การวิเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการบรรเลงดับเบิลเบส ยุคสมัยบีบ็อป โดย ออสการ์ เพตติฟอร์ดและพอล แชมเบอร์ส

ผู้แต่ง

  • กฤษณพงศ์ จุลกะนาค นักศึกษาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ยุคสมัยบีบ็อบ / เทคนิคที่นิยมใช้ในการบรรเลงดับเบิลเบส

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการบรรเลงดับเบิลเบสในยุคสมัยบีบ็อป โดย ออสการ์ เพตติฟอร์ดและพอล แชมเบอร์สนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึง พัฒนาการของเทคนิคที่ใช้ในการบรรเลงดับเบิลเบสในยุคบีบ็อป และศึกษาเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการบรรเลงดับเบิลเบสเพื่อประกอบคีตปฏิภาณ และเทคนิคที่ส่งผลต่อการบรรเลงการแสดงคีตปฏิภาณในยุคสมัยบีบ็อป  โดยผู้วิจัยได้ทำการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัย หนังสือ เอกสาร บทความ และแหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต จากนั้นได้ดำเนินการวิจัย โดยแบ่งขั้นตอนออกเป็น  3 ส่วน คือ 1.การรวบรวมข้อมูล 2.การตรวจสอบแหล่งข้อมูล 3.แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ในยุคสมัยบีบ็อปบทบาทและหน้าที่หลักของนักดับเบิลเบส คือการบรรเลงเพื่อให้ผู้ที่แสดงคีตปฏิภาณและผู้ร่วมบรรเลงสามารถรับรู้ถึงทางเดินคอร์ดที่กำลังดำเนินอยู่ หรือบรรเลงเพื่อสนับสนุนผู้แสดงคีตปฏิภาณให้สามารถแสดงคีตปฏิภาณได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หรือการบรรเลงทางเดินคอร์ดที่แตกต่างออกไปจากทางเดินคอร์ดปกติ เพื่อให้ผู้แสดงคีตปฏิภาณสามารถได้รับรู้ทางเดินคอร์ดที่เปลี่ยนไป ซึ่งส่งผลให้ผู้แสดงคีตปฏิภาณสามารถมีตัวเลือกในการบรรเลงเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งหน้าที่อีกอย่างของนักดับเบิลเบสคือการควบคุมจังหวะของวงผ่านรูปแบบวิธีการบรรเลงต่าง ๆ เพื่อทำให้บทเพลงมีความสนใจและมีเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่านักดับเบิลเบสภายในวงดนตรีแจ๊สยุคบีบ็อปทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ที่แสดงคีตปฏิภาณ ผู้บรรเลงเครื่องคอร์ด และผู้บรรเลงเครื่องกำกับจังหวะ ซึ่งทำให้นักดับเบิลเบสภายในวงดนตรีแจ๊สยุคบีบ็อปจึงมีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญเป็นอย่างมากภายในวง

ผลการศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการบรรเลงและรูปแบบแนวความคิดของ ออสการ์ เพตติฟอร์ดและพอล แชมเบอร์ส ซึ่งเป็นนักดับเบิลเบสที่มีเอกลักษณ์ในการบรรเลงและเป็นนักดับเบิลเบสที่เป็นอย่างและส่งผลต่อนักดับเบิลเบสท่านอื่น ๆ ในยุคสมัยบีบ็อป พบว่า นักดับเบิลเบสทั้ง 2 ท่านนี้มีรูปแบบในการเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการบรรเลงที่คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่นำมาบรรเลงในคอร์ด การเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่นำมาแสดงคีตปฏิภาณ หรือเทคนิค   บางช่วงในบทเพลงที่ ออสการ์ เพตติฟอร์ด และ พอล แชมเบอร์ส ใช้ในการบรรเลงนั้นมีรูปแบบแนวทางที่คล้ายคลึงกัน แต่อาจจะมีการเลือกใช้เทคนิคแต่ละเทคนิคแตกต่างกันตามแต่ละบริบทและต่างสถานการณ์ รวมไปถึงรูปแบบแนวความคิดในการบรรเลงของ ออสการ์ เพตติฟอร์ด และ พอล แชมเบอร์ส ยังมีความใกล้เคียงกัน

References

ธีรัช เลาห์วีระพานิช. (2562). ทฤษฎีดนตรีแจ๊สและการอิมโพรไวส์ = Jazz Theory and Improvisation. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ พัชรดาว์.

ธีรัช เลาห์วีระพานิช. (2563). ศิลปะการอิมโพรไวส์ดนตรีแจ๊ส = The art of jazz improvisation. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พัชรดาว์.

ธีรัช เลาห์วีระพานิช. (2564). แจ๊ส : สุนทรียภาพแห่งเสียงเสรี (Jazz Styles and Analysis). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : พัชรดาว์.

ธีรัช เลาห์วีระพานิช. (2565). ทฤษฎีดนตรีแจ๊สและการอิมโพรไวส์ 2 = Jazz Theory and Improvisation 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พัชรดาว์.

ศักดิ์ศรี วงศ์ธราดล. (2555). ทฤษฎีดนตรีแจ๊ส เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : วงศ์สว่างลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง.

ศิริวัฒน์ เปลี่ยนสันเทียะ. (2560). การวิเคราะห์การเดินเบสของ เรย์ บราวน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Henry, M. & Keith, W. (2009). Essential Jazz : The First 100 Years. 2nd ed. Boston : Schirmer Cengage Learning.

John, G. (2002). The Jazz Bass Book-Technique and Tradition. San Francisco : Backbeat Book San Francisco.

Ron, C. (1998). Ron Carter : Building Jazz Bass Lines. Milwaukee : Hal leonard Corporation International Copyright Secured All Rights Reserved.

Tanarat Chaichana. (2016). A Fundamental Approach to a Walking Bass Line in Jazz Style. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9(5), 1906 – 3431.

Thomas, O. (1995). Bebop : the music and its players. New York : Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-03-2024