การถ่ายทอดการเดี่ยวขิมเพลงแป๊ะ สามชั้น ผ่านรูปแบบออนไลน์ กรณีศึกษาครูธนิยา ฉัตรเมธี

ผู้แต่ง

  • พรายรักษ์ เสมอญาติ นักศึกษาวิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • สุวิวรรธ์น ลิมปชัย อาจารย์ที่ปรึกษา ภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การถ่ายทอด, เพลงเดี่ยวแป๊ะ สามชั้น, ธนิยา ฉัตรเมธี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการถ่ายทอดการเดี่ยวขิมเพลงแป๊ะสามชั้น ผ่านรูปแบบออนไลน์ กรณีศึกษาครูธนิยา ฉัตรเมธี โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีตีความ และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า ครูธนิยา ฉัตรเมธี ได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางด้านดนตรีไทยจากครูหลายท่านด้วยกัน เช่น ครูปราณี ปิ่นทองคำ ครูวีระศักดิ์ กลั่นรอด ครูศิลปี ตราโมท ครูชนก สาคริก ครูเชื้อ ดนตรีรส ครูดุษฎี มีป้อม ครูสหรัฐ จันทร์เฉลิม จนทำให้ครูธนิยา ฉัตรเมธี เป็นครูดนตรีไทยที่มีความเชี่ยวชาญทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ สำหรับการถ่ายทอดการเดี่ยวขิมเพลงแป๊ะ สามชั้น ผ่านรูปแบบออนไลน์ ของครูธนิยา ฉัตรเมธี ผู้เรียนต้องมีพื้นฐานเบื้องต้นในการบรรเลงขิมมาก่อน ซึ่งการสอนทักษะการบรรเลงขิมของครูธนิยา ฉัตรเมธี จะสอนตั้งแต่การรู้จักเครื่องดนตรี การนั่ง การจับไม้ การไล่เสียง การถ่ายทอดบทเพลงใช้เพลงที่มีความง่าย ไม่ยาวจนเกินไป หรือเพลงที่เป็นเพลงทางเก็บ วิธีการสอนมุ่งเน้นทักษะการบรรเลงมากกว่าบทเพลง สอนอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้วิธีการถ่ายทอดแบบมุขปาฐะ มีการอธิบาย การสาธิตให้ผู้เรียนเข้าใจและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องตามเอกลักษณ์ของทางเพลงแอปพลิเคชันที่ครูธนิยา ฉัตรเมธี ใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์มีด้วยกัน 2 แอปพลิเคชัน คือ 1) Line Meeting และ 2) Zoom Meeting  และมีการใช้อุปกรณ์ช่วยเสริมในการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อเอื้อให้กับผู้เรียนได้มีความเข้าใจได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

References

ดุษฎี มีป้อม. (22 มีนาคม 2564). สัมภาษณ์. อาจารย์ประจำภาควิชาดุริยางคศิลป์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.

ธนิยา ฉัตรเมธี. (13 พฤษภาคม 2564). สัมภาษณ์. ครูโรงเรียนสารสาส์นวิเทศราชพฤกษ์.

พิชญาภา มานะวิริยภาพ. (2559). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดและเทคนิคการสอนขิมของอาจารย์นิธิ ศรีสว่าง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรชนก จิตคะเนการ. (15 พฤษภาคม 2564). สัมภาษณ์.

มนตรี ตราโมท และวิเชียร กุลตัลท์. (2523). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนทรงสุภาพ (แพทย์ทรง บุญยะรัตเวช) ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2523. กรุงเทพฯ : ไทยเขษม.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2560). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคคีตะ - ดุริยางค์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์.

วนิดา ธนากรกุล และคณะ. (2561). รูปแบบการถ่ายทอดความรู้สำคัญยิ่งยวดภายในและภายนอกศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ผ่านนิทรรศการ. วารสาร Mahidol R2R e-Jounal. 5(1), 17-29 .

สมชาย เอี่ยมบางยุง. (2545). กระบวนการถ่ายทอดขิมของชมรมดนตรีไทย มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุวิวรรธ์น วัฒนทัพ. (2550). บ้านโสมส่องแสง : การสืบทอดวัฒนธรรมดนตรีไทยของครูมนตรี ตราโมท. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

Steiner, E. (1988). Methodology of theory Building. Sydney : Edocology Reseaech Associates.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-11-2023

How to Cite

เสมอญาติ พ. ., & ลิมปชัย ส. . (2023). การถ่ายทอดการเดี่ยวขิมเพลงแป๊ะ สามชั้น ผ่านรูปแบบออนไลน์ กรณีศึกษาครูธนิยา ฉัตรเมธี. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ, 4(1), 13–28. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/378