การประพันธ์ทางเดี่ยวขิม เพลงพญาครวญ สามชั้น

ผู้แต่ง

  • สุวิวรรธ์น ลิมปชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจำภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ตั้งปณิธาน อารีย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการประพันธ์ทางเดี่ยวขิม เพลงพญาครวญ สามชั้นโดยเรียบเรียงขึ้นในลักษณะเพลงเดี่ยว เพื่ออวดฝีมือของผู้บรรเลง ทั้งในเรื่องของความจำ ไหวพริบปฏิภาณ และเพื่อแสดงสำนวนกลอนในบทเพลง ทั้งนี้ผู้ประพันธ์ได้วางลำดับการประพันธ์โดยศึกษาจากทำนองหลัก พิจารณาอารมณ์เพลงจากท่วงทำนองและบทร้อง สำเนียงของเพลง ทำนองสารัตถะ ลักษณะพื้นฐาน                 การบรรเลงของเครื่องดนตรี การใช้หน้าทับ จังหวะฉิ่ง ลีลาที่เกี่ยวข้อง พิจารณากลอนเพลงที่ใช้โดยคัดเลือกทำนองให้เหมาะสมกับวิธีการบรรเลง ตลอดจนคัดลือกทำนองที่สลักสลวย ความกลมกลืนของท่วงทำนองในลักษณะสัมผัสใน และสัมผัสนอก พิจารณาลูกตกสำคัญ และลูกตกรองจากจังหวะฉิ่งในแต่ละช่วง โดยเพลงพญาครวญ สามชั้น มีทั้งสิ้น 3 บันไดเสียง ได้แก่ บันไดเสียงเพียงออล่าง บันไดเสียงเพียงออบน และบันไดเสียงทางนอก ใช้หน้าทับปรบไก่ สามชั้น มี 6 จังหวะหน้าทับ จัดได้ว่าเป็นเพลงที่กลุ่มเพลงเดี่ยวขั้นสูง เป็นเพลงที่มีอานุภาพในการสร้างความรู้สึกสะเทือนอารมณ์แก่ผู้ฟัง ผู้ประพันธ์เลือกวิธีการประพันธ์ทางเดี่ยวในรูปแบบขนบภักดิ์สบสมัย ยึดตามขนบธรรมเนียม การพิจารณาทำนองหลักและลูกตก รวมถึงอัตลักษณ์การบรรเลงขิมของครูมนตรี ตราโมท ทางขิมนี้เป็นทางที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น การใช้กลวิธีสะบัด สะเดาะ ขยี้ การตีสลับช่วงเสียง มุ่งหวังให้เป็นเพลงพญาครวญ ที่สร้างสุนทรียะและความสำเริงแก่ผู้รับฟังได้อย่างสมบูรณ์

References

มนตรี ตราโมท. (2540). ดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาการ. กรุงเทพฯ: มติชน.

สงัด ภูเขาทอง. (2532). การดนตรีและทางเข้าสู่ดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

อัศนีย์ เปลี่ยนศรี. (2555). พินิจดนตรีไทย (ชุดสารัตถะดนตรีไทย). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พิชิต ชัยเสรี. (2557). การประพันธ์เพลงไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี ตราโมท และ วิเชียร กุลตัณฑ์. (2523). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. ในอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนทรงสุขภาพ (นายแพทย์ทรง บุณยะรัตเวช) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยเขษม.

สมชาย เอี่ยมบางยูง. (2554). ขิมในระบบการศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ดนตรี) มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณรงค์ชัย ปิฏกรัชต์. (2557). สารานุกรมเพลงไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุวิวรรธ์น ลิมปชัย. (2561). การสร้างสรรค์ทางเดี่ยวขิมเพลงพญาโศก สามชั้น ตามรูปแบบการบรรเลงของครูมนตรี ตราโมท (A Creative work, Thang Diew Khim in Phayasok Song A case study of Montri Tramod). งบประมาณมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-03-2024