กลอนลำและทำนองลำของลำคอนสะหวัน ในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • ปิยะนันท์ แนวคำดี อาจารย์สาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ธนบูลย์ สินทร อาจารย์สาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

กลอนลำ, ทำนองลำ, ลำคอนสะหวัน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง กลอนลำและทำนองลำของลำคอนสะหวัน ในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ 2 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์กลอนลำของลำคอนสะหวัน ในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อวิเคราะห์ทำนองลำของลำคอนสะหวัน ในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเก็บข้อมูลภาคสนามและรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสังเกต และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์  ผลการศึกษาพบว่า 1)  เป็นประเภทกลอนเยิ่น แบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย (1) กลอนขึ้น (2) กลอนหลัก (3) กลอนลง ในกลอนลำแต่ละบทมีวรรคอยู่ 4 วรรค แต่ละวรรคมี 7-12 คำ กลอนลำแต่ละวรรคมี 4 จังหวะ แต่ละจังหวะมีคำไม่เกิน 3 พยางค์ 2) ทำนองลำคอนสะหวันเกิดจากการออกเสียงคำในกลอนลำประกอบกับเสียงสูงต่ำจากวรรณยุกต์ที่กำกับคำในแต่ละวรรค ความสั้นและความยาวของคำจึงทำให้เกิดจังหวะในทำนองลำ

References

กฤษฎา สุขสำเนียง. (2549). หมอลำสีพันดอน : กรณีศึกษาคณะทองบาง แก้วสุวัน เมืองปากเซ แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีชาติพันธุ์วิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เจริญชัย ชนไพโรจน์.(2562). กลอนขึ้นในกลอนลำทางสั้น กลอนลำทางยาว ฉันทลักษณ์เนื้อหา. รวมบทความฉบับเต็ม การประชุมวิชาการระดับชาติศรีโคตรบูรณ์ศึกษา ครั้งที่ 1 “แลสายน้าโขงกับงาน วัฒนธรรม เพื่อพัฒนาท้องถิ่น” ณ ห้องประชุมพนมศิลป์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เขตพื้นที่การศึกษามรุกขนครมหาวิทยาลัยนครพนม ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม.

.(2563). ดนตรีและการละเล่นอีสาน. มหาสารคาม : ภาควิชาดุริยางคศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2551). ดนตรีลาวเดิม. ขอนแก่น : ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุนเถา ลินลาวง. (20 ตุลาคม 2560). สัมภาษณ์.

บุญเชิญ แข็งแรง. (20 ตุลาคม 2560). สัมภาษณ์.

ราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร. (2544). สุนทรียภาพในกลอนลำของหมอลำกลอน : องค์ประกอบและปัจจัยเกื้อหนุนในการสร้างสรรค์.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มหาสิลา วีระวง. (1970). ไวยกรณ์ลาว ภาค 4 ฉันทลักษณ์ พิมพ์ครั้งที่ 4. ราชบัณฑิตสภาลาว: กระทรวงศึกษาธิการลาว

ลัดสะหมี กะลอทอง. (20 ตุลาคม 2560). สัมภาษณ์.

สีทนแดน สะหวัน. (20 ตุลาคม 2560). สัมภาษณ์.

Chonpairot. (1990). Lam Khon Sawan : A Vocal Genre of Southern Laos. Doctoral dissertation Kent State University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-11-2023