ผลของการใช้แบบฝึกขลุ่ยรีคอร์เดอร์เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)

ผู้แต่ง

  • กิติศักดิ์ เสียงดี อาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)
  • อัญชลี บุญจันทึก อาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)

คำสำคัญ:

ขลุ่ยรีคอร์เดอร์, แบบฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์, ทักษะการปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research) รูปแบบ One Group Pretest Posttest Design มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการใช้แบบฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่มีต่อทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรี ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) จำนวน 45 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องขลุ่ยรีคอร์เดอร์ แบบประเมินทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแบบฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) ทักษะการปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุม

สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จเร สำอางค์. (2553). ดนตรีเล่น สมองแล่น. กรุงเทพ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ฐิติ วิชัยคำ และจามจุรี พลอยวงศ์. (2564). การศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรี ขลุ่ยรีคอร์เดอร์วิชาดนตรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารรามคำแหง ฉบับบัณฑิตวิทยาลัย. 4(2), 1-13.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีสำหรับเด็กเล็ก.[ออนไลน์]. ได้จาก https://www.facebook.com/musicorfffun/photos/pb.1415343558493867.-2207520000.1474224602./1425031654191724/?type=3 [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2565].

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2566). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตระกูลเพชร แก้วพิลึก วิวัฒน์ เพชรศรี ชญานิธิ แบรดี้ และศิริพร อยู่ประเสริฐ. (2565). ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร. 5(2), 103-110.

พัฒน์ณรี ลีวิวัฒนโชต. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์โดยใช้ชุดการสอนมัลติมีเดีย เรื่องรีคอร์เดอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เพลินพิศ กิ่งชา. (2565). การพัฒนาการเรียนรู้โน้ตดนตรีสากลเบื้อต้นโดยใช้แบบฝึกทักษะเมโลเดียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. 1(1), 8-9.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายประถม). (2560). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายประถม). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รามคำแหง.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

อาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง. (2563). พื้นฐานการจัดการเรียนรู้ดนตรี. กรุงเทพ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Almighty C. Tabuena. (2021). The Effect of Research-based Music Classroom Assessment Techniques on the Students' Performance in Flute Recorder Education. Universal Journal of Educational Research. 9(1), 145-153.

Joshua Floyd. (2019). The effect of primary instrument instruction on music aquistion. Arizona : Faculty of the Department of educational psychology, The university of Arizona.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-03-2024