หลักฐานด้านการขับร้องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทยและที่ปรากฏในพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • อานนท์ กาญจนโพธิ์ นพคุณ สุดประเสริฐ และสุพรรณี เหลือบุญชู นักศึกษาหลักสูตรศิลปดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

หลักฐานการขับร้องเพลง, สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย, การขับร้องในพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์การขับร้องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทยและที่ปรากฏในพุทธศาสนา (2) สร้างฐานความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์การขับร้องเพลงไทยให้เป็นระบบ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า พบหลักฐานสำคัญด้านการขับร้องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย เป็นจารึกจำนวน 4 หลักฐาน คือ จารึกถ้ำนารายณ์ จ.สระบุรี, จารึกแผ่นทองแดง จ.สุพรรณบุรี, ศิลาจารึกศาลเจ้า จ.ลพบุรี และจารึกสด๊กก๊อกธม จ.สระแก้ว พบหลักฐานด้านประติมากรรม 1 หลักฐาน คือ รูปประติมากรรมปูนปั้นนักดนตรี 5 คน เมืองโบราณคูบัว จ.ราชบุรี และพบหลักฐานด้านการขับร้องที่ปรากฏในพุทธศาสนา โดยพบหลักฐานจำนวน 9 หลักฐาน ดังนี้ คัมภีร์ลิลิตวิสตระ มหาปรินิพพานสูตร มังคลัตถทีปนี คุตติลชาดก พระมหาปุริสลักษณะ มงคลสูตร สิปปสูตร คัมภีร์อรรถกถาพระธรรมบท (ภาค 6) และสีลขันธวรรค ผู้วิจัยได้รวบรวมสารัตถะข้อมูลเบื้องต้นประกอบกัน สามารถสะท้อนให้ทราบถึงลักษณะโดยรวมของการขับร้องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทยและที่ปรากฏในพุทธศาสนาอย่างชัดเจน

References

กลุ่มเผยแพร่ ฯ กรมศิลปากร. (2558). ภาพนักดนตรีสตรีสมัยทวารวดี. [ออนไลน์].ได้จาก: https://www.facebook.com/prfinearts/photos. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565].

บุญตา เขียนทองกุล. (2565). เพลงประกอบระบำทวารวดี. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.finearts.go.th/suphanburilibrary/view. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565].

พระไตรปิฎก เล่มที่ 10. (2559). มหาปรินิพพานสูตร. พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 2 [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ 95. [ออนไลน์] ได้จาก https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book. [สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2565].

พระไตรปิฎก เล่มที่ 11. (2546). พระมหาปุริสลักษณะ. หน้าที่ 132. [ออนไลน์] ได้จาก:http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=11&A=3182&Z. [สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2565].

พระไตรปิฎก เล่มที่ 27. (2546). คุตติลชาดก. พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 19 ฉบับมหาจุฬาฯ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 1 หน้าที่ 93. [ออนไลน์] ได้จาก: https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=64 [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565].

พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ 25. (2559). มงคลสูตร. ขุททกปาฐะ. หน้าที่ 6-8. [ออนไลน์] ได้จาก: https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=5. [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565]

พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ 25. (2559). สิปปสูตร. พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 17 [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หน้าที่ 6-8. [ออนไลน์] ได้จาก: https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=2384&Z=2422 [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565]

พระไตรปิฎกเล่มที่ 9. (2564). ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1.[ออนไลน์] ได้จาก: https://84000.org/tipitaka/read/?nhindex09. [สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2565].

พระสิริมังคลาจารย์. (2564). มังคลตถีปณี เรื่องเพลงขับที่เป็นสุภาษิตอาจให้บรรลุคุณพิเศษ. [ออนไลน์] ได้จาก: http://www.thammasatu.net

/balee/mkthai.php?Page=-1&par. [สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2564].

มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2559). ทีฆนิกาย. พระไตรปิฎก เล่มที่ 10 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 2 [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2550). จารึกถ้ำนารายณ์. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/279. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565].

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2550). จารึกแผ่นทองแดง. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/279. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 มกราคม 2565]

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2550). จารึกศาลเจ้า. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/339 [สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565].

สมเด็จกรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฎ์. (2472). ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาค 2 จารึกกรุงทวารวดี เมืองละโว้ เมืองประเทศราชขึ้นแก่กรุงศรีวิชัย. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรธนากร.

แสง มนวิทูร. (2512). คัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร.

สมภาร พรมทา. (24 ตุลาคม 2565). สัมภาษณ์.

Peter Wong. (20 ตุลาคม 2565). สัมภาษณ์.

Yael Gal (Karma Yonten Lhamo). (27 ตุลาคม 2565). สัมภาษณ์.

หอสมุดแห่งชาติ. (2529). จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 : อักษรปัลลวะหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่12-14. กรุงเทพมหานคร: หอสมุดแห่งชาติ.

อรรถกถา พระธรรมบท (ภาค6). (2564). พุทธวรรควรรณนา เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตต์. [ออนไลน์]. หน้าที่ 91 ได้จาก: http://www.palidict.com/dl/DP_THml6.pdf. [สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2565].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-06-2023