ทักษะทางการเงินและความวิตกกังวลทางการเงินของครูดนตรีอิสระ ในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เกื้อกูล ตรีพูนผล นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สยา ทันตะเวช อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดนีญา อุทัยสุข อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยนำร่อง มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อสำรวจและศึกษาทักษะทางการเงิน (2) เพื่อสำรวจและศึกษาความวิตกกังวลทางการเงิน และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางการเงินและความวิตกกังวลทางการเงินของครูดนตรีอิสระในโรงเรียนเอกชนนอกระบบจังหวัดกรุงเทพมหานคร วิธีการดำเนินการวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม มีตัวอย่างเป็นครูดนตรีอิสระในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จังหวัดกรุงเทพมหานคร  ที่สอนตามสถาบันดนตรี จำนวน 21 คน สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent Sample t-test, One-way ANOVA และ Simple regression analysis ผลการวิจัยพบว่า คะแนนทักษะทางการเงินรวมของครูดนตรีอยู่ในระดับดี ส่วนในเรื่องความวิตกกังวลทางการเงินของครูดนตรีนั้นอยู่ในระดับปานกลาง และยังพบอีกว่าทักษะทางการเงินของครูดนตรีด้านทัศนคติทางการเงินและด้านความรู้ทางการเงินมีความสัมพันธ์ทางลบต่อความวิตกกังวลทางการเงินของครูดนตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01

References

ณฐมน เพิ่มสุข. (2562). ทักษะทางการเงินที่ส่งผลต่อความมั่นคั่งทางการเงินของกลุ่มวิชาชีพครู ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2547). ดนตรีศึกษา: หลักการและสาระสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐธิดา กิ่งเงิน. (2559). คุณภาพชีวิตและทัศนคติในการทำงานของครูเปียโนในโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐธิดา กิ่งเงิน และ ดนีญา อุทัยสุข. (2560). การรับรู้สภาพปัญหาความเครียดของครูดนตรีในปัจจุบัน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 12(3), 491-503.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2556). รายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของคนไทย ปี 2556. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). รายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2563. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ธนินท์รัฐ วรพลวิรัตน์, ตรีทิพ บุญแย้ม และภาวัต อุปถัมภ์เชื้อ. (2563). เส้นทาง และปัจจัยในการดำเนินธุรกิจของครูดนตรีอิสระ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 10(2), 273-291.

พรรณพัชร กฤษณ์เพ็ชร์. (2563). การบริหารผลตอบแทนและแรงจูงใจของครู ดนตรีโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Archuleta, K.L., Dale, A. & Spann, S.M. (2013). College students and financial distress: exploring debt, financial satisfaction, and financial anxiety. Journal of financial counseling and planning. 24(2), 50-62.

Heo, W., Cho, S.H. & Lee, P. (2020). APR Financial stress scale: development and validation of a multi dimensional measurement. Journal of financial therapy. 11(1), 1-28.

INFE. (2011). Measuring financial literacy: questionnaire and guidance notes for conducting an internationally comparable survey of financial literacy. Paris: OECD.

Kempson, E., Finney, A. & Poppe, C. (2017). Financial well-being a conceptual model and preliminary analysis. Oslo: Oslo and Akershus University College of applied sciences.

Maslow, A.H. (1987). Motivation and personality. New York: Harper & Row Publishers.

Prawitz, A.D. & Garman, E.T. (2006). Incharge financial distress/financial well-being scale: development, administration, and score interpretation. Journal of Financial Counseling and Planning. 17(1), 34-50.

Traft, M.K., Hosein, Z.Z., Mehrizi, S.M.T. & Roshan, A. (2013). The relation between financial literacy, financial wellbeing and financial concerns. International journal of business and management. 8(11), 63-75.

Shapiro, G. & Burchell,B. (2012). Measuring financial anxiety. Journal of neuroscience psychology and economics. 5(2), 142-151.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-11-2023

How to Cite

ตรีพูนผล เ. ., ทันตะเวช ส. ., & อุทัยสุข ด. . (2023). ทักษะทางการเงินและความวิตกกังวลทางการเงินของครูดนตรีอิสระ ในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ, 5(2), 65–82. สืบค้น จาก https://so13.tci-thaijo.org/index.php/MusBSRU/article/view/181