แนวทางปริวรรตเพลงไทยในรูปแบบโน้ตสากล ของครูพิมพ์ พวงนาค
คำสำคัญ:
โน้ตเพลงต้นฉบับ, ไฟล์เอกสารดิจิทัล, ครูพิมพ์ พวงนาคบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้เห็นการพัฒนาโน้ตเพลง รูปแบบเอกสารโน้ตเพลงไทยต้นฉบับบันทึกโดยลายมือครูพิมพ์ พวงนาค ให้อยู่รูปแบบไฟล์เอกสารดิจิทัล วิธีการแยกเครื่องดนตรี และวิธีการจัดเก็บเพื่อแยกหมวดหมู่ต่างๆ ตามรูปแบบประเภทของบทเพลงนั้น ๆ
ครูพิมพ์ พวงนาค เป็นบุคคลสำคัญในวงการดนตรีไทยและสากลที่มีความสามารถในการเขียนและอ่านโน้ตไทยและสากลได้ทันที ครูนั้นใช้วิธีการเขียนจดบันทึกโน้ตเพลงโดยการฟัง ในบั้นปลายชีวิตครูนั้นได้หันมาสนใจในการบันทึกโน้ตเพลงไทยมากขึ้น และได้เพิ่มโน้ตเพลงไทยให้วงการดนตรีไทยอีกหลายบทเพลง หลังจากที่ครูพิมพ์ พวงนาคได้เสียชีวิตแล้ว นางสาวอุษณีย์ พวงนาค (บุตรสาว) ได้ทูลเกล้าถวายโน้ตเพลงต้นฉบับแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อพระราชทานต่อให้แก่ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ ผู้เขียนได้พัฒนาโน้ตเพลงต้นฉบับโดยคัดแยกตามหมวดหมู่เพลง ตามเครื่องดนตรี เพื่อมาสังเคราะห์ และพัฒนาโน้ตเพลงต้นฉบับสู่ไฟล์เอกสารดิจิทัล โดยแบ่งเป็นเครื่องดนตรีเดี่ยว และการนำเครื่องดนตรีทั้งหมดมาบันทึกใหม่ในรูปแบบ Full Score
บทความวิชาการนี้ เป็นการพัฒนาโน้ตเพลงเพื่อแสดงให้เห็นถึงระเบียบวิธีคิดและการเรียบเรียงเสียงประสานในการนำเครื่องดนตรีสากลมาใช้ในแต่ละชิ้น และสามารถนำไปพัฒนาต่อยอด หรือเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่ต้องการเขียนโน้ตเพลงไทยและสากล
References
พูนพิศ อมาตยกุล. (2527). ครูพิมพ์ พวงนาค ยอดนักดนตรีตัวอย่างแห่งยุคปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สยามรัฐ คอลัมน์แวดวงดนตรี.
______. (2533). รายการพบครูดนตรีไทย ตอนที่ 141. นครปฐม: ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
______. (2529). ทฤษฎีบ้าน วัด วัง เรื่องของสังคมวัฒนธรรม ความมั่นคงของดนตรีไทย และงานวิจัยดนตรี . นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
มติชนออนไลน์. (ม.ป.ป.).โน้ตเพลงสายสมร. ได้จาก https://www.matichon.co.th/prachachuen/. [สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2562].
ยุทธนา ทองนำ ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (ม.ป.ป.). กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงตรัวของครูธงชัย สามสี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สันทัด ตัณฑนันฑน์. (2538). บันทึกเพลงไทยเป็นโน้ตสากลอย่างไร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
สมชาย เอี่ยมบางยุง. (ม.ป.ป.). การศึกษาดนตรีไทย. ได้จาก: http://www.smusichome.com. [สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2562].
Plookpedia. (ม.ป.ป.).ดนตรีไทย. ได้จาก: www.trueplookpanya.com/knowledge/content/58119/-mustha-mus-.[สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2562].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.