ผู้สอนมากกว่าการดนตรี : บทบาทหน้าที่ของครูผู้ควบคุมวงโยธวาทิต ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
หน้าที, ครูผู้ควบคุมวง, วงโยธวาทิตบทคัดย่อ
วงโยธวาทิตเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านสุนทรียภาพในสถานศึกษา ขณะเดียวกันการเสริมสร้างระเบียบวินัยและความอดทน การสร้างความรับผิดชอบในหน้าที่ผ่านการทำงานเป็นทีม การใช้ทักษะชีวิตร่วมกับผู้อื่น การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รู้จักเสียสละมีจิตอาสา แนวทางในการศึกษาต่อหรือความรู้เพื่อประกอบอาชีพในอนาคต คือสาระและประโยชน์ที่สอดแทรกอยู่ในวงโยธวาทิตทั้งสิ้นการดำเนินกิจกรรมวงโยธวาทิตให้ประสบความสำเร็จ ครูผู้ควบคุมวงเป็นบุคคลสำคัญที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมนี้ นอกจากงานสอน ประเมิน ประชุม อบรม และงานอื่น ๆ ครูผู้ควบคุมวงโยธวาทิตต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องของการสอนดนตรี ต้องมีความรู้ในเรื่องทฤษฎีดนตรี ทักษะปฏิบัติเบื้องต้นของเครื่องดนตรีที่มีในวง ทักษะอำนวยเพลง ทักษะการเรียบเรียงเพลง ทักษะการเดิน ทักษะการแปรขบวน ทักษะบำรุงรักษาเครื่องดนตรี เป็นต้น เรื่องการจัดการ จัดทำแผนบริหารจัดการรายปีจนถึงรายวัน จัดการวางระบบในวงเพื่อมอบหมายงานให้สมาชิกในวง จัดการหาเครื่องดนตรีและนักดนตรี จัดการเอกสารออกงาน ซ้อม เข้าค่าย ประกวด จัดการงบประมาณและระดมทุน จัดการหาแบบฝึกหัดและโน้ตเพลง จัดการประสานผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ผู้เรียน และชุมชน จัดหาวิทยากรเสริมทักษะ จัดการวางแผนเข้าค่าย จัดหาสถานที่ซ้อมและเข้าค่าย การฝึกซ้อมส่วนใหญ่เป็นช่วงหลังเลิกเรียน ครูหลายท่านต้องพาครอบครัวมาดูแลด้วย ทั้งในช่วงฝึกซ้อมและเข้าค่าย บทความนี้จึงต้องการสื่อถึงหน้าที่ ความเสียสละ และความมีจิตอาสาของครูวงโยธวาทิตสร้างความเข้าใจในแง่มุมต่าง ๆ ของวงโยธวาทิตให้กับผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง บุคลทั่วไป นักศึกษาที่จะมาเป็นครูวงโยธวาทิตในอนาคตได้เข้าใจและพร้อมสนับสนุนในการทำกิจกรรมนี้
References
กรมวิชาการ. (2551). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ.
นิตินัย พึ่งยา. (2559). แนวทางการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพเสียงรวมวงของวงซิมโฟนิกแบนด์นักเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยา ศรีสะอาด. (2557). การศึกษาวงโยธวาทิตกองทัพบก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.
วิโรจน์ ตระการวิจิตร. (2560). สมองดีดนตรีปั้นได้. กรุงเทพฯ: ดีเอ็มจี.
อติชาติ เจริญพาโชค. (2547). ศึกษาสมรรถนะในการบริหารกิจกรรมนักเรียนด้านการจัดการวงโยธวาทิตของผู้ควบคุมวงโยธวาทิต ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกรินทร์ สี่มหาศาล. (2545). แนวปฏิบัติ: กระบวนการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
Cowen, V. S. (2006). The contribution of marching band participation to overall physical activity for a sample of university students. Perceptual and Motor Skills. 103(2), 457-460.
Helms, Ronald G. (2001). The National Board for Professional Teaching Standards : Professional Assessment for Teachers of Students with Exceptional Needs. Electronic Journal for Inclusive Education. 1(5), 1-12.
Jason P. Cumberledge. (2015). The Use of One Week's Time Among Specific Groups of College Students: Music Majors, Non-Music Majors, and Marching Band Participants. Doctoral
dissertation, Florida State University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.