แนวทางการสร้างสรรค์ชุดเพลงตามแนวคิดแบบโคดาย เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านการร้องเพลงสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ กองผาสุก นักเขียนอิสระ

คำสำคัญ:

โคดาย, ร้องเพลง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการสร้างสรรค์ชุดบทเพลงสำหรับการนำไปใช้ในการเรียนการสอนทักษะพื้นฐานด้านการร้องเพลงสำหรับผู้สูงอายุ ประกอบไปด้วย 4 บทเพลง โดยออกแบบทำนองหลักตามระบบการอ่านโน้ตแบบโคดาย ซึ่งเป็นแนวการจัดเรียงลำดับเนื้อหาความง่ายไปหายาก เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการฟัง และร้องอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีรูปแบบและกลวิธีในการสอนได้แก่ เริ่มต้นการฟังและร้องโน้ตแบบซอล-ฟา เริ่มต้นจากโน้ต 2 ตัวแบบคู่สามไมเนอร์ และเพิ่มจำนวนของโน้ตมากขึ้นตามลำดับจนครบบันไดเสียงโน้ตห้าตัว ไปสู่บันไดเสียงเมเจอร์ ประกอบกับนำวิธีการร้องควบคู่กับสัญลักษณ์มือเพื่อใช้แทนระดับเสียง รวมถึงสอดแทรกทักษะและเทคนิคของการร้องเพลงในระดับพื้นฐาน เช่น การหายใจตามประโยคเพลง การออกเสียง คำร้องให้ชัดเจน การสื่ออารมณ์ตามความหมายของบทเพลงผ่านการแสดงสีหน้า ท่าทางการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ ความกล้าแสดงออก และส่งเสริมสุขภาวะในด้านของการจดจำจากการจำระดับเสียง สัญลักษณ์มือ และคำร้อง

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน).

ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ. (2564). การสอนดนตรีแบบโคดาย : สู่การพัฒนากิจกรรมดนตรีสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารฟ้าเหนือ. 12(1), 1-20.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2563). หลักสูตรการอบรมวิทยากรดนตรีผู้สูงอายุ “หลักสูตรดนตรีสร้างสุข”. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท พรรณีพริ้นติ้งเซ็นเตอร์ จำกัด.

พนัส ต้องการพานิช. (2562). ร้อง เล่น เต้น เคลื่อนไหว : กิจกรรมดนตรีเพื่อผู้สูงอายุ. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ. 2(1), 91-106.

ยสพรรณ พันธะศรี. (2564). แนวทางการใช้ดนตรีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของสูงอายุที่พึ่งพาตนเองได้. วารสารแก่นดนตรีและการแสดง. 3(1), 59-76.

อุทุมพร วานิชคาม. (2562). การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 25(1), 165-179.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-11-2023