ทูนกระหม่อมบริพัตร พระบิดาแห่งเพลงไทยสากล
คำสำคัญ:
ทูนกระหม่อมบริพัตร, พระบิดาแห่งเพลงไทยสากลบทคัดย่อ
เพลงไทยสากล เป็นคำที่เกิดขึ้นในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ราวปี พ.ศ. 2480-2482 มีการก่อตั้งวงดนตรีสากลขึ้นในหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลหลายหน่วยงานด้วยกัน โดยก่อนที่จะมีคำว่าเพลงไทยสากลนั้นประเทศไทยได้มีเพลงประเภทเพลงไทยสากลมาก่อน โดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละยุค แต่ยังไม่เรียกว่าเพลงไทยสากล เมื่อกล่าวถึงเพลงไทยสากลในประเทศไทยแล้ว บุคคลสำคัญบุคคลหนึ่งที่ถือเป็นผู้ให้กำเนิดเพลงไทยสากลในประเทศไทย และถือเป็นบุคคลสำคัญทั้งทางด้านการดนตรีและด้านการทหารในประเทศไทยที่ทุกคนจะต้องนึกถึงคือ “ทูนกระหม่อมบริพัตร” หรือที่เรารู้จักกันในพระนามเต็มว่า จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นผู้นำในการนิพนธ์ทำนองเพลงตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ของดนตรีสากล ทรงนิพนธ์บทเพลงสำหรับบรรเลงด้วยแตรวงโดยเฉพาะ โดยทรงนิพนธ์และบันทึกด้วยโน้ตสากลและใช้จังหวะแบบสากล นอกจากเพลงไทยสากลแล้วยังทรงนิพนธ์เพลงไทยไว้หลายเพลงด้วยเช่นกัน บทเพลงพระนิพนธ์ในทูนกระหม่อมบริพัตรสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ ประเภทเพลงฝรั่งแท้ ๆ ประเภทเพลงไทยประสานเสียงแบบฝรั่ง ประเภทเพลงไทยแท้ ประเภทเพลงไทยแท้ที่บรรเลงด้วยปี่พาทย์ ประเภทเพลงขับร้องหรือทางร้อง (ทรงนิพนธ์ทางร้อง) และประเภทเพลงเดี่ยวต่าง ๆ จากพระปรีชาสามารถนี้เองพระองค์จึงทรงได้รับการยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งเพลงไทยสากล”
References
กองทัพเรือ. (2493). พระประวัติและจริยาวัตรของจอมพลเรือ สมเด็จเจ้าฟ้า บริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และเอกสารที่ได้ทรงปฏิบัติราชการ. ธนบุรี: โรงพิมพ์กรมอุทกศาสตร์.
ฉกาจ ราชบุรี. (2549). กำเนิดเพลงไทยสากล. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม 5(2), 33–39.
นวรัตน์ เลขะกุล. (2544). ชีวิตและงานทูนกระหม่อมบริพัตร. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2530). วงดุริยางค์ทหารบก. ศิลปวัฒนธรรม. 8(3), 68-82.
________. (2537). แตรวงของไทย. เพลงดนตรี. 1(2), 75–77.
________. (2537). โยธวาทิตวิชาการและวิชาชีพ. เพลงดนตรี 1(3), 113–115.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). นครสวรรค์วรพินิต, จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระ. สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัตินักดนตรีและนักร้อง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. หน้า 77-80. นนทบุรี: ทีฟิล์ม.
ศิริรัตนบุษบง, พระองค์เจ้า. (2524). พระประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต.กรุงเทพมหานคร: จันวาณิชย์.
ศิริรัตนบุษบง, พระองค์เจ้า และพูนพิศ อมาตยกุล. (2524). ทูลกระหม่อมบริพัตรกับการดนตรี.กรุงเทพมหานคร: จันวาณิชย์.
สุกรี เจริญสุข. (2538). ดนตรีชาวสยาม. กรุงเทพมหานคร: Dr. Sax.
________. (2539). แตรและแตรวงของชาวสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: Dr. Sax.
________. (2546). 111 คนดนตรี ชีวิตและผลงานประกอบภาพเขียน.
นครปฐม: ม.ป.ท.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.