การดำเนินทำนองจะเข้ในการบรรเลงรวมวง

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ ฉลองธรรม อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษา คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

จะเข้, การดำเนินทำนอง, การบรรเลงรวมวง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการดำเนินทำนองจะเข้ในการบรรเลงรวมวงและเพื่อประดิษฐ์ทำนองจะเข้ตามหลักการดำเนินทำนองการบรรเลงรวมวง โดยทำการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร ข้อมูลภาคสนามสัมภาษณ์แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการในระดับลึก ตามขั้นตอนการวิจัยทางมานุษยวิทยาการดนตรี

ผลการวิจัย พบว่า จะเข้มีหน้าที่ดำเนินทำนองสอดแทรกไปกับเครื่องดำเนินทำนองอื่น ๆ ตลอดจนการดำเนินทำนองตามแนวร้อง เวลาบรรเลงจัดให้เป็นเครื่องดนตรีประเภทนำ เช่นเดียวกับระนาดเอก ซอด้วง โดยสอดแทรกทำนองให้เกิดความไพเราะด้วยการดีดเก็บถี่ ๆ บ้าง ห่าง ๆ บ้าง การบรรเลงในวงเครื่องสายไทยมีแนวการบรรเลงที่ไม่เร็วมาก มีการใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น สะบัด การดีดรัว ดำเนินทำนองโดยการใช้สายให้ครบทั้งสามสาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทเพลง เช่น เพลงกรอใช้การดีดรัว ดีดริกหรือดีดปริบ รัวให้ละเอียด ไม้ดีดสม่ำเสมอ เพลงเก็บต้องดีดเก็บบ้าง ดีดทิงนอยบ้าง  ผู้บรรเลงจะต้องแม่นเพลงแม่นจังหวะเพื่อเป็นหลักให้กับวง  สำหรับเพลงโหมโรงมหาราชและเพลงโหมโรงเทิด สธ เป็นเพลงที่มีสำนวนแบบผสมผสาน ทำนองส่วนใหญ่เป็นทำนองบังคับทาง และยังมีสำนวนที่ไม่บังคับทางสอดแทรกอยู่เป็นระยะ และยังมีสำนวนที่เป็นลักษณะเด่นที่ทำให้ทราบว่าเป็นเพลงนี้  การดำเนินทำนองจะเข้จึงต้องบรรเลงให้เหมาะสมกับทำนองหลักที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ไว้  ซึ่งผู้วิจัยพบว่าการประดิษฐ์ทำนองจะเข้สามารถแบ่งตามลักษณะของทำนองเพลง ได้แก่ การประดิษฐ์ทำนองขึ้นเพลง ในการขึ้นเพลงโหมโรงจะเป็นหน้าที่ของเครื่องดนตรีซอด้วงหรือขลุ่ยเพียงออ จะเข้จึงไม่ได้มีบทบาทหน้าที่ในการบรรเลงขึ้นเพลง สำหรับการบรรเลงจะเข้ทำนองขึ้นเพลงจะต้องพยายามรักษาทำนองหลักไว้ให้มากที่สุด การประดิษฐ์ทำนองจะเข้ในทำนองหลักที่เป็นบังคับทาง จะเข้สามารถประดิษฐ์ทำนองในทำนองหลักที่เป็นบังคับทางได้เล็กน้อย ที่ไม่ได้ทำให้สำนวนของทำนองนั้นเกิดความเสียหายหรือผิดเพี้ยนไปจากที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ไว้

References

กรมศิลปากร. (2545). คำบรรยายวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (ม.ป.ป.). สารานุกรมเพลงไทย. กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ์.

บุษกร สำโรงทอง. (2539). การดำเนินทำนองของเครื่องดนตรีดำเนินทำนองประเภทเครื่องตี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต ชัยเสรี. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการสอนวิชาสังคีตลักษณ์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูนพิศ อมาตยกุล. (2527). ดนตรีวิจักขณ์. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายวิชาการและงานพิมพ์บริษัทเกียรติธุรกิจฯ.

ไพศาล อินทวงศ์. (2544). คลีนิคดนตรีไทย. กรุงเทพฯ : สำนักดนตรีไทย ดอท คอม.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2550). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติและบทร้องเพลงตับ ประวัติเพลงหน้าพาทย์และเพลงโหมโรง. กรุงเทพฯ : หจก.อรุณการพิมพ์.

_________. (2526). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2522). ดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองการพิมพ์.

สุมาลี นิมมานุภาพ. (2538). ดนตรีวิจักขณ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

อุทิศ นาคสวัสดิ์. (2523). ทฤษฎีและปฏิบัติดนตรีไทย ภาค 1. กรุงเทพฯ : พัฒนศิลป์การพิมพ์.

______. (2546). ทฤษฎีและหลักปฏิบัติดนตรีไทยและพจนานุกรมดนตรีไทย.

กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-11-2023