องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสิน การประกวดเดี่ยวดนตรีไทย

ผู้แต่ง

  • สุวิวรรธ์น ลิมปชัย และสุพัตรา วิไลลักษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพ, การประเมินและการตัดสิน, การประกวดเดี่ยวดนตรีไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดเดี่ยวดนตรีไทย โดยมีระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพที่ประยุกต์ใช้วิธีการวิจัยด้วยเทคนิค เดลฟาย และการวิจัยเชิงทดลองผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดเดี่ยวดนตรีไทย ประกอบด้วย (1) องค์ประกอบด้านทำนองเพลง ประกอบด้วย 7 ตัวบ่งชี้ (2) องค์ประกอบด้านจังหวะ ประกอบด้วย 8 ตัวบ่งชี้ (3) องค์ประกอบด้านทักษะและกลวิธี ประกอบด้วย 10 ตัวบ่งชี้ และ (4) องค์ประกอบด้านบุคลิกภาพ ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ โดยผลการตรวจสอบคุณภาพขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดเดี่ยวดนตรีไทย พบว่า เครื่องมือวัดและประเมินผลตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดเดี่ยวดนตรีไทย ซึ่งจัดทำเป็นแบบบันทึกค่าคะแนนตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดเดี่ยวดนตรีไทย มีผลการวิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของผู้ประเมินอยู่ในระดับปานกลาง(.426 – .689) มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัดและประเมินผลฯเท่ากับ .780 แสดงว่าเครื่องมือมีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับความเชื่อมั่นปานกลาง นอกจากนี้ มีผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาสอดคล้องกันในทุกรายการประเมิน และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2557). การวัดและการประเมินทักษะการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทนา คชประเสริฐ และกิตติภัณฑ์ ชิตเทพ. (2559). หลักเกณฑ์การตัดสินและการประเมินผลการบรรเลงในการประกวดดนตรีไทย. งานวิจัย คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา.

จันทนา คชประเสริฐ และกิตติภัณฑ์ ชิตเทพ. (2559). หลักเกณฑ์การตัดสินและการประเมินผลการบรรเลงในการประกวดดนตรีไทย. ครุศาสตร์สาร. 12(2), 51 – 72.

โชติกา ภาษีผล. (2558). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือในการวัดและประเมินผลทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โชติกา ภาษีผล, ณัฏญภรณ์ หลาวทอง และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2554). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประยุทธ ไทยธานี. (2546). การสร้างและพัฒนาแบบสอบความถนัดทางดนตรีไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต(จิตวิทยา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 9(1), 1-17.

เพชราวดี จงประดับเกียรติ. (2560). การพัฒนาเครื่องมือวัดทักษะพิสัย. เอกสารประกอบการเรียนรายวิชาการพัฒนาเครื่องมือวัดทักษะพิสัย. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

มนตรี ตราโมท. (2540). ดุริยางคศาสตร์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิฑเณศ พริ้นติ้งเซ็นเตอร์.

ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช และสิวะโชติ ศรีสุทธิยากร. (2561). การพัฒนาเครื่องมือประเมินและระบบคุณภาพการตัดสินผลการประกวดบรรเลงรวมวงมโหรี. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46(4), 300 - 317.

วัลยา ฉิมกูล. (2553). การพัฒนาเครื่องมือประเมินการปฏิบัติตามสภาพจริงฆ้องวงใหญ่ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 วิชาปี่พาทย์ ในวิทยาลัยนาฏศิลป สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวัดผลการศึกษา) มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุพัตรา วิไลลักษณ์. (2556). การจัดการศึกษาดนตรีไทยในอนาคต. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ดุริยางคศิลป์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2544). เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมิน. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย พุทธศักราช 2553. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

Macmillan, Thomas T. (1971). The Delphi Technique. The Annual Meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development. Ca : Monterey, May 3-5.

Scott, S. J. (2012). Rethinking the roles of Assessment in Music Education. The National Association for Music Education. 98(3), 31-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-06-2023