การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กออทิสติกด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของ คาร์ล ออร์ฟ

ผู้แต่ง

  • อัญชลี บุญจันทึก อาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)
  • กิติศักดิ์ เสียงดี อาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)
  • กนกวรรณ รัตนศรีสุโข อาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)
  • ปัญชลีย์ รัตนสิงห์ขรณ์ อาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)

คำสำคัญ:

ความคิดสร้างสรรค์, เด็กออทิสติก, แนวคิดของออร์ฟ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กออทิสติกก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของ คาร์ล ออร์ฟ  (2) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กออทิสติกที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของ คาร์ล ออร์ฟ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนโครงการศูนย์การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษระดับชั้นประถมศึกษาของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) จำนวน 27 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของ คาร์ล ออร์ฟ และ 2) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กออทิสติก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กออทิสติกที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมดนตรีตาแนวคิดของ คาร์ล ออร์ฟ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ธวัชชัย นาควงษ์. (2547). การสอนดนตรีสำหรับเด็กตามแนวของคาร์ล ออร์ฟ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรงุเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2562). โรคออทิสติก Autistic Spectrum Disorder: ASD. [ออนไลน์]. ได้จาก: dhttps://new.camri.go.th/Knowledge/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/AutisticSpectrumDisorder?skin=no. [สืบค้นวันที่ 3 ธันวาคม 2562].

อับดุลยามีน หะยีขาเดร์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Elena Chronopoulou and Vassiliki Riga. (2012). The Contribution of Music and Movement Activities to Creative Thinking in Pre-School Children. Department of Educational Sciences & Early Childhood Education. Creative Education 2012. 3(2), 196-204.

Kotler, P. (2003). Marketing management. 11th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice- hall.

Laura Navarro Ramon and Helena Chacon-Lopez. (2021). The impact of musical Improvisation on children’s creative thinking. Department of Developmental and Educational Psychology, Faculty of Education. Thinking Skills and Creativity. Vol 40, 1-15.

Paraskevi Foti. (2020). The effects of music and creativity on child’s development an innovative educational program. International Journal of Latest Research in Humanities and Social Science.

(1), 48-57.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-11-2023

How to Cite

บุญจันทึก อ. ., เสียงดี ก. ., รัตนศรีสุโข ก., & รัตนสิงห์ขรณ์ ป. . (2023). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กออทิสติกด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของ คาร์ล ออร์ฟ. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ, 5(2), 49–64. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/198