การศึกษาทำนองของเพลงพื้นเมืองล้านนาที่เหมาะสมต่อการสร้างสรรค์บทเพลงสำหรับฝึกพื้นฐานของวงดุริยางค์เครื่องลมในจังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
เพลงพื้นบ้านล้านนา, วงดุริยางค์เครื่องลมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทำนองเพลงพื้นเมืองล้านนาที่เหมาะสมต่อการสร้างสรรค์บทเพลงสำหรับฝึกพื้นฐานของวงดุริยางค์เครื่องลมในจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากผลการวิจัยเรื่องการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมเพื่อการสร้างสรรค์บทเพลงฝึกพื้นฐานสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลมจากบทเพลงพื้นเมืองล้านนา มีวิธีการคัดเลือกทำนองเพลงจากการพิจารณาทำนองเพลงที่ครูสอนดนตรีพื้นเมืองล้านนาทุกท่านใช้สอน และเป็นที่รู้จักของนักเรียน อีกทั้งเลือกจากการเคลื่อนทำนองที่ไม่ข้ามขั้นมากเกินไป จากผลการวิจัยพบว่า ทำนองเพลง 8 ทำนองที่เหมาะสมต่อการสร้างสรรค์เป็นเพลงสำหรับฝึกพื้นฐานของวงดุริยางค์เครื่องลม ได้แก่ ล่องแม่ปิง ฤาษีหลงถ้ำ ปราสาทไหว ปุ๋มเป้ง สร้อยเวียงพิงค์ ระบำไก่แจ้ ฟ้อนสาวไหม และหมู่เฮาจาวเหนือ
References
กลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย. (2555). แนวทางการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. ได้จาก: http://province.m-culture.go.th/loei/PR/PR1.pdf. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2559].
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา: หลักการและสาระสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธวัชชัย นาควงษ์. (2544). โคไดสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธีรยุทธ ยวงศรี. (2540). การดนตรี การขับ การฟ้อนล้านนา. เชียงใหม่: สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์.
รณชิต แม้นมาลัย. (2559). ดนตรีล้านนาปิ๊กบ้าน: Gerald P. Dyck กับการศึกษามานุษยดนตรีวิทยาในดนตรีล้านนา. เชียงใหม่: นันทพันธ์พริ้นติ้ง.
อเนก นาวิกมูล. (2550). เพลงพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: สำนักอุทยานการเรียนรู้.
Erickson, Frank. (1983). Arranging for the Concert Band. New York: Belwin-Mills.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.