กิจกรรมดนตรีเพื่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
ทักษะการคิดเชิงบริหาร, เด็กปฐมวัย, กิจกรรมดนตรีบทคัดย่อ
ช่วงปฐมวัย ถือเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างรากฐาน ที่แข็งแรงสำหรับ การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ การต่อยอดพัฒนาการและทักษะด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในอนาคตต่อไป
ทักษะการคิดเชิงบริหาร เป็นการทำงานของสมองส่วนหน้าที่จำเป็นต่อการควบคุมความคิด อารมณ์ การกระทำ และการกำหนดพฤติกรรมมุ่งสู่เป้าหมายเพื่อความสำเร็จของงานที่ได้วางแผนไว้ ซึ่งกิจกรรมดนตรีถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัยด้วยเช่นกัน
บทความวิชาการชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับความหมายและองค์ประกอบของทักษะการคิดเชิงบริหาร กิจกรรมดนตรีกับการพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร รวมไปถึงตัวอย่างกิจกรรมพัฒนาการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กทารกอายุ 6 เดือนจนถึงอายุ 5 ขวบ ที่ครูปฐมวัยหรือครูดนตรีสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการประยุกต์การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารนี้ได้ต่อไป
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
ดวงฤทัย เสมตคุ้มหอม, อาภาวรรณ หนูคง, สมสิริ รุ่งอมรรัตน์ และนวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคิดเชิงบริหาร ของเด็กก่อนวัยเรียน. วารสารสภาการพยาบาล. 34(4), 80-94.
รักลูก. (2563). ฟังดนตรี พัฒนาทักษะสมอง EF. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.rakluke.com/brain/31/48/2791/ฟังดนตรี- พัฒนาทักษะสมอง-ef. [สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563].
ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2561). เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: แพรวเพื่อนเด็ก.
สุภาวดี หาญเมธี. (2559). EF ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ Executive Function. กรุงเทพฯ: สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป).
อาร์แอลจี-อีเอฟ แอดมิน. (2563). ใช้ดนตรีพัฒนาความคิดยืดหยุ่นสร้างสรรค์. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.rlg-ef.com/ใช้ดนตรีพัฒนาความคิดยืดหยุ่นสร้างสรรค์/ [สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563].
Awopetu, A. V. (2016). Musical activities as a stimulating tool for effective early years education of the whole child. International Journal of Education and Research. 4(5), (53-64).
Bowmer A, Mason K, Knight J and Welch G. (2018) Investigating the Impact of a Musical Intervention on Preschool Children’s Executive Function. Front. Psychol. 9:2389. doi: 10.3389/fpsyg.2018.02389.
Center on the Developing Child at Harvard University. (2011). Enhancing and practicing executive function skills with children from Infancy to adolescence. [Online]. Available from: https://46y5eh11fhgw3ve3ytpwxt9r-wpengine.netdna- ssl.com/wp-content/uploads/2015/05/Enhancing-and- Practicing-Executive-Function-Skills-with-Children-from-Infancy- to-Adolescence-1.pdf. [20 February 2020].
Diamonds, A. (2013). Executive functions. [Online]. Available from:http://www.devcogneuro.com/Publications/ ExecutiveFunctions 2013.pdf. [14 April 2018].
Henriksson-Macaulay, L. (2014). The music miracle: The scientific secret to unlocking young child’s full potential. London: Earnest House.
Preda Uliță, A. (2016). Improving children’s executive functions by learning to play a musical instrument. Bulletin of the Transilvania University of Brasov Series VIII. 9(58), No.2, 85-90.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.