ดนตรีสมัยนิยม : แนวทางการพัฒนาเพื่อการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • ภาคภูมิ เตี๋ยวงษ์สุวรรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

Selected:หลักสูตรดนตรีสมัยนิยม

บทคัดย่อ

กลุ่มวิชาดนตรีสมัยนิยม วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถูกจัดทำขึ้นใหม่เริ่มต้นที่ปีการศึกษา 2560 จนถึงปัจจุบัน ด้วยแนวคิดสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพนักดนตรีในระดับสากลอย่างไม่หยุดยั้งโดยที่เนื้อหาของกลุ่มวิชายังสามารถถูกพัฒนาได้ตลอดเวลา ด้วยประสบการณ์ตรงของบุคลากรและผู้วางแผนจัดทำกลุ่มวิชาดนตรีสมัยนิยมคืออาจารย์ภาคภูมิ เตี๋ยวงษ์สุวรรณ์ ซึ่งได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทจากหลักสูตรดนตรีสมัยนิยมที่มหาวิทยาลัย Southampton ณ สหราชอาณาจักร โดยนำเสนอแนวคิดหลากหลายมุมมอง ได้แก่ แนวคิดทางวิชาการ การผลิตผลงานเชิงพาณิชย์ การผลิตผลงานอิสระการประชาสัมพันธ์และโฆษณาผลงานและการสอนดนตรี ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญต่อนักดนตรีในสภาพสังคมโลกปัจจุบัน เพราะการสอนนักศึกษาโดยเน้นแค่ด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียวอาจไม่มีคุณภาพไม่ดีพอ สำหรับจุดประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนด้วยความตั้งใจในการผลิตเยาวชนไปเป็นบุคลากรทางดนตรีที่มีคุณภาพและสามารถปรับตัว อยู่กับทุก ๆ สถานการณ์ในปัจจุบันและอนาคต 

References

รภัทร์ ทองชื่น. (2556). การศึกษาประวัติเพลงไทยสากลในพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า บริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่นำเค้าโครงมาจากเพลงไทยเดิม กรณีศึกษาจาก นาย ดุษฎี เค้ามูลคดี. สาขาวิชาดนตรีไทย ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วงศกร ยี่ดวง. (2560). ‘พังก์’ วัฒนธรรมที่รวมกลุ่มด้วยดนตรี. [ออนไลน์]. ได้จาก: จาก https://thestandard.co/culture-music-punk/. [สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562].

Bennett, A. (2001). Culture of Popular Music. Philadelphia: Open University Press.

Corner, T. and Jones, S. (2014). Art to Commerce: The Trajectory of Popular Music Criticism. IASPM Journal. 4(2), 7-23.

Taylor, B. (2000). The Art of Improvisation. Taylors-James Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-11-2023