บทบาทของพ่อแม่และครูในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางดนตรีของเด็ก
คำสำคัญ:
บทบาทของพ่อแม่และครู, การส่งเสริมการเรียนรู้ทางดนตรีบทคัดย่อ
ในปัจจุบันพ่อแม่ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการเรียนของเด็กไม่เฉพาะวิชาการที่เป็นวิชาหลัก เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เป็นต้น โดยวิชาเหล่านี้เด็กจะต้องทำคะแนนสอบให้ดีเพื่อการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย พ่อแม่ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญวิชาดนตรี ศิลปะ กีฬาและกิจกรรมนันทนาการต่างๆ ควบคู่กันไป การเรียนดนตรีไม่ใช่ความรับผิดชอบของพ่อแม่ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเรียนให้กับบุตร แต่การเรียนดนตรีของเด็กเล็กจะมีกิจกรรมในการเรียนรู้ที่หลากหลาย พ่อแม่และครูจึงเข้ามามีบทบาทร่วมกันในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางดนตรีของเด็ก
ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองและครู ในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางดนตรีของเด็ก ได้แก่ ความเอาใจใส่ของพ่อแม่ บทบาทพ่อแม่ของเด็กเล็กจะเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากกว่าเด็กโต ทั้งนี้พ่อแม่และครูล้วนมีเป้าหมายร่วมกัน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ดนตรีของเด็กจนเห็นถึงศักยภาพความถนัดของเด็กแต่ละคนว่าต่อไปในอนาคตจะมีความถนัดเครื่องดนตรีประเภทใด พ่อแม่อาจจะไม่ได้เข้าใจการเรียนรู้และบทเรียนทางดนตรีทั้งหมดได้ แต่พ่อแม่จะได้รับแนวทางในการพัฒนาดนตรีเพื่อนำมาทบทวนให้เด็กได้เรียนรู้ในระหว่างสัปดาห์ที่บ้าน การสื่อสารของพ่อแม่ผู้ปกครองและครูดนตรี ในยุคปัจจุบันติดต่อสื่อสารกันในหลากหลายรูปแบบ ทั้งสื่อสารกันผ่านทางการส่งข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ไลน์ และเฟสบุ๊ค แต่ส่วนมากยังคงเลือกใช้การสื่อสารโดยตรงด้วยการพูดคุยหลังชั่วโมงเรียนของเด็กเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนดนตรีของเด็กเพราะเป็นการสื่อสารที่ชัดเจนมากที่สุด
การที่เด็กจะมีพัฒนาการด้านดนตรี ปัจจัยสำคัญคือความร่วมมือระหว่างพ่อแม่และครูดนตรีในการร่วมกันส่งเสริมเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดประโยชน์ในระยะยาวอย่างยั่งยืน การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกันเพื่อมุ่งเน้นในการส่งเสริมพัฒนาการทางดนตรี มุ่งส่งเสริมให้เด็กได้สอบเลื่อนขั้นอย่างสม่ำเสมอ การส่งเข้าแข่งขันและแสดงความสามารถทางดนตรีเพื่อให้เด็กได้พัฒนาความกล้าแสดงออกและแสดงความสามารถในทักษะทางดนตรี พ่อแม่และครูมีการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความสามารถและทักษะทางดนตรีโดยการกระตุ้นการฝึกซ้อมที่บ้าน เด็กต้องอาศัยการฝึกซ้อมนอกเหนือจากชั่วโมงการเรียน การจัดสภาพแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมมีความสำคัญอย่างมากต่อการฝึกซ้อมของเด็ก พ่อแม่และครูดนตรีต้องหาวิธีที่เหมาะสมในการสร้างแรงจูงใจในการส่งเสริมการพัฒนาทางดนตรีร่วมกันให้กับเด็กเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กที่ยั่งยืน
References
Berger, E. H. & Riojas-Cortez, M. (2012). Parents as partners in education: Families and schools working together. (8thed). MA: PEARSON.
Boone, B. J. W. (2002). Family-school connections: A study of parent involvement in Ohio’s Partnership schools. Doctoral dissertation, The Ohio state university.
College of Music, Mahidol University. (2012). เอกสารการสัมมนา Music Research Forum: Toward New Paradigms in Musicianship Scholarship.
Epstien, J., L. (2009). School, Family and Community Partnerships: Your Handbook for Action. Corwin: California Press.
Flemmings, J. B. (2013). Parental involvement: A study of parents’ and teachers’ experiences And perceptions in an urban charter elementary school. Doctoral dissertation, Rowan University.
Promsukkul, P. (2015). Parental Involvement in the Development of Young Piano Students. Bangkok: Mahidol University.
Suk, S. (2014). Parental Involvement in their Children’s Instrumental Music Learning. Montreal: Schulich School of Music McGill.
Suriyonplengsaeng, C. (2015). Parent and Teacher Partnership in Supporting Children Musical Learning. Bangkok: Mahidol University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.