กลวิธีการขับร้องของครูพัฒนี พร้อมสมบัติ ในบทละครเรื่องเงาะป่า บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ตามแบบฉบับของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์
คำสำคัญ:
กลวิธีการขับร้อง, การสืบทอดการขับร้อง, บทละครเรื่องเงาะป่าบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง กลวิธีการขับร้องของครูพัฒนี พร้อมสมบัติ ในบทละครเรื่องเงาะป่า บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ตามแบบฉบับของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการสืบทอดการขับร้องของครูพัฒนี พร้อมสมบัติ ในบทละครเรื่องเงาะป่า บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ตามแบบฉบับของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ 2. ศึกษากลวิธีการขับร้องของครูพัฒนี พร้อมสมบัติ ในบทละครเรื่องเงาะป่า บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ตามแบบฉบับของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกกลุ่มเพลงตัวอย่างแบบเจาะจงทั้งสิ้น 13 เพลง จากทั้งหมด 128 เพลง เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์และการสังเกตจากบุคคลข้อมูล ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก กลุ่มผู้ปฏิบัติ กลุ่มศิลปินแห่งชาติและนักวิชาการ นำข้อมูลมาจัดกระทำ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลโดยวิธีพรรณาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1. การสืบทอดการขับร้องของครูพัฒนี พร้อมสมบัติ ในบทละครเรื่องเงาะป่า ได้รับการสืบทอดจากเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ โดยการต่อเพลงแบบมุขปาฐะ ทั้งการขับร้องเป็นต้นบทและลูกคู่ 2. การขับร้องของครูพัฒนี พร้อมสมบัติ พบกลวิธีการขับร้องคือ การโหนเสียงการช้อนเสียง การยืนเสียง การครั่น การปั้นคำ การย้อย การปริบ การเน้นเสียง และการโปรย จากจำนวน 13 เพลง ได้แก่ 1) เพลงเซ่นเหล้า 2) เพลงทะแย 3) เพลงปราสาททอง 4) เพลงบหลิ่ม 5) เพลงมอญร้องไห้6) เพลงฝรั่งคู่ 7) เพลงทะเลบ้า 8) เพลงแปะเล่ชุน 9) เพลงศัพท์ไทย 10) เพลงยาวแหบ
11) เพลงโลมนอกสลับร่าย 12) เพลงแขกลพบุรีสามชั้น สลับแขกลพบุรีสองชั้น และ 13) เพลงแขกยามดึก
จากผลการวิจัยนี้ทำให้ได้องค์ความรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ทางขับร้องที่มีมาแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และยังประโยชน์ต่อวงการศึกษาด้านดนตรีคีตศิลป์ไทยสืบไป
References
กาญจนา อินทรสุนานนท์. (2540). เทคนิคการขับร้องเพลงไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ถาวร สิกขโกศล. (2559). บทละครเรื่อง เงาะป่า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
ท้วม ประสิทธิกุล. (2529). หลักคีตศิลป์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พัฒนี พร้อมสมบัติ. (22 สิงหาคม 2564). สัมภาษณ์.
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน. (2526). ศรุตานุสรณ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2554). ทฤษฎีการฝึกหัดขัดเกลา. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 424-405 รายวิชาสุนทรียศาสตร์ทางดุริยางคศิลป์ หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ :สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พูนแสง (ลดาวัลย์) สูตะบุตร. (2526). เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับในรัชกาลที่ 5.กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.
สงัด ภูเขาทอง. (2532). การดนตรีไทยและการเข้าสู่ดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.
สุดารัตน์ ชาญเลขา. (2550). ประวัติและผลงานนางพัฒนี พร้อมสมบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
สุพัชรินทร์ วัฒนพันธุ์. (2540). คุณูปการด้านขับร้องจากบทพระราชนิพนธ์เรื่อง “เงาะป่า” ในสูจิบัตรการแสดงเงาะป่า.กรุงเทพฯ: เครือเจริญโภคภัณฑ์.
อัมไพวรรณ เดชะชาติ. (2553). ศิลปิน-ศิลปากร “ขับขานเสนาะไพเราะพริ้ง ครูพัฒนี พร้อมสมบัติ”. นิตยสารศิลปากร. (5), 88-100.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.