ความสัมพันธ์ขั้นคู่เสียงภายใต้แนวคิดทฤษฎีเซต
คำสำคัญ:
ขั้นคู่ของระดับเสียง, ขั้นคู่ของขั้นระดับเสียง, ขั้นคู่คอมพลีเมนต์บทคัดย่อ
ความสัมพันธ์ขั้นคู่ในมิติต่างๆ ภายใต้แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซตแตกต่างจากวิธีคิดตามแบบแผนระบบดนตรีโทนัลหรือดนตรีอิงกุญแจเสียงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างโน้ตต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นด้านระยะห่างขั้นคู่ นอกจากนี้ ทฤษฎีเซตไม่ให้ความสำคัญกับชนิดหรือประเภทขั้นคู่ตามพื้นฐานระบบดนตรีโทนัลหรือวิธีการประสานเสียงตามรูปแบบดั้งเดิมอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นขั้นคู่เมเจอร์ ไมเนอร์ เพอร์เฟก ออกเมนเทด หรือดิมินิชท์ ซึ่งการพิจารณาระยะห่างขั้นคู่ภายใต้กรอบแนวคิดทฤษฎีเซตเป็นการพิจารณาจำนวนทั้งหมดของระยะห่างครึ่งเสียงระหว่างโน้ต 2 ตัวใดๆ โดยบทความวิชาการบทนี้เป็นการพิจารณาความสัมพันธ์ขั้นคู่ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ระยะห่างขั้นคู่ ความสมมาตรภายในหนึ่งช่วงคู่แปด วงจรขั้นคู่ ขั้นคู่คอมพลีเมนต์ ขั้นคู่ของระดับเสียง และขั้นคู่ของขั้นระดับเสียง
References
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2552). การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2558). ความเท่าเทียมกันของช่วงคู่แปดและโน้ตพ้องเสียงบนแนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต. วารสารดนตรีและการแสดง. 1(1), 8-23.
_____. (2558). ดนตรีศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_____. (2559). ดนตรีศตวรรษที่ 20: แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_____. (2559). แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต: ขั้นระดับเสียง เลขจำนวนเต็ม และค่ามอดุลัส. วารสารดนตรีและการแสดง. 2(1), 26-35.
Chapman, A. (1981). Some Intervallic Aspects of Pitch-Class Relations. Journal of Music Theory. 25(2), 275-290.
Eckardt, J. (2005). Surface Elaboration of Pitch-Class Sets Using Nonpitched Musical Dimensions. Perspectives of New Music. 43(1), 120-140.
Forte, A. (1973). The Structure of Atonal Music. New Haven, CT: Yale University Press.
Kostka, S. (2006). Materials and Techniques of Twentieth-Century Music. 3rded. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Morris, R. (1990). Pitch-Class Complementation and its Generalization. Journal of Music Theory. 34(2), 175-245.
Rahn, J. (1980). Basic Atonal Theory. New York: Longman.
Roig-Francoli, M.A. (2008). Understanding Post-Tonal Music. New York: McGraw-Hill.
Straus, J.N. (2005). Introduction to Post-Tonal Theory. 3rded. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.