การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงจะเข้ของครูชัยรัตน์ วีระชัย
คำสำคัญ:
การถ่ายทอด, จะเข้, ชัยรัตน์ วีระชัยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดและเอกลักษณ์การบรรเลงจะเข้ของครูชัยรัตน์ วีระชัย โดยนำวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผนวกกับแนวคิดเรื่องดนตรีศึกษามาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และสังเกตอย่างมีส่วนร่วม จากครูชัยรัตน์ วีระชัย และผู้ได้รับการถ่ายทอดความรู้
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงจะเข้ของครูชัยรัตน์ วีระชัย แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผู้สอน ครูชัยรัตน์ วีระชัย มีความรู้ความสามารถและมีเอกลักษณ์ในการบรรเลงโดยได้รับการถ่ายทอดมาจากโบราณจารย์ มีการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ มีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการถ่ายทอดความรู้ตามแบบฉบับ
ที่ได้รับการถ่ายทอด 2) ด้านผู้เรียน พบว่า ผู้ที่จะได้รับการถ่ายทอดความรู้จากครูชัยรัตน์ วีระชัย ไม่จำเป็นต้องมีทักษะด้านการบรรเลงจะเข้มาก่อน แต่ต้องมีใจรักในดนตรีและมีความตั้งใจ ซึ่งผู้เรียนทุกคนจะได้รับการปรับพื้นฐานการบรรเลงจะเข้ตั้งแต่เริ่มต้น และได้รับการพัฒนาไปตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน 3) ด้านเนื้อหา พบว่า ครูชัยรัตน์ วีระชัย จะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานเป็นสำคัญ และมีการจัดทำแบบฝึกหัดสำหรับผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง และ 4) ด้านการเรียนการสอน พบว่า ครูชัยรัตน์ วีระชัย จะใช้วิธีการสอนโดยผู้สอนจะปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่างและให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ผู้เรียนปฏิบัติซ้ำจนเกิดความชำนาญ มีการประเมินผลด้วยตนเอง การประเมินจากเพื่อนร่วมชั้น และจากผู้สอน
เอกลักษณ์การบรรเลงจะเข้ของครูชัยรัตน์ วีระชัย พบว่า ด้านบุคลิกภาพด้านทำนองเพลง และด้านกลวิธีที่ใช้ในการบรรเลงจะเข้ ยึดตามแบบอย่างที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากครูทองดี สุจริตกุล และครูละเมียด จิตตเสวี แต่สามารถปรับเปลี่ยนให้เกิดความเหมาะสมตามบริบทของการบรรเลง
References
ไกรสิทธิ์ อัจฉริยะประสิทธิ์. (2560). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงจะเข้ของครูระตี วิเศษสุรการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2556. (2556). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง. หน้า 72.
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2542). สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ชัยรัตน์ วีระชัย. (26 พฤศจิกายน 2564). สัมภาษณ์.
สงบศึก ธรรมวิหาร. (2545). ดุริยางค์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนตรี ตราโมท. (2540). ดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน.
มานพ คณะโต. (2550). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพในระบบสุขภาพชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: เครือข่ายพัฒนาวิชาการและข้อมูลสารเสพติด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มานพ วิสุทธิแพทย์ และคณะ. (2543). การสืบทอดเพลงไทยบ้านบางลำพู: วัฒนธรรมมุขปาฐะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
อบเชย แก้วสุข. (2543). รายงานผลการดำเนินงานประชุมปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญา ท้องถิ่นและการเผยแพร่ความรู้ของสื่อมวลชน. อุบลราชธานี : ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.