การศึกษาการจัดการสอนดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของซูซูกิ ของโรงเรียนสอนดนตรีเอื้อมอารีย์
คำสำคัญ:
การจัดการสอนดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย, แนวคิดของซูซูกิบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการสอนดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของซูซูกิ ของโรงเรียนสอนดนตรีเอื้อมอารีย์ วิธีการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) การสอนดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของซูซูกิ มีการนำปรัชญาเข้ามาประยุกต์ในการสอนดนตรี วิธีการสอนดนตรีของซูซูกิไม่ได้เป็นเพียงการสอนดนตรีเพียงอย่างเดียว
แต่เป็นการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็กหลาย ๆ ด้าน โดยการสร้างพัฒนาการ ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพของเด็กผ่านกิจกรรมที่ใช้ดนตรีเป็นสื่อ อีกทั้งการสอนดนตรีตามแนวคิดของซูซูกิจะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เพราะสภาพแวดล้อมที่ดีช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ดีขึ้น 2) กระบวนการเรียนการสอน/แนวทางการจัดกิจกรรมตามแนวคิดของซูซูกิ มีการนำทักษะดนตรีเข้ามาบูรณาการกับกิจกรรมในการสอน ทั้งการร้อง เล่น เต้น ฟัง อ่าน คิดสร้างสรรค์ เชื่อมโยงกันเป็นกิจกรรม พร้อมทั้งปลูกฝังลักษณะนิสัย บุคลิกภาพที่ดีของเด็กผ่านการทำกิจกรรมไปด้วย 3) การวัดและประเมินผล ไม่ได้ทำการวัดที่เด็กเล่นดนตรีเป็นหรือเล่นดนตรีเก่ง แต่วัดจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากการทำกิจกรรมโดยผ่านการสังเกตและบันทึกผลจากพ่อแม่ และคุณครู เมื่อเด็กปฏิบัติได้ครูผู้สอนจะให้เด็กทำซ้ำจนเป็นนิสัย และจะเพิ่มมิติในการเรียนมากขึ้น
References
คณิต พรมนิล. (2560). การนำเสนอกิจกรรมดนตรีเพื่อส่งเสริมเจตคติทางดนตรี สำหรับเด็กด้อยโอกาส. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2537). กิจกรรมดนตรีสำหรับครู. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______ . (2555). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำคัญ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตปาลิน เจริญสุข. (4 ธันวาคม 2562). สัมภาษณ์.
พรรณี ช.เจนจิต. (2528). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์.
พิทักษ์ คชวงศ์. (2537). ดนตรีกับเด็ก. เพื่อนใจ. 4, 15-20.
โรงเรียนสอนดนตรีเอื้อมอารีย์. (2561). ข้อมูลของโรงเรียนสอนดนตรีเอื้อมอารีย์. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.aumareemusicschool.ac.th/th/about-us/. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561].
สมบูรณ์ ศาลยาชีวิน. (2526). จิตวิทยาเพื่อการศึกษาผู้ใหญ่. เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุกรี เจริญสุข. (2541). คู่มือการอบรมครูซูซูกิและการเป็นครูซูซูกิชั้นต้น. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.