ความพึงพอใจของนักศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชาโสตประสาท วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, ออนไลน์, โสตประสาทบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชาโสตประสาท วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชาโสตประสาท วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อทราบถึงผลของความพึงพอใจ 4 ด้าน ประกอบไปด้วย 1) ด้านการเตรียมความพร้อมในการสอนออนไลน์ของผู้สอน การกำหนดวัตถุประสงค์ 2) ด้านคุณภาพการสอน และวิธีการสอน 3) ด้านการวัดและประเมินผลการสอน และ 4) ด้านการเลือกใช้สื่อและโปรแกรมในการนำมาสอนออนไลน์
ผู้วิจัยทำการศึกษาความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชั้นปีที่ 1 รวม 91 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มรายวิชาได้แก่ รายวิชาโสตประสาท 1 และรายวิชาโสตประสาท ทั้ง 2 รายวิชาดังกล่าวมีเนื้อหา ทักษะและผลการเรียนรู้ของรายวิชาทั้ง 2 ที่มีความแตกต่างกัน จากการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในภาพรวม ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างในรายวิชาโสตประสาท 1 หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีตะวันตก จำนวน 29 คน มีระดับความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.51 และรายวิชาโสตประสาท หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา จำนวน 62 คน มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.33
References
จินตนา ศิริธัญญารัตน์ และนันท์นภัส นิยมทรัพย์. (2561). การจัดการชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิรกิติ์ ทองปรีชา. (2562). การบริหารจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ระดับมัธยมศึกษาพื้นที่โรงเรียนวชริรธรรมสาธิต เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/index.php/abstractData/ viewIndex/323. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564].
ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2545). ความสำคัญของการฝึกโสตประสาททางดนตรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(2), 45-51.
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2563). คู่มือการจัดการเรียนการสอนออนไลน์. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.ubu.ac.th/web/files up/00114f2020033113083125.pdf. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563].
วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.
วิทัศน์ ฝักเจริญผล, กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล, พินดา วราสุนันท์, กุลธิดา นุกูลธรรม, กิติศาอร เหล่าเหมณี, สินีนุช สุวรรณาภิชาติ และสุมิตร สุวรรณ. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส Covid-19. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 4(1), 44-61.
ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์ (2013). โทรศัพท์มือถืออัจฉริยะ ทศวรรษใหม่ของนวัตกรรมการสื่อสารแห่งอนาคต. วารสาร Veridian E-Journal SU. 6(1), 132-142.
สุวัฒน์ บรรลือ. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 11(2), 250-260.
Nichols, Bryan E. (2020). Equity in Music Education : Access to Learning during the Pandemic and Beyond. Music Educators Journal. 1(107), 68-70.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.