การพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมทักษะทางดนตรี สำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชาดนตรีปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ผู้แต่ง

  • ชัยนันท์ วันอินทร์ ครูวิชาการ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

คำสำคัญ:

สื่อดิจิทัล, ทักษะดนตรี , ออนไลน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยการพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมทักษะทางดนตรีสำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชาดนตรีปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมทักษะทางดนตรี  สำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชาดนตรีปฏิบัติ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะดนตรีก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่เรียนโดยใช้สื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมทักษะทางดนตรี  สำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชาดนตรีปฏิบัติ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ใช้สื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมทักษะทางดนตรี  สำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชาดนตรีปฏิบัติ
ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 91.04 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในงานวิจัย โดยผู้เรียนที่ได้เรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมทักษะทางดนตรี ได้รับผลสัมฤทธิ์ค่าเฉลี่ยหลังเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ด้านการเปรียบเทียบก่อนและหลังเรียน (Pre and Post-test) โดยใช้เกณฑ์การวัดประเมินทักษะปฏิบัติตามสภาพจริง แบบ 5 ระดับ พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 24 คน มีค่าเฉลี่ยคะแนนด้านทักษะดนตรีก่อน-หลังการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยจากแบบทดสอบความรู้ก่อนเรียน (gif.latex?\bar{x}= 13.58, S.D. = 3.39 ) มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าหลังเรียน (gif.latex?\bar{x}= 18.21, S.D. = 1.15) การศึกษาด้านความพึงพอใจ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการใช้สื่อมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.64) ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย โดยผู้เรียนซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจะต้องมีความพึงพอใจต่อการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ทางดนตรีมีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่าค่าเฉลี่ย 3.51 หรือในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2553). การเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยี โรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นนทบุรี : พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ มะณู. (2559). สื่อดิจิทัล (Digital Media). [ออนไลน์]. ได้จาก: http://paitoon.esdc.go.th/sux-dicithal. [สืบค้นวันที่ 1 มิถุนายน 2559].

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 14(34), 285-298.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-11-2023

How to Cite

วันอินทร์ ช. (2023). การพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมทักษะทางดนตรี สำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชาดนตรีปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ . วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ, 5(2), 35–48. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/230