การสร้างสรรค์ละครเพลงพหุวัฒนธรรมอิงประวัติศาสตร์เมืองเก่าสงขลา เพื่อสนับสนุนและเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • ธีรวุฒิ แก้วมาก อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย ชื่อ การสร้างสรรค์ละครเพลงพหุวัฒนธรรมอิงประวัติศาสตร์เมืองเก่าสงขลาเพื่อสนับสนุนและเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ละครเพลงจากข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต และความเชื่อของชุมชนเมืองเก่าสงขลา

กระบวนการสร้างสรรค์ละครเพลงสำหรับเมืองเก่าสงขลาอยู่บนรากฐานของความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้คนในเมืองเก่าสงขลา ผู้วิจัยเล่าเรื่องราวของละครเพลงให้สะท้อนความเป็นพหุวัฒนธรรม พุทธ จีน และมุสลิม โดยใช้นางเงือกเป็นตัวละครหลักของเรื่อง และเล่าเรื่องราวในลักษณะของคอนเซปมิวสิคัล ละครเพลงสำหรับเมืองเก่าสงขลา เกิดขึ้นภายใต้ชื่อเรื่องหลักว่า “The Stories of Singora Mermaids” ซึ่งแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ตอนย่อย คือ จีน่า และ อุ๊ยเสี่ยวป้อกับหมู่บ้านเก้าห้อง ทั้งสองเรื่องราวมีลักษณะของดนตรีที่แตกต่างกันบนพื้นฐานของวัฒนธรรมที่แตกต่าง มีการนำเอาลักษณะเพลงแบบดีสนีย์ และดนตรีจีนมาใช้ในการประพันธ์ วงดนตรีที่ใช้บรรเลงมีลักษณะเป็นการรวมวงเฉพาะกิจ เน้นไปที่วงเครื่องลมทองเหลือง ในบทละครมีเนื้อหานำเสนออาหารในพื้นที่ พหุวัฒนธรรม วิถีชีวิต ปัญหาในสังคม ประวัติศาสตร์ และความเป็นเมืองท่าของเมืองเก่าสงขลา

References

Asaexpo. (2562). 400 ปีแห่งความหลากหลาย ดันเมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก. [ออนไลน์] ได้จาก: https://www.asaexpo.org/post/songkhla-heritage-city. [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2565].

ธีรวุฒิ แก้วมาก. (2560). เพลงและดนตรีในละครเพลง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล.

มรกต เหรียญทอง. (2554). กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจละครเพลง บริษัท ซีเนริโอ จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์สื่อสารการตลาด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ยุทธนา บุญอาชาทอง. (2559). กระบวนการสร้างบทละครเวทีสมัยใหม่. กรุงเทพ :มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-06-2023