การจัดกิจกรรมดนตรีเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ อาจารย์ประจำภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

กิจกรรมดนตรี, ผู้สูงอายุ, สังคมผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมดนตรีเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นกระบวนการสอนดนตรีเพื่อให้เกิดพื้นฐานทักษะทางดนตรี พฤติกรรม และบุคลิกภาพของผู้สูงอายุ เพื่อเรียนรู้และเข้าใจทัศนคติที่ดีต่อดนตรี การพัฒนาร่างกาย และจิตใจที่ได้รับผ่านกระบวนการดนตรีในรูปแบบการสอนดนตรีสำหรับเด็กตามแนวทางของนักดนตรีศึกษาที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ และมีครูดนตรีได้นิยมนำแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ในการสอนกิจกรรมดนตรีสำหรับเด็ก แต่ทั้งนี้ ได้นำแนวทาง หลักการ กลวิธีการดังกล่าว มาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการสอนดนตรีสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อทราบแนวทางของการจัดกิจกรรมทางดนตรีให้มีความเหมาะสมกับระดับความสามารถและศักยภาพของผู้สูงอายุ อีกทั้งได้นำการประเมินผลทางด้านร่างกาย จิตใจ พื้นฐานทักษะทางดนตรี พฤติกรรม และบุคลิกภาพของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ได้มีแนวทางและตัวอย่างของเกณฑ์การประเมินแบบรูบริค ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่นำมาใช้การประเมินทางด้านปฏิบัติ  แต่จะมุ่งเน้นและเพิ่มเติมเกณฑ์การประเมินในด้านศักยภาพทางร่างกาย จิตใจ พฤติกรรม และบุคลิกภาพสำหรับผู้สูงอายุนอกเหนือจากการประเมินพื้นฐานทักษะทางดนตรีโดยทั่วไป 

References

กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2557). การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2554). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เกศกะรัต.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

United Nations. (2017). World Population Ageing. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.un.org/en/development/desa/population/publications/pdf/ageing/WPA2017_Highlights.pdf. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2562].

Ratirita. (2018). เจาะลึก อาวุโส มาร์เก็ตติ้ง จับตลาดคนสูงวัยอย่างไรให้อยู่หมัด. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://brandinside.asia/insight-aging-society/. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2562].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-11-2023