การใช้สื่อเกมเพื่อการเรียนรู้ทฤษฎีดนตรีและโสตประสาทด้วยกระบวนการความคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักศึกษาดนตรีในระดับอุดมศึกษา
คำสำคัญ:
สื่อเกม, ทฤษฎีดนตรี, โสตประสาท, ความคิดเชิงออกแบบบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการใช้สื่อเกมเพื่อการเรียนรู้ทฤษฎีดนตรีและโสตประสาท โดยการนำสื่อเกมมาใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ และการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อเกม ตามกระบวนการความคิดเชิงออกแบบ และนำไปใช้ในการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาดนตรีในระดับอุดมศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้เนื้อหาและทักษะด้านทฤษฎีดนตรีตะวันตก เช่น บันไดเสียง ขั้นคู่และโครงสร้างทรัยแอด รวมถึงการพัฒนาโสตประสาทจากการใช้สื่อเกมเพื่อกระตุ้นให้เกิดทักษะการฟังและร้องในด้านโสตประสาทสำหรับนักศึกษาดนตรี
กระบวนการความคิดเชิงออกแบบมีทั้งหมด 5 กระบวนการ ได้แก่ 1) การเข้าใจปัญหา 2) การกำหนดปัญหาให้ชัดเจน 3) การระดมความคิด 4) การสร้างต้นแบบที่เลือกนำมาใช้ และ 5) การทดสอบสื่อเกม จากการผ่านกระบวนการความคิดเชิงออกแบบทั้ง 5 กระบวนการดังกล่าว จึงได้เกิดผลผลิตสื่อเกมที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความรู้และทักษะทางทฤษฎีดนตรีและโสตประสาทของนักศึกษาดนตรีในระดับอุดมศึกษาได้ ทั้งนำมาเป็นกิจกรรมในชั้นเรียน หรือกิจกรรมเสริมความรู้และทักษะนอกห้องเรียนได้
References
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักศึกษาเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี : พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.
ธัญญรัศม์ ธนวัติอภิชารติโชติ. (2566). การจัดการอารมณ์ของวัยรุ่น. วารสารมหาปชาบดีเถรีปริทรรศน์. 1(1), 35-43.
นภาภรณ์ เจียมทอง และเปรมพล วิบูลย์เจริญสุข. (2566). การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ความคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(4), 572-586.
ปริศนา มัชฌิมา. (2565). การสอนแบบออนไลน์กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 34(123), 13-22
อรุณลักษณ์ รัตนพันธุ์, บุณยกฤต รัตนพันธุ์ และรุ่งรุจี ศรีดาเดช. (2565). การใช้บอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของบรรณารักษ์สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารพิกุล, 20(2), 363-385.
Ahmad Syahid Zaakaria, Billy Muhamad Iqbal and Danu Hadi Syaifullah.
(2019). Designing Serious Game as Learning Media of Design Thinking Mindset. Journal of Games, Game Art and Gamification. 4(2), 53-60.
Karta Jayadi and Arnidah, (2018). Traditional Games as Media to Improve Students’ Social Interaction in Elementary Schools in Makassar, Sout Sulawesi. Proceeding of the 1st International Conference on Advanced Multidisciplinary Research (ICAMR 2018). at the Four Points by Sheraton Hotel, Makassar, Indonesia. 134-137.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.