การประพันธ์เพลงชุดปลากัดป่ามหาชัย

ผู้แต่ง

  • ศุภรัสมิ์ ทองทา นิสิตศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ฉัตรติยา เกียรตินาวี อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ดร. สาขาวิชาดนตรีไทย ภาควิชาดนตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การประพันธ์เพลง, ปลากัดป่ามหาชัย, เพลงชุด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางด้านดุริยางคศิลป์ไทย  เพลงชุดปลากัดป่ามหาชัย และกระบวนการในการประพันธ์เพลง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาข้อมูลเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านดุริยางค์ศิลป์ไทยและผู้ทรงคุณวุฒิด้านปลากัดป่ามหาชัย นำเสนอผลการวิจัยด้วยการสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ไทย

          การประพันธ์เพลงชุดปลากัดป่ามหาชัย เป็นการประพันธ์เพลงโดยนำแนวคิดจากประพันธ์เพลงและผลงานศิลปะแขนงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปลากัดมาเป็นแรงบันดาลและแนวคิดในการประพันธ์เพลงไทย นำข้อมูลเกี่ยวกับปลากัดป่ามหาชัย และพื้นที่ที่ปลากัดป่ามหาชัยอาศัยอยู่มาประพันธ์ขึ้นมาให้เป็นบทเพลงใหม่ โดยผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ขึ้นมาทั้งหมด 6 เพลง คือ 1) เพลงปลากัดป่า 2) เพลงถิ่นอาศัย 3) เพลงเร้นหลบภัย 4) มหาชัยมัสยา 5) เพลงลีลาชั้นเชิง และ 6) เพลงปลากัดสยาม

ผลการวิจัยพบว่า การประพันธ์เพลงชุดปลากัดป่ามหาชัย เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวของปลากัดป่ามหาชัยตั้งแต่ถิ่นที่อยู่อาศัยลักษณะที่โดดเด่นเฉพาะของปลาและเรื่องราวการต่อสู้ของปลากัดป่ามหาชัย ซึ่งท่วงทำนองของแต่ละเพลงจะมีทำนองที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปแบบการบรรเลงจะเป็นการบรรเลงโดยวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ผู้ประพันธ์ต้องการที่จะสื่อถึงสิ่งมีชีวิติที่อาศัยอยู่ในน้ำ ซึ่งวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบด้วยเครื่องดนตรีเสียงต่ำ มีสำนวนนุ่มนวล น่าฟัง เพิ่มอุปกรณ์พิเศษคือ โหลปลากัดที่ใช้เลียนเสียงการฮุบอากาศของปลาและเสียงที่ฟังแล้วให้ความรู้สึกถึงน้ำเพื่อเล่าเรื่องราวของปลากัดป่ามหาชัยได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ส. ก. ก. (2559). มาตรฐานปลากัดสวยงามในประเทศไทย (ฉบับปรับปรุง 2559). นนทบุรี: วนิดาการพิมพ์.

เจนจบ ยิ่งสุมล. (2564). ปลากัดไทย มัจฉานักสู้ผู้ล้ำค่าสง่างาม. [ออนไลน์] ได้จาก: https://ngthai.com/animals/33006/thai-betta-fish/. [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564].

พิชิต ชัยเสรี. (2556). การประพันธ์เพลงไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภิญโญ พานิชพันธ์. (2555). “เบตตามหาชัยเอนซิส” ปลากัดพันธุ์ใหม่สายพันธุ์ไทยแท้ ๆ. [ออนไลน์] ได้จาก: https://mgronline.com/science/detail/ 9550000141325. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-07-2024