ดนตรีสู่ชุมชนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ภูษิต สุวรรณมณี อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

ดนตรีกับชุมชน, ท้องถิ่น

บทคัดย่อ

ปัจจุบันในประเทศไทย ดนตรีมีการเผยแพร่ไปอย่างกว้างตามสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา สังเกตได้จากการเปิดคณะวิชาที่มีการเรียนการสอนดนตรีในระดับภูมิภาคมากขึ้น ซึ่งทำให้วิวัฒนาการทางดนตรีมีการพัฒนาตามลำดับ อีกทั้งยังทำให้ชุมชนเกิดความแข็งแรง กล่าวคือ มหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนศูนย์กลางการเรียนรู้ขนาดใหญ่ที่สร้างความเข้มแข็งให้กับคนในชุมชนให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ได้  และสามารถเป็นการส่งเสริมการสร้างอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย บทความฉบับนี้จึงต้องการนำเสนอแนวทางเกี่ยวกับการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านดนตรีสู่ชุมชนโดยการจัดการศึกษาทางดนตรีในฐานะสถาบันอุดมศึกษาโดยเฉพาะ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีแนวทาง และพันธกิจที่ว่าเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ดังนั้นในฐานะผู้เขียนเป็นบุคลากรในสังกัดดังกล่าว ได้เห็นถึงความสำคัญ และมีแนวคิดในการสร้างสรรค์กิจกรรมดนตรีอย่างหลากหลายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อกลางเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2554). ชุมชน ท้องถิ่น น่าอยู่อย่างเพียงพอด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการมีส่วนร่วม.

คมสันต์ วงค์วรรณ์. (2543). ดนตรีตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ 1. สงขลา: ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.

พิชัย ปรัชญานุสรณ์. (2529). สู่โลกดนตรี. กรุงเทพมหานคร: หนึ่งเจ็ดการพิมพ์.

ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์. (2554). วัฒนธรรมบันเทิงภาคใต้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอนก นาวิกมูล. (2550). เพลงนอกศตวรรษ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-11-2023