การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในกิจกรรมวงโยธวาทิต

ผู้แต่ง

  • เพียวพันธ์ เทวงษ์รักษา นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดนีญา อุทัยสุข อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน  วงโยธวาทิตในด้านลักษณะการตอบสนองต่อวิธีการสอนของผู้ควบคุมวง โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแนวทางการดำเนินการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนของผู้ควบคุมวง โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักเรียนวงโยธวาทิตจำนวน 40 คน และผู้ควบคุมวง 3 คน การวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ตรวจสอบข้อมูลสามเส้า และนำเสนอเป็นข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้ควบคุมวง ประกอบด้วยลักษณะการตอบสนองของนักเรียนชัดเจน 4 ระดับ ได้แก่ 1) ความตั้งใจ (Attention) 2) ความเพ่งพินิจ (Focus) 3) ความกังวล (Concern) และ 4) ความวิตกกังวล (Anxiety)

References

ชาย โพธิสิตา. (2564). ศาสตร์และศิลป์: การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตินัย พึ่งยา. (2559). แนวทางการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพเสียงรวมวงของวงซิมโฟนิคแบนด์นักเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา: หลักการและสาระสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ. (2555). การฝึกซ้อมวงซิมโฟนิคแบบระดับมัธยมศึกษา เพื่อการประกวด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทิศนา แขมมณี. (2555). 14 วิธีการสอนสำหรับครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภิรมย์ กมลรัตนกุลม และวิโรจน์ เจียมจรัสรังสี. (2549). แนวคิดใหม่เกี่ยวกับ “สุขภาวะ” และ “การสร้างเสริมสุขภาพ” Chula Med Journal. 50(5), 291-300.

สาทิตย์ สายสนิท. (2560). การบริหารจัดการวงโยธวาทิตโรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. การประชุมวิชาการระดับชาติการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ ประจำปี 2560.

-11. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://grad.bsru.ac.th/paper/filedata/ครุศาสตร์/การบริหารการศึกษา/43บทความวิจัยเผยแพร่%20การบริการ จัดการวงโยธวาทิต%20%28นายสาทิตย์%20%20สายสนิท%29.doc [สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2566].

สุภางค์ จันทวานิช. (2565). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 26. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัชรา เอิบสุขสิริ. (2564). จิตวิทยาสำหรับครู. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bloom, B. S., Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of Education Objectives, Handbook I: The Cognitive Domain. New York: David McKay Co Inc.

Bodergaven, P. V., Wilson, H. R. (1970). The School Music Conductor. New York : Schmitt, Hall, & McCreary Company.

Simpson, E. (1966). The Classification of Education Objectives. (Report No.OE5-85-104). Washington, DC: United States Office of Education.

Skinner, B. F. (1984). The evolution of behavior. Journal of the Experimental Analysis of Behavior. 41(2), 217-221.

Strongman, K. T. (1995). Theories of Anxiety. New Zealand Journal of Psychology. 24(2), 4-10.

Weinstein, C. E., Palmer, D., & Schulte, A. C. (1987). Learning and Study Strategies Inventory (LASSI). Clearwater, FL: H & H Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-03-2024