การสร้างเครื่องดนตรีเสมือนดนตรีพื้นบ้านล้านนาด้วยโปรแกรม HISE
คำสำคัญ:
ดนตรีพื้นบ้านล้านนา, เสียงจำลอง, เครื่องดนตรีเสมือนบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกเสียงเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา โดยใช้ทักษะองค์ความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์ทางด้านดนตรีของผู้ศึกษาในการบันทึกเสียง เพื่อนำมาใช้ผลิตเครื่องดนตรีเสมือนด้วยโปรแกรม HISE
ผลการศึกษาพบว่า สามารถรวบรวมข้อมูลเสียงได้อย่างครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ เสียงจำลองที่เลียนเสียงได้ใกล้เคียงเครื่องดนตรีต้นแบบมากที่สุด คือ เครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา ประเภทเครื่องสี ได้แก่ สะล้อหลวง เครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา ประเภทเครื่องดีด ได้แก่ ซึงกลางและพิณเปี๊ยะ และเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา ประเภทเครื่องเป่า ได้แก่ ขลุ่ยเมือง โดยผลิตออกมาในรูปแบบของเครื่องดนตรีเสมือน
เครื่องดนตรีเสมือนสามารถทดแทนการบันทึกเสียงด้วยนักดนตรีจริงได้ ทำให้กระบวนการบันทึกเสียงสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้ประหยัดงบประมาณ ในการจ้างนักดนตรี ลดความเสี่ยงจากคุณภาพการบรรเลงของนักดนตรี คุณภาพของเสียงเครื่องดนตรี สามารถทดลองผสมเสียงต่าง ๆ ได้ไม่จำกัดความคิดสร้างสรรค์ และสามารถผลิตเสียงซ้ำหรือแก้ไขเสียงได้อย่างอิสระ
References
กฤศการ์ ตันกฤตวงศ์. (2023). Sampling คืออะไร ทำไมถึงช่วยประหยัดเงินในการทำเพลง?. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://verycatsound.com/blog-sampling/. [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567].
ดนตรีล้านนา – ดนตรีพื้นเมืองล้านนา. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.openbase.in.th/node/6557. [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567].
ธีรพงษ์ ฉลาด. (2551). ระเบียบวิธีการบรรเลงพิณเปี๊ยะ 2 สาย ของครูรักเกียรติ ปัญญายศ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิสุทธิ์ การบุญ และคณะ. (2567). การจำลองเสียงเครื่องดนตรีไทยเพื่อการประพันธ์เพลงร่วมสมัย : กรณีศึกษาบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 18(1), 5-15.
มานพ ธรรมดุลพินิจ. (2567, 6 กุมภาพันธ์). ล้านนาการดนตรี. สัมภาษณ์.
มารุต นพรัตน์. (2561). เสียงจำลองของดนตรีไทย : กรณีศึกษาดนตรีไทยสี่ภาค. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อดิวัชร์ พนาพงศ์ไพศาล. (2019). การศึกษาทำนองของเพลงพื้นเมืองล้านนาที่เหมาะสมต่อการสร้างสรรค์บทเพลงสำหรับฝึกพื้นฐานของวงดุริยางค์เครื่องลมในจังหวัดเชียงราย. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ. 1(2), 1-16.
อเนก นาวิกมูล. (2550). เพลงพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.