วงมโหรีพื้นบ้านอีสาน: กรณีศึกษาวงบ้านเตย อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ บุตรทองทิม อาจารย์สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของวงมโหรีพื้นบ้านอีสาน 2) ศึกษาอัตลักษณ์ของวงมโหรีพื้นบ้านอีสาน 3) ศึกษาบทบาทต่อชุมชนของวงมโหรีพื้นบ้านอีสาน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างการวิจัยใช้แบบเจาะจง ได้แก่ ผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงมโหรีพื้นบ้านอีสาน มีขอบเขตพื้นที่การวิจัย คือ บ้านเตย ตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่วิจัยด้วยการสังเกตและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลต่าง ๆ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ อภิปรายและนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบการพรรณนาบรรยาย

ผลการวิจัยพบว่า วงมโหรีพื้นบ้านอีสานบ้านเตยก่อตั้งโดยครูอ้วย พิศเพ็ง              โดยในปี พ.ศ. 2500 ครูอ้วยได้เดินทางจากจังหวัดบุรีรัมย์ไปศึกษาปี่พาทย์จากสำนักนายลิ ศรีสังข์ ในจังหวัดนครราชสีมา และได้สนใจฝึกมโหรีพื้นบ้านโคราชเพิ่มเติมด้วย ถึงปี พ.ศ. 2505 ได้มาตั้งภูมิลำเนาที่บ้านเตยและก่อตั้งวงขึ้น ในด้านสภาพวงดนตรี มีการถ่ายทอดความรู้ตามกลุ่มอายุของนักดนตรีรวม 3 รุ่น แต่ในปัจจุบันการสืบทอดที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นลดลง เนื่องจากความสูงวัยของนักดนตรี และความนิยมการแสดงอื่น ๆ มาแทนที่ ด้านอัตลักษณ์เพลงวงมโหรีที่โดดเด่น เช่น เพลงเมียน้อย - เมียหลวง ซึ่งเป็นเพลงที่นิยมบรรเลงสลับกันไป มีปี่ขนาดใหญ่เรียกว่าปี่ฆ้อง และปี่ขนาดเล็กเรียกว่าปี่ตัด รวมถึงซอที่มีหลายขนาด ด้านบทบาทหน้าที่ของวงมโหรีพื้นบ้านอีสาน ซึ่งคนในชุมชนยังให้การสนับสนุนวงมโหรีพื้นบ้านในท้องถิ่นของตนในงานประเพณีพิธีกรรมท้องถิ่น โดยครูอ้วยนั้นยังเป็นผู้นำวัฒนธรรมของชุมชนที่ผู้คนให้ความเคารพ และให้การสนับสนุนวงมโหรีพื้นบ้านในท้องถิ่นของตนเองเป็นอย่างดี

References

ขำคม พรประสิทธิ์. (2550). วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทย ภาคอีสานใต้และภาคกลาง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, :ม.ป.ท.

เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2529). ดนตรีและการล่ะเล่นพื้นบ้านอีสาน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2538). วิธีการศึกษาดนตรีพื้นบ้าน. ดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 26. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชนาวัฒน์ จอนจอหอ. (2562). กลวิธีการบรรเลงซอในวงมโหรีโคราช: กรณีศึกษาวงพนมพร จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 13(1), 63-72.

ธวัช วิวัฒนปฐพี. (2538). มโหรีพื้นบ้านอีสาน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญานิพนธ์ ศป.ม. (ไทยคดีศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิกร ชมภูเขา. (2565). นักดนตรีวงมโหรีบ้านจานเตย, สัมภาษณ์.

เบญจทิพย์ เพชรสม. (2551). การศึกษาวงมโหรีพื้นบ้านอีสาน จังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญานิพนธ์ ศป.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิชชาณัฐ ตู้จินดา. (2556). การศึกษาการถ่ายทอดความรู้ วงมโหรีอีสานบ้านนายเผย ศรีสวาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม. ปีที่ 13(2558), 102-111

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

อ้วย พิศเพ็ง. (2565). นักดนตรีวงมโหรีบ้านจานเตย, สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-03-2024