สามัตถิยะสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้: ผู้เรียนดนตรีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ สู่นักปฏิบัติการทางดนตรีศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
คำสำคัญ:
ผู้เรียนดนตรีศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏ, การพัฒนาท้องถิ่นบทคัดย่อ
สามัตถิยะ คือ ความสามารถที่ตอบสนองความต้องการในการทำงานให้ลุล่วง ประกอบด้วยความรู้ ทักษะและเจตคติต่าง ๆ เทียบได้กับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมีผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นพฤติกรรมที่ชัดเจน สามารถวัดได้ ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนดนตรีศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้แก่ 1) การมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครูดนตรี 2) มีความรู้ทางด้านทฤษฎีและทักษะทางดนตรีที่ดี
3) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ และบูรณาการการจัดการเรียนรู้ดนตรีควบคู่กับชุมชน เป้าหมายที่สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏควรบรรลุคือ “การสร้างนักปฏิบัติการทางดนตรีศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้สำคัญคือ “ผู้เรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมทางดนตรีศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” โดยผู้เรียนเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของชุมชน สามารถนำความรู้และทักษะที่มีไปใช้ในการบูรณาการอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ในลักษณะต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1) การรวบรวมองค์ความรู้ด้วยกระบวนการทางดนตรีศึกษาในชุมชนท้องถิ่น 2) การจัดกิจกรรมทางดนตรีร่วมกับชุมชนท้องถิ่น และการนำดนตรีศึกษาไปบูรณาการร่วมกับศาสตร์อื่น ๆ ในท้องถิ่น 3) จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับดนตรี จัดทำรายวิชาเพิ่มเติม หรือ สาระในรายวิชาที่มีการบูรณาการดนตรีในท้องถิ่น และ 4) สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางดนตรีศึกษาภายในชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประกอบวิชาชีพทางดนตรีศึกษาควบคู่ไปกับการรักษาความเป็นท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน
References
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). เพลงพื้นบ้านท่าโพ : เนื้อหาดนตรีและการสืบทอด. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
______. (2561). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2562). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.sru.ac.th/publishin-info/goverment-plan-university-20-year.html [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562].
นิรมล ศตวุฒิ. (2554). การพัฒนาหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. 10 กรกฎาคม 2523. พระบรมราโชวาทเนื่องในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2555). การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: พื้นฐานการศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2561). การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์. [ออนไลน์]. ได้จาก:http://vet.ku.ac.th/vv2018/form/edu/OBE05.pdf [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562].
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2561). การพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและการประเมินผลสำหรับหลักสูตร. [ออนไลน์]. ได้จาก : http://www.ubu.ac.th/web/files_up/46f2018081509524869.pdf [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562].
ยุทธนา ทองนำ. (2560). กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงตรัวของครูธงชัย สามสี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2562. พิษณุโลก: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2558). ปรัชญาและมโนทัศน์สังคมแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2562). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/data6/Bachelor%20of%20Education-4Y- 2562_m1.pdf [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562].
อนรรฆ จรัณยานนท์. (2561). กระบวนการพัฒนาดนตรีศึกษาในท้องถิ่นโดยมุ่งเน้นเยาวชน. ในเอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการเปิดมุมมองการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทางดนตรี วันที่ 6 กรกฎาคม 2561 ณมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. [อัดสำเนา].
Bloom, Benjamin. S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook I:The Cognitive Domain. New York: David McKay Co Inc.
Michael L.M. and Patrice M. (2010). Music Education in your hands. New York : Routledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.