุมหาภูตรูป : ปฐมภูมิความเป็นมนุษย์ 2024-09-26T07:55:08+07:00 สุวัฒน์ชัย บุญรอด sbrnm001@gmail.com ฉัตรติยา เกียรตินาวี sbrnm001@gmail.com <p>การสร้างสรรค์บทเพลงจตุมหาภูตรูป : ปฐมภูมิความเป็นมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานเพลงชุด จตุมหาภูตรูป: ปฐมภูมิความเป็นมนุษย์ และวิเคราะห์คุณค่าของบทเพลง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า แรงบันดาลใจ สังคีตลักษณ์และบันไดเสียง อัตราจังหวะและหน้าทับ การดำเนินทำนอง และการบรรจุเนื้อร้อง ทั้ง 6 บทเพลง เกริ่นเพลง เพลงดำเนินปฐพี เพลงยลวิถีธารา เพลงท่องนภาภิรมย์ เพลงระทมเปลวอัคคี เพลงน้อมชีวีถวายพุทธบูชา มีแนวทางในการประพันธ์เพลงตามแรงบันดาลใจที่มุ่งหวังให้ผู้ฟังเข้าใจและเกิดอารมณ์ตามลักษณะทางกายภาพของธาตุทั้ง 4 ประกอบไปด้วยสังคีตลักษณ์ทั้งหมด 3 แบบ คือแบบ A แบบ AB และแบบ ABCB บรรเลงอยู่ในอัตราจังหวะสองชั้น และชั้นเดียว โดยคำนึงถึงอารมณ์เพลงเป็นใหญ่ การดำเนินทำนองใช้การดำเนินทำนองรูปแบบการกรอและการเก็บ ตามเนื้อความที่ต้องการสื่อสาร และการบรรจุคำร้องใช้การประพันธ์คำร้องใหม่ทั้งหมดตามหลักการทางภาษาไทยและดุริยางคศิลป์ไทย</p> 2025-01-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/948 เพลงพื้นบ้านไทยกับแนวทางโคดาย: กรณีศึกษาการสอนเพลงเทพทอง เพื่อพัฒนาทักษะดนตรีและความเข้าใจทางวัฒนธรรม 2024-09-25T14:38:00+07:00 จันทนา คชประเสริฐ jantana6161@gmail.com <p style="font-weight: 400;">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดการประยุกต์ใช้แนวทางโคดาย ในการสอนเพลงพื้นบ้าน เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านโดยเน้นการขับร้องผ่านวรรณกรรมพื้นบ้าน ด้วยการนำกิจกรรมการเรียนรู้โน้ตเพลง ตามแนวทางของโคดาย มาปรับใช้กับการเลือกเพลงที่เหมาะสมต่อช่วงอายุและวัยของผู้เรียน แนวทางที่นำเสนอนี้เป็นการใช้เพลงพื้นบ้านไทยในกระบวนการสอนดนตรีตามแนวทางโคดาย ไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาทักษะทางดนตรีของผู้เรียนเท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างความรับรู้และความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2025-01-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/964 แนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับดนตรี วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2024-09-25T14:19:18+07:00 ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ hornbn@gmail.com ณัฐพร โกศัยกานนท์ hornbn@gmail.com สมภาศ สุขชนะ hornbn@gmail.com จิรัฐ มัธยมนันทน์ hornbn@gmail.com ธีรวัฒน์ รัตนประภาเมธีรัฐ hornbn@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับดนตรี ภายใต้หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2565 วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในรายวิชาดังกล่าว มีการจัดการเรียนการสอนโดยมีอาจารย์ผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีดนตรี และมีแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะการออกแบบและสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีดนตรีตามหลักการแนวคิดเชิงออกแบบที่มีขั้นตอนการออกแบบนวัตกรรม 5 ขั้นตอน</p> <p>ผู้สอนได้มีการออกแบบกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเรียนรู้ขั้นตอนการสร้างนวัตกรรมดนตรีตามหลักการแนวคิดเชิงออกแบบเพื่อให้เกิดผลงานทางนวัตกรรมดนตรีที่สามารถตอบโจทย์ต่อกลุ่มผู้ใช้งานในอาชีพดนตรีที่หลากหลายได้ จนนำไปสู่การร่างแบบของนวัตกรรมดนตรีจากการออกแบบโดยนักศึกษาตามความคิดสร้างสรรค์ เช่น สิ่งประดิษฐ์ที่ควรเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อตอบสนองต่อการใช้งานดนตรีและอาชีพดนตรีที่อาจเป็นไปได้ในอนาคตต่อไป</p> 2025-01-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/900 จอห์น เคจ 4'33" การปฏิวัติแนวคิดทางดนตรีและศิลปะผ่านความเงียบ 2024-09-26T07:58:21+07:00 วิชญ์ บุญรอด vichb@nu.ac.th <p>บทความนี้มุ่งศึกษาบทเพลง 4'33" ของ จอห์น เคจ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผลงานที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ดนตรีร่วมสมัย ผลงานชิ้นนี้ไม่เพียงแต่ท้าทายขนบธรรมเนียมของการแสดงดนตรีแบบดั้งเดิม แต่ยังเปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับธรรมชาติของเสียงและความเงียบ ผู้เขียนได้ทำการสำรวจประวัติความเป็นมา แนวคิดเบื้องหลัง และผลกระทบของ 4'33" ที่มีต่อวงการดนตรีและศิลปะร่วมสมัย ผ่านมุมมองทางสุนทรียศาสตร์ ปรัชญา และสังคมวิทยา ที่อิทธิพลของผลงานชิ้นนี้ ได้ส่งต่อศิลปินและนักแต่งเพลงในยุคหลัง โดยบทความนี้จะนำเสนอมุมมองที่ครอบคลุมและลึกซึ้งเกี่ยวกับความสำคัญของ 4'33" ในฐานะผลงานที่เปลี่ยนแปลงวงการดนตรีและศิลปะอย่างมีนัยสำคัญ</p> 2025-01-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/959 การวิเคราะห์แนวดนตรีมินิมอลลิสต์ในบทเพลง Clapping Music ของสตีฟ ไรซ์ ในยุคสมัยดนตรีศตวรรษที่ 20 2024-09-25T14:30:15+07:00 อานนท์ ผลพรวิทูร arnon.band1234@gmail.com มนสิการ เหล่าวานิช arnon_band1234@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ แนวดนตรีมินิมัลลิสต์ ผ่านบทเพลง Clapping Music ของ สตีฟ ไรช์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกสำคัญของกระแสดนตรีมินิมัลลิสต์ในศตวรรษที่ 20 การศึกษานี้เน้นการวิเคราะห์เชิงโครงสร้างของบทเพลง โดยเฉพาะการจำแนกรูปแบบจังหวะและการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของจังหวะระหว่างผู้บรรเลงทั้งสองคน กระบวนการวิเคราะห์ครอบคลุมถึงการสำรวจความเรียบง่ายและความซ้ำซ้อนของจังหวะในบทเพลง รวมทั้งการเชื่อมโยงกับลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของแนวดนตรีมินิมัลลิสต์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า Clapping Music เป็นบทเพลงที่มีอัตราจังหวะ 12/8 สำหรับผู้บรรเลงสองคน โดยมีรูปแบบจังหวะทั้งหมด 13 รูปแบบ ซึ่งดำเนินการซ้ำกันในแต่ละรอบ โดยผู้บรรเลงคนที่ 1 ใช้รูปแบบจังหวะเดียวกันตลอดทั้ง 13 รูปแบบ ขณะที่ผู้บรรเลงคนที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบจังหวะในแต่ละรอบ ความสัมพันธ์ระหว่างสองแนวทางนี้แสดงให้เห็นถึงความสมดุลและความแตกต่างที่เกิดขึ้นในบทเพลง การฝึกซ้อมที่มีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยการฝึกซ้อมร่วมกับเครื่องกำกับจังหวะและการทำความเข้าใจในจังหวะของแต่ละผู้บรรเลงอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้การบรรเลงมีความแม่นยำและสมบูรณ์</p> 2025-01-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/956 การอำนวยเพลงเพื่อการแสดงและบันทึกเสียงบทเพลง Mei Hua Step จาก “กุฎีจีนสวีท” เฟลคซิเบิลสกอร์สำหรับเครื่องลม 2024-09-25T14:36:15+07:00 นิพัต กาญจนะหุต nipatdh.k@ku.th <p>หลังจากที่คีตกวีได้ประพันธ์เพลง และสร้างเป็นสกอร์แล้วโน้ตดนตรีนั้นจําเป็นต้องมีกระบวนการในการแปลงจากโน้ตใน score ให้เป็นเสียงดนตรีตามจินตนาการของคีตกวี กระบวนการนี้ต้องการคนสองกลุ่ม กล่าวคือ วาทยกรและนักดนตรีทํางานในระหว่างการซ้อมเพื่อสร้างโน้ตให้เป็นเสียงดนตรี จากนั้นนำออกบรรเลงรอบปฐมทัศน์ก่อนเผยแพร่ต่อไป ในการเผยแพร่ผลงาน เรามักจะบันทึกผลงานสําหรับผู้ชมและใครก็ตามที่สนใจฟังผลงาน </p> <p>“กุฎีจีนสวีท” เฟลคซิเบิลสกอร์สำหรับเครื่องลม เป็นผลงานใหม่โดยคีตกวีหนุ่มสาวชาวไทยที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลมในประเทศไทย เนื่องจากวงดุริยางค์เครื่องลมบางวงในประเทศไทยยังมีเครื่องดนตรีไม่ครบวง "กุฎีจีน สวีท" เฟลคซิเบิลสกอร์สำหรับเครื่องลม ประพันธ์ขึ้นเพื่อเติมเต็มวงดุริยางค์เครื่องลมในประเทศไทยเพื่อให้มีบทประพันธ์ที่ดีและเหมาะสมกับการบรรเลง คีตกวีตัดสินใจที่จะมีการบันทึกผลงานที่ดีที่สุดเพื่อบันทึกและแสดงแนวคิดดั้งเดิมของพวกเขาให้เป็นต้นแบบ ในการบรรเลง โครงการบันทึกของชิ้นงานต้องทําให้สมบูรณ์แบบที่สุด การทำงานระหว่างคีตกวี วาทยกรนักดนตรี และวิศวกรเสียงจําเป็นต้องวางแผนอย่างรอบคอบตลอดกระบวนการบันทึกเสียง การดําเนินการบันทึก “กุฎีจีนสวีท” เฟลคซิเบิลสกอร์สำหรับเครื่องลมเป็นบทความในการบันทึกการตีความเบื้องต้นของวาทยกรร่วมกับผู้ประพันธ์เพลงเพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงการแสดงในอนาคต </p> 2025-01-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/932 การผสมผสานนวัตกรรมดนตรีอะคูสติก-อิเล็กทรอนิกส์สู่ยุคดิจิทัล 2024-09-25T14:40:01+07:00 ธนะรัชต์ อนุกูล tanarach@hotmail.com ประทีป เจตนากูล prateep.j@ku.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผสมผสานระหว่างดนตรีอะคูสติกและอิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิทัล ผ่านการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี เช่น VCV Rack และ Pulse Code Modulation (PCM) ในการแปลงสัญญาณเสียงจากอนาล็อกให้เป็นดิจิทัล เพื่อสร้างความกลมกลืนระหว่างเสียงอะคูสติกและดิจิทัล โดยกระบวนการนี้ประกอบด้วยขั้นตอนการแปลงพลังงานเสียงอะคูสติกเป็นสัญญาณไฟฟ้า (Voltage) จากนั้นผ่านกระบวนการ PCM เพื่อการจัดการและปรับแต่งเสียงผ่านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์พิเศษ ผลลัพธ์ที่คาดหวังของการศึกษานี้คือการเพิ่มขอบเขตการสร้างสรรค์ดนตรีและเพิ่มความหลากหลายของเสียงดนตรีดิจิทัล ในขณะเดียวกันพบความท้าทายในการรักษาคุณภาพเสียงและความเป็นธรรมชาติของเสียงอะคูสติกเมื่อต้องผ่านกระบวนการแปลงสัญญาณและการประมวลผลดิจิทัล</p> 2025-01-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/963 ปัจจัยที่ทำให้เพลงเป็นไวรัลบนโลกออนไลน์ กรณีศึกษา เพลง "เมร่อน" โดย เอแคลร์ จือปาก 2024-09-25T14:25:36+07:00 เมทยา ปรียานนท์ maythaya.p@rbru.ac.th เอกวิชญ์ เรืองจรูญ ekkawit.r@rbru.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เพลง "เมร่อน" กลายเป็นไวรัล โดยเน้นที่องค์ประกอบทางดนตรีและบทบาทของเทคโนโลยีในการสื่อสาร ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างเพลงที่เรียบง่าย การซ้ำทำนองและเนื้อเพลง ทำให้เกิดภาวะเพลงติดหูหรือเอียร์วอร์ม นอกจากนี้การใช้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ยูทูบ และติ๊กตอก ช่วยกระจายเพลงไปสู่ผู้ฟังจำนวนมาก การมีส่วนร่วมของอินฟลูเอนเซอร์รวมถึงการสร้างเนื้อหาของสื่อโดยผู้ใช้งานเอง ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เพลงนี้เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว บทความชี้ให้เห็นว่าความสำเร็จจนเป็นไวรัลของเพลง "เมร่อน" เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างองค์ประกอบทางดนตรีที่น่าสนใจและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสื่อใหม่ในการสื่อสาร เพื่อสร้างประโยชน์จากการเป็นไวรัลของเพลง ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการเป็นไวรัล โดย เพิ่มเรื่องของการรับรู้ (Awareness) จะช่วยให้ศิลปินและเพลงเป็นที่รู้จักในวงกว้าง สร้างแฟนคลับที่มีความผูกพันกับเพลงและศิลปินมากขึ้น สามารถเพิ่มยอดฟังและยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการแชร์ เปิดโอกาสทางธุรกิจอื่น ๆ เช่น ถูกนำไปใช้ในโฆษณา ภาพยนตร์ หรือซีรีส์ นอกจากนี้ยังอาจมีแบรนด์ต่าง ๆ สนใจที่จะร่วมมือกับศิลปินหรือนำเพลงไปใช้ในด้านการตลาด</p> 2025-01-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/1203 ส่วนหน้าของวารสาร 2025-01-16T11:52:03+07:00 วิทยาลัยการดนตรี musicjournal.bsru@gmail.com <p>ส่วนหน้าของวารสาร</p> 2025-01-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025