การพัฒนาชุดกิจกรรมดนตรี สำหรับนักศึกษารายวิชาการสอนดนตรีตามแนวทางของออร์ฟ วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • พิทิต แสนอินทร์ นักศึกษาวิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมดนตรี, การสอนดนตรี, ออร์ฟ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมดนตรี และศึกษาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนจากการใช้ชุดกิจกรรมดนตรี สำหรับนักศึกษารายวิชาการสอนดนตรีตามแนวทางของออร์ฟ วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

จากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 13 คนซึ่งเป็นผู้เรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมดนตรีเกิดผลสัมฤทธิ์ทั้งระหว่างเรียนและหลังเรียน โดยงานวิจัยได้กำหนดไว้ว่าการที่ชุดกิจกรรมจะได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากชุดกิจกรรมดังกล่าว จะเกิดผลสัมฤทธิ์ได้จะต้องได้รับค่าเฉลี่ยร้อยละของผลสัมฤทธิ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ซึ่งจากการทดลองการใช้ชุดกิจกรรมจำนวน 3 กิจกรรม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะโดยมีเนื้อหาจังหวะแบบสามพยางค์ จังหวะขัด ด้วยการปฏิบัติกิจกรรมตามแนวทางของออร์ฟ เช่น การใช้ร่างกายประกอบจังหวะ และการใช้คำพูด รวมถึงการด้นสด ซึ่งเป็นแนวการสอนแบบออร์ฟ โดยพบว่า ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ระหว่างเรียนและหลังเรียนอยู่ที่ร้อยละ  87.82/96.16 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนจากการใช้ชุดกิจกรรมได้รับผลสัมฤทธิ์อยู่ที่ร้อยละ 96.16 ซึ่งเป็นไปตามที่เกณฑ์การวิจัยได้กำหนดประสิทธิภาพของการพัฒนาชุดกิจกรรมเอาไว้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

เทพรัตน์ พานิชยิ่ง (2553). ผลของการใช้กิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของออร์ฟ ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับปฐมวัย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ธวัชชัย นาควงษ์. (2547). การสอนดนตรีสำหรับเด็กตามแนวทางของคาร์ล ออร์ฟ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2557). ทฤษฎีการสอนดนตรี. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://suppavit014.wordpress.com/ทฤษฎีการสอนดนตรี/. [สืบค้นหาเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2563].

พงษ์ศักดิ์ ปัญจพรผล.( 2518). ความหมายของชุดการสอน. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://inno- sawake.blogspot.com/ 2008/07/1.html. [สืบค้นหาเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2563].

พระพรหมพิริยะ ถาวโร. (2564). ครูมืออาชีพกับการศึกษาไทยยุคสังคม New normal. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่” วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 1-11.

มนัสพงษ์ ภูบาลชื่น. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามแนวความคิดของโซลตาน โคดาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-11-2023