การถ่ายทอดบทเพลงมอญ สำนักหม่อมหลวงสุรักษ์ สวัสดิกุล กรณีศึกษา ครูทัศนัย พิณพาทย์
คำสำคัญ:
บทเพลงมอญ, หม่อมหลวงสุรักษ์ สวัสดิกุล, ทัศนัย พิณพาทย์บทคัดย่อ
การถ่ายทอดบทเพลงมอญ สำนักหม่อมหลวงสุรักษ์ สวัสดิกุล กรณีศึกษา ครูทัศนัย พิณพาทย์เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการถ่ายทอดบทเพลงมอญ สำนักหม่อมหลวงสุรักษ์ สวัสดิกุลกรณีศึกษา ครูทัศนัย พิณพาทย์ และบันทึกภาพ เสียงและโน้ตทำนองหลักเพลงมอญ สำนักหม่อมหลวงสุรักษ์ สวัสดิกุล กรณีศึกษา ครูทัศนัย พิณพาทย์
สำนักหม่อมหลวงสุรักษ์ สวัสดิกุล ด้านประวัติศาสตร์เป็นสำนักที่มีความโดดเด่นในเรื่องบทเพลงมอญ โดยได้ถ่ายทอดบทเพลงเหล่านี้ให้แก่ครูทัศนัย พิณพาทย์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่อาศัยอยู่ที่บ้านเดียวกัน ผลการวิจัยพบว่ามีวิธีการสอนแบบมุขปาฐะ มีขั้นตอนการสอนอย่างเป็นรูปแบบ มีบรรยากาศการเรียนการสอนที่สอดแทรกจิตวิทยา มีการวัดประเมินผลโดยการทดสอบและการปลูกฝังคุณธรรมในเวลาที่สอน มีเอกลักษณ์ในการสอนได้แก่ รูปแบบการถ่ายทอดเอกลักษณ์มือฆ้องมอญ เอกลักษณ์การปลูกฝังความกตัญญูของสำนัก และวิธีการสอนแบบ “พ่อสอนลูก”บทเพลงมอญที่บันทึกภาพ เสียงและโน้ตเพลงในครั้งนี้ประกอบด้วยบทเพลง 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเพลงสำหรับรำผีหรือรำสามถาด จำนวน 4 เพลง 2) กลุ่มเพลงมอญรำ จำนวน 14 เพลง 3) กลุ่มเพลงสำหรับการประโคมและเพลงพิธีกรรม จำนวน 5 เพลง 4) กลุ่มเพลงบรรเลง จำนวน 7 เพลง และ 5) เพลงสำหรับการแสดง จำนวน 1 เพลง รวมทั้งสิ้น 31 บทเพลง
References
ณรงค์ฤทธิ์ คงปิ่น. (2539). การศึกษาวัฒนธรรมดนตรีของปี่พาทย์มอญ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาดุริยางคศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ติณณภพ ถนอมธรรม. (2563). เพลงมอญบ้านจรรย์นาฏย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนาธิป เผ่าพันธ์. (2549). ระเบียบวิธีการบรรเลงเพลงพระฉันมอญ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราโมทย์ ด่านประดิษฐ์. (2543). ลักษณะเฉพาะของเพลงประจำในวงปี่พาทย์มอญ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล.
พีระพล ปลิวมา. (2562). ระเบียบวิธีการบรรเลงวงปี่พาทย์มอญ คณะพาทยโกศล ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนตรี ตราโมท. (2525). ศิลปวัฒนธรรมไทย เล่มที่ 7 นาฏดุริยางคศิลปไทย กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ราชบัณฑิตยสภา. (2560). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคคีตะ-ดุริยางค์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
รังสรรค์ บัวทอง. (2547). วัฒนธรรมการสืบทอดวงปี่พาทย์มอญ ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
วีระ พันธุ์เสือ. (2558). ปี่พาทย์มอญ. กรุงเทพฯ: ศรีเสน่ห์การพิมพ์.
สมเกียรติ หอมยก. (2546). วงดนตรีเจริญ : ปี่พาทย์มอญของจังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมโรจน์ สวัสดิกุล, ท่านผู้หญิง. (2542). ประวัติของหม่อมหลวงสุรักษ์ สวัสดิกุล(ตู๋). ใน อาลัยรักหม่อมตู๋ ครูเพลงมอญ. (หน้า 5). หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมหลวงสุรักษ์ สวัสดิกุล. ม.ป.ท.
สุจินต์ ศรีนรเศรษฐ์และขำคม พรประสิทธิ์. (2559). วิเคราะห์ลักษณะของเพลงมอญเกาะเกร็ดในวงปี่พาทย์มอญ คณะแหยมศิลป์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 3(1), 141-153.
สุรดิษ ภาคสุชล. (2550). ปี่พาทย์มอญตระกูลดนตรีเสนาะ อําเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาดนตรีชาติพันธุ์วิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุรักษ์ สวัสดิกุล, หม่อมหลวง. (2542). มอญรำ. ใน อาลัยรักหม่อมตู๋ ครูเพลงมอญ. (หน้า 40). หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมหลวงสุรักษ์ สวัสดิกุล. ม.ป.ท.
สุวิวัฒน์ ธิติวัฒนารัตน์. (2552). ศึกษาบทบาท สถานภาพ และกิจกรรมของดนตรีปี่พาทย์มอญ ในสังคมและวัฒนธรรม จังหวัดปทุมธานี. วารสารดนตรีรังสิต. 5(2), 40-50.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.